Wednesday, September 18, 2024
AIArticlesColumnistDr.Peeradej Nanan

The Digital Futurist (ตอนที่ 581) 5G & AI: A Digital Mutualism

แม้ 5G จะเป็นเทคโนโลยีสื่อสารยุคใหม่ที่มีจุดเด่นหลายประการ แต่ยังคงต้องทำงานร่วมกับการสื่อสารไร้สายมาตรฐานอื่นเสริมซึ่งกันและกัน การนำ AI มาประยุกต์ใช้ใน 5G สองเทคโนโลยีในภาวะพึ่งพาจะเสริมคุณภาพชีวิตประจำวันและการทำงานของพวกเราในยุคดิจิทัลอย่างทุกวันนี้

ารอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตสองชนิดมีความสัมพันธ์ที่ต่างฝ่ายได้รับประโยชน์ร่วมกัน ถ้าแยกกันอยู่จะเสียประโยชน์หรือไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้หรือภาวะพึ่งพา (Mutualism) เป็นสิ่งที่ศึกษากันในวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน สำหรับโลกดิจิทัลก็เช่นเดียวกันเทคโนโลยีหนึ่งทำงานร่วมกับอีกเทคโนโลยีหนึ่งอย่างใกล้ชิดเสริมประสิทธิภาพซึ่งกันและกันอย่าง 5G_และ AI แยกออกจากกันได้ยาก

ผู้เขียน: ดร.พีรเดช ณ น่าน ที่ปรึกษา คณะกรรมการวิศวกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

สองในสามของข้อมูลทั้งหมดในโลกเป็นข้อมูลที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ปริมาณข้อมูลมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น 5 เท่าภายในปี ค.ศ. 2025 โดย 5G รองรับการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงและการประมวลผลจากระยะไกลซึ่งมีความจำเป็นสำหรับการเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูลปริมาณมากที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นข้อมูลนำเข้าสู่ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI)

ระบบ 5G_ที่รองรับการใช้งานในหลายด้านมากขึ้น ใช้งานบนคลื่นความถี่ในหลายย่าน ก็ส่งผลให้การวางโครงข่ายและการบริหารจัดการโครงข่ายมีความท้าทายมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เข้ามามีส่วนช่วยเสริมกันได้เป็นอย่างดี

โครงข่ายสื่อสารไร้สายเดิมถูกออกแบบและบริหารจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญด้านโทรคมนาคมซึ่งมีความรู้ด้านการเชื่อมต่อโครงข่าย การเคลื่อนที่รูปแบบการใช้งานของผู้บริโภค และโมเดลการส่งคลื่นสัญญาณเป็นอย่างดีจึงบริหารจัดการโครงข่ายได้มีประสิทธิภาพ

แต่ด้วย 5G_มาพร้อมความท้าทายทางวิศวกรรม ด้วยพื้นที่ครอบคลุมที่เล็กลง เทคโนโลยีสายอากาศใหม่ รูปแบบลักษณะการใช้งานที่ต่างจากเดิมนอกจากการสื่อสารของมนุษย์แล้ว ยังมีการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ที่รู้จักกันว่า Internet of Things (IoT) โมเดลการแพร่ของคลื่นสัญญาณมีความท้าทายมากขึ้นเมื่อต้องจัดการกับย่านความถี่ใหม่ในพื้นที่ที่มีการใช้งานหนาแน่นมากขึ้น

ประเด็นดังกล่าวทำให้ความชาญฉลาดของอุปกรณ์โครงข่ายมีความสำคัญมากขึ้น เพื่อตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของคลื่น ความแปรปรวนของปริมาณและรูปแบบข้อมูลที่รับส่งผ่านโครงข่าย 5G_การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine learning) จึงเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการกำหนดมาตรฐานของ 5G_เพื่อการให้บริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นไปอีกขั้น

การออกแบบระบบ 5G_ได้นำเอา AI มาประยุกต์ใช้งานเพื่อเสริมประสิทธิภาพ ส่วนมุมมองของ AI เทคโนโลยี 5G_ก็เป็น Enabler ที่สำคัญเสริมให้ AI ทำงานได้สำเร็จ ด้วย 5G_เทคโนโลยีสื่อสารไร้สายที่มีความเชื่อถือได้สามารถใช้กับภารกิจในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ (Critical Infrastructure)

เราเห็นการเปลี่ยนแปลงการทำงานของ AI จากการรวมความสามารถไว้ที่คลาวด์ศูนย์กลาง ถูกกระจายสู่อุปกรณ์ที่ใกล้การใช้งานปลายทางมากขึ้น เห็น AI ในอุปกรณ์ IoT ต่างๆ การประยุกต์ใช้งานรูปแบบใหม่ผ่านการเพิ่มความสามารถของ AI ลงในชิปเซ็ตสมองกลของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลที่ได้จากเซนเซอร์ผ่านโครงข่าย_5G เป็นข้อมูลขนาดใหญ่ นำเข้าสู่ AI เพื่อประมวลผลได้อย่าง real-time ตอบสนองการตัดสินใจในยุคดิจิทัล

จากที่ AI ที่เริ่มจากการรวมศูนย์กลางการควบคุม แนวโน้มต่อจากนี้ไป การประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล เริ่มไปที่ Edge ใกล้กับผู้ใช้บริการมากขึ้น เนื่องจากข้อมูลก็เกิดที่นั่นจัดเก็บประมวลผลได้เลยก็จะเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้น เมื่อเรากล่าวถึง Edge มีความหมายถึงอุปกรณ์ที่ปลายทาง หรือ Edge cloud

ซึ่งจะเห็นการร่วมมือเป็นพันธมิตรระหว่างผู้ให้บริการโทรคมนาคมชั้นนำ กับ ผู้ให้บริการคลาวด์แนวหน้ามากขึ้น โดยเป็นการนำความสามารถบางส่วนที่ควรจะอยู่ใกล้กับผู้ใช้บริการทำให้ประสิทธิภาพการให้บริการดีขึ้นไปไว้ที่ Edge

ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (Security & Privacy Issues) ยังคงมีความสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากบริการบางประเภทที่ต้องการประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงข้อดีทางด้านเศรษฐศาสตร์แล้ว การตั้งคลาวด์ในแต่ละพื้นที่โดยเฉพาะมีความจำเป็นเพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบในแต่ละประเทศที่กำหนดให้ข้อมูลต้องอยู่ภายในประเทศ

จะเห็นได้ว่า 5G_เป็นเทคโนโลยีที่ทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นอย่างใกล้ชิด เพื่อการเสริมประสิทธิภาพบริการที่ส่งมอบสู่ผู้บริโภค แม้_5G จะเป็นเทคโนโลยีสื่อสารยุคใหม่ที่มีจุดเด่นหลายประการ แต่ยังคงต้องทำงานร่วมกับการสื่อสารไร้สายมาตรฐานอื่นเสริมซึ่งกันและกัน

การนำ AI มาประยุกต์ใช้ใน_5G การนำ_5G เป็นส่วนเสริมบริการ AI สองเทคโนโลยีในภาวะพึ่งพาจะเสริมคุณภาพชีวิตประจำวันและการทำงานของพวกเราในยุคดิจิทัลอย่างทุกวันนี้