Thursday, May 2, 2024
FinTechNEWS

ตลาดหลักทัรพย์ ให้ข้อสังเกตพฤติกรรมการหลอกลวงลงทุน เตือนประชาชนระวัง

ตลาดหลักทัรพย์

ตลาดหลักทัรพย์ ให้ข้อมูลเตือนประชาชน ระวัง การหลอกลวงให้ลงทุนออนไลน์ สร้างเรื่องลวงเกี่ยวกับการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง แนะข้อสังเกตพฤติกรรมการหลอกลวงให้ลงทุน และระมัดระวังการถูกหลอกลวงให้ลงทุน

ากปัญหาการคุกคามทางไซเบอร์ที่มีความรุนแรงขึ้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นหนึ่งในองค์กรที่มีบทบาทสำคัญ ที่จะร่วมมือกันสร้างความรู้ให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง สร้างความตระหนักในการระวังภัย เตือนสติบุคคลที่อยู่รอบตัวไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

จากสถิติอาชญกรรมทางไซเบอร์ที่มีการแจ้งความออนไลน์ตามที่ได้นำเสนอมาแล้วในรายงาน SET Note 10/2566 Cyber Attack โจรที่ติดตามตัวไปทุกที่ กับ Cyber Security ที่ทุกฝ่ายร่วมกันป้องกัน แสดงให้เห็นว่า การหลอกลวงให้ลงทุน เป็นปัญหาอันดับต้นๆ ของภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งฝ่ายวิจัย ตลาดหลักทัรพย์ ได้สรุปพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการหลอกลวงให้ลงทุนจากการรายงานข่าวต่างๆ ไว้เป็นข้อมูลเบื้องต้นให้สังเกตและระแวดระวังภัย

หากพิจารณาพฤติกรรม การหลอกลวงให้ลงทุน พบว่า มีทั้งเรื่องการปลอมข้อมูล แอบอ้างชื่อผู้บริหารหรือกรรมการของหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนการสร้างเรื่องราวลงทุน กระตุ้นด้วยการการันตีผลตอบแทนในเกณฑ์สูง สร้างตัวละครเสมือนว่ามีผู้ที่ได้รับผลตอบแทนสูงตามอ้าง เร่งรัดให้ตัดสินใจ และสร้างเครื่องมือปลอมมาใช้ในการหลอกลวงการลงทุน

เมื่อถูกหลอกลวงเข้าไปแล้ว มิจฉาชีพจะหลอกลวงโดยให้ผลตอบแทนสูงใน 2 – 3 ครั้งแรก และหลอกให้ลงทุนเพิ่มและชักจูงเพื่อนเข้ามาร่วมลงลงทุนเพิ่มเติม ทำให้การหลอกลวงลงทุนขยายวงขยายใหญ่ขึ้น และเมื่อผู้ถูกหลอกลวงต้องการนำเงินออกจากระบบหรือถอนเงินคืน จะอ้างให้นำเงินไปปิดบัญชีจึงจะนำเงินออกมาได้ และหากไม่สามารถหาเงินมาปิดบัญชีได้

มิจฉาชีพบางรายจะกล่าวอ้างเกณฑ์การลงทุนขององค์กรต่างๆ เพื่อยึดเงินไปหรือปิดการติดต่อและหนีไป ส่งผลให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง ทั้งจากผู้ถูกหลอกลวงลงทุน หรือผู้ที่ถูกชักชวนให้มาร่วมลงทุนในภายหลัง ส่วนหนึ่งที่มิจฉาชีพยังคงใช้วิธีการเดิมได้

เนื่องจาก ผู้ถูกหลอกลวงไม่เชื่อการกล่าวตักเตือนของคนรอบตัว หรือ ผู้ถูกหลอกลวงยังไม่สามารถยอมรับได้ว่าถูกหลอกลวงลงทุนและยังเพิ่มเงินลงทุนต่อไป หรือบางรายพบว่าเมื่อถูกหลอกลวงลงทุนและเกิดความเสียหายขึ้นแล้วแต่ไม่กล้าแจ้งความดำเนินคดี เนื่องจากกลัวเสียหน้าหรือกลัวได้รับคำตำหนิจากคนรอบตัว

จากการสัมภาษณ์ผู้เสียหายบางกรณี รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ และพนักงาน พบว่า บุคคลที่ถูกหลอกลวงให้ลงทุนมีทั้งผู้มีความรู้การศึกษาระดับสูงและประชาชนทั่วไป ส่วนใหญ่ประชาชนที่พลาดตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ เนื่องจาก ถูกเร่งรัดให้ตัดสินใจโดยมิจฉาชีพด้วยการกล่าวอ้างข้อจำกัดต่างๆ ที่ทำให้เหยื่อเข้าใจว่าจะพลาดโอกาส ทำให้ขาดความระมัดระวังในการตรวจสอบข้อมูล

และมีโอกาสติดตามเงินกลับมายากมาก เนื่องจากหลังจากที่เหยื่อโอนเงินเข้าบัญชีของมิจฉาชีพ (ส่วนใหญ่จะตรวจพบว่าเป็นบัญชีม้า) มิจฉาชีพจะโอนเงินของเหยื่อไปยังบัญชี / กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ทันทีและมิจฉาชีพจะโอนเงินต่อไปยังบัญชีอีกหลายทอด ทำให้ยากต่อการติดตามเงินของเหยื่อผู้เสียหายกลับคืนมาได้

อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันในประเทศไทยจะบังคับใช้พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ที่ผู้เสียหายสามารถแจ้งธนาคารอายัดบัญชีปลายทางได้ทันทีที่ทราบ หรือภายใน 72 ชั่วโมง และสามารถแจ้งความได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่ในข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติแล้ว เป็นไปได้ยากที่จะได้เงินคืน เนื่องจาก

ไม่ทัน เพราะรู้ตัวช้าว่าถูกหลอก: เหยื่อผู้เสียหายกว่าจะทราบว่าตัวตนเองถูกหลอกลวง เวลาก็ผ่านไปนานแล้ว

ไม่ทัน เพราะกระบวนการช้า แต่มิจฉาชีพเร็ว: กรณีผู้เสียหายรู้ตัวเร็วแต่ก็ไม่ทันมิจฉาชีพ เนื่องจาก

  • ผู้เสียหายต้องประสานงานไปยังธนาคารที่เป็นบัญชีต้นทางหรือธนาคารที่ผู้เสียหายที่ทำโอนเงินออก ผ่านทาง “ศูนย์รับแจ้งภัยมิจฉาชีพทางการเงิน” ของแต่ละธนาคาร เพื่อขอให้ธนาคารประสานงานไปยังธนาคารปลายทางหรือธนาคารที่รับโอนเงิน เพื่อขออายัดบัญชีของผู้รับโอนเงิน โดยธนาคารของผู้เสียหายจะให้ “Bank Case ID” ให้ผู้เสียหายนำไปเป็นหลักฐานในการส่งแจ้งความในขั้นตอนต่อไป
  • ในกรณีที่ผู้เสียหายเดินทางไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ ผู้เสียหายต้อง
  • รอต่อคิวลำดับการให้บริการ
  • ต้องผ่านกระบวนการสอบสวน และดำเนินการแจ้งความลงบันทึกใน “รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี”
  • ต้องขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจออก “หมายเรียกพยานเอกสาร และขอยัดบัญชี” ไปยังธนาคารของผู้รับโอน
  • ต้องเดินทางไปยังธนาคารปลายทาง (สาขาใดก็ได้) เพื่อยื่นรายงานประจำวันฯ และหมายเรียกฯ ต่อธนาคารปลายทาง และรอคิวการดำเนินธุรกรรมที่ธนาคาร

จะเห็นได้ว่า กระบวนการที่กล่าวมาขั้นต้นต้องใช้เวลา โดยตั้งแต่กระบวนแจ้งความจนกระทั่งการเดินทางไปยื่นหมายเรียกที่เร็วที่สุด ภายในครึ่งชั่วโมง แต่ก็ไม่ทันการโอนเงินออกจากบัญชีของมิจฉาชีพ ซึ่งจะทำการโอนเงินออกจากบัญชีทันทีที่เหยื่อผู้เสียหายโอนเงินเข้าบัญชี

ตลอดเวลาที่ผ่านมา ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมมือกันสร้างความตระหนักรู้ให้ประชาชน และช่วยกันปิดช่องโหว่ และ ช่องว่างที่เกิดขึ้น เพื่อลดโอกาสไม่ให้ประชาชนถูกหลอกลวงในการทำธุรกรรมทางการเงิน

ตัวอย่าง Facebook ที่แอบอ้างตราสัญลักษณ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตลาดหลักทัรพย์
วิธีการสังเกตเพจตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย Facebook ที่เป็นทางการ

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ประชาสัมพันธ์เตือนภัยให้ประชาชนรับทราบผ่านทางสื่อของตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งใน เว็บไซต์ และ Social Media อาทิ ใน Facebook เป็นต้น และการเผยแพร่รายชื่อสื่อและโซเชียลมีเดียที่เป็นทางการของตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบ

และไม่ตกเป็นเหยื่อของการถูกหลอกลวงลงทุนโดยสื่อและโซเชียลมีเดียปลอม รวมถึงการเปิดรับข้อมูลการหลอกลวงลงทุนผ่านทาง SET Contact Center หมายเลขโทรศัพท์ 02-009-9999 และได้เผยแพร่วิธีการสังเกตเพจ Facebook ที่เป็นทางการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

Featued Image: Image by wirestock on Freepik