Thursday, April 25, 2024
ArticlesColumnistSupon Phrommaphan

ทำความเข้าใจเรื่อง Digital Culture

Friends group using smartphone against wall at university college backyard break - Young people addicted by mobile smart phone - Technology concept with always connected milenials - Warm filter image

ทำความเข้าใจวัฒนธรรมดิจิทัล Digital Culture ที่คาดว่าจะมีส่วนช่วยยกระดับเศรษฐกิจการค้าโลกไปถึง1 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2560-2561 ที่ช่วยสร้างยุคใหม่ให้กับภูมิทัศน์ของโลก และความเป็นอยู่ของชีวิตก็กลายเป็นความแตกต่างอย่างสิ้นเชิง

ณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุมจัดบรรยายพิเศษโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ด้าน IT (NON DEGREE), RE SKILL- UP SKILL รุ่นที่ 2 สำหรับหลักสูตรการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลและเข้าใจผู้บริโภคในเชิงลึก (Industries Transformation with Data Analytics and Consumer Insights)

โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรพิเศษ ศุภชัย สัจไพบูลย์กิจ CEO ของ บริษัท ออพติมุส (ประเทศไทย) จำกัด บรรยายในหัวข้อ Understanding Digital Culture and System Integration for Transformation ขอสรุปประมวลความได้ดังต่อไปนี้

ผู้เขียน : ผศ.สุพล พรหมมาพันธุ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เชี่ยวชาญเรื่องระบบข้อมูลสารสนเทศ การวางกลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร รวมถึงกลยุทธ์ออนไลน์

ศุภชัย บรรยายว่า ในปัจจุบันการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) มีแทบทุกแห่ง เพราะว่าระบบต่างๆ จะเป็นระบบอัจฉริยะทั้งหมด ดังนั้นคุณจะต้องเตรียมการรองรับ ไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มศักยภาพให้กับพนักงาน, การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า, การปรับแต่งวิธีการทำงาน และการปฏิรูปสินค้าและบริการ

สิ่งที่ยากสำหรับการทำ Transformation คือ การเปลี่ยนแปลงประสบการณ์ของลูกค้าในยุคของเศรษฐกิจดิจิทัล คนไม่จำเป็นต้องรู้จักกัน เช่น การค้าขายพืช ผัก ผลไม้ ไม่ใช่ว่าใครๆ ก็ทำได้ คนที่ทำได้ต้องมีรถห้องเย็น คนที่ไม่รู้จักกัน พอร่วมค้าขายด้วยกันแล้วก็จากกันไป หากจะใช้บริการค่อยมาเจอกันใหม่

ทุกวันนี้โลกกำลังเปลี่ยนแปลงความต้องการในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลคือ (1) ข้อมูลมหาศาล (Big Data) (2) โทรศัพท์มือถือ (3) โซเชียลมีเดียและ (4) คลาวด์ (5) อุปกรณ์ Internet of Things (IoT) 50 พันล้านชิ้นจะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตภายในปี 2020 และ (6) เศรษฐกิจ API (API Economy) หรือ Application Programming Interface

โดยปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวนั้น มีส่วนผลักดันให้ยอดขายการค้าทั่วโลกอยู่ที่ 85 พันล้านในปี 2556 และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2560-2561 นี่คือความสำคัญของ Digital Transformation (DT) ที่ช่วยสร้างยุคใหม่ให้กับภูมิทัศน์ของโลก และความเป็นอยู่ของชีวิตก็กลายเป็นความแตกต่างอย่างสิ้นเชิง

คลื่นแห่งการหยุดชะงัก (WAVES OF DISRUPTION)

คลื่นแห่งการหยุดชะงัก (Waves of Disruption) เกิดขึ้นมาพร้อมกับนวัตกรรม ซึ่งเมื่อย้อนไปปี 2538 เป็นต้นมา เป็นยุคของเพลง, การถ่ายภาพ, การเช่าวิดีโอ ต่อมาในปี 2553 เป็นเรื่องของ โทรทัศน์, การท่องเที่ยว และเรื่องของทรัพยากรมนุษย์

ในปี 2564 ทุกอย่างเน้นเรื่องความปลอดภัย และความสะดวกสบายทั้งหลายจะต้องเผชิญกับการหยุดชะงักด้วยระบบดิจิทัลในปี และคาดว่าในปี 2568 จะเป็นเรื่องของ การค้าปลีก, การดูแลสุขภาพ, ยานยนต์, การศึกษา, โทรคมนาคม, อาหาร, รหัสคำสั่งตรวจสอบในอนาคต Future Monitored Command Code (FMCC), การธนาคาร / ประกันภัย

ข้อมูลคือน้ำมันใหม่ (DATA IS THE OIL)

ปัจจุบันข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับทุกองค์กร เช่น ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในยุคก่อนหน้านี้ มีการค้นพบน้ำมัน ซึ่งได้ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างมากมายหลายด้าน และต่อมาได้มีการค้นพบการนำระบบกระแสไฟฟ้ามาใช้ได้ดังนั้น ไฟฟ้าก็เป็นอีกชนิดหนึ่งที่ทำให้โลกเกิดการ Disruption

พอมาถึงยุคนี้ข้อมูลมีความสำคัญมาก คลิฟ ฮัมบี้ นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษและผู้ประกอบการในสาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูลและกลยุทธ์ทางธุรกิจที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางกล่าวเอาไว้ว่า “ข้อมูลคือน้ำมันใหม่ (Data is the oil)” แต่ในเศรษฐกิจดิจิทัล ต้องเติมคำว่า Intelligence เข้าไปด้วย

องค์กรต้องสำรวจตัวเองว่า มี Data Strategy ที่ดีพอหรือยัง นั่นก็คือการให้ความสำคัญกับข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ด้วยหลักการ 4Vs คือ (1) ปริมาณข้อมูล (Volume) หมายถึง ข้อมูลที่มีจำนวนมหาศาลที่เพิ่มขึ้นในทุกขณะทุกวัน ทุกเวลา

(2) ข้อมูลมีความหลากหลายประเภท (Variety) หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นมีหลายประเภทได้แก่ ประเภทข้อมูลที่มีโครงสร้าง (Structure) ข้อมูลประเภทกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structure) และข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructure) (3) ข้อมูลที่มีความรวดเร็ว (Velocity) หมายถึง อัตราความเร็วที่เพิ่มขึ้นของข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็วใกล้เคียงกับเวลาเป็นจริง (Real-Time Information) และ (4) ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ (Veracity)

การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล 7 ชั้น

คือ (1) ประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) (2) วัฒนธรรม (Culture) (3) ตัวแบบทางธุรกิจ (Business Model) (4) องค์กร (Organization) (5) กระบวนการ (Process) (6) ความเป็นผู้นำ และความสามารถ (Leadership & capabilities) และ (7).โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)

ต่อมาเป็นเรื่อง ความหลากหลายคืออะไร (What are diversity) กล่าวถึงเรื่องของคน สามารถแบ่งแยกคนออกเป็นได้ 2 ประเภทหรือ 2 ยุค ซึ่งมีความคิดอ่านไม่เหมือนกัน คือ

(1) ผู้อพยพดิจิทัล (Digital Immigrants) หมายความว่าคนในยุคนี้ เช่น คุณป้าน้า อา ถูกหล่อหลอมมาไม่เหมือนกัน คนยุคนี้คุ้นเคยกับข้อความ, ทรัพยากรที่มีจำกัด, มีการคิดแบบเรียงตามลำดับ, ทำงานเดียว

(2) ชาวดิจิทัล (Digital Native) สามารถทำได้หลายงาน, การคิดแบบคู่ขนาน, ใช้สื่อมัลติมีเดีย,มีทรัพยากรหลายอย่างคนในยุคนี้เป็นรุ่นใหม่

ส่วน Value preposition คือ การผสมเกสรดอกไม้ คนเราเกิดมาตอนเป็นเด็กทารก ในช่วงแรกๆ ก็ต้องพึ่งพาพ่อแม่ แต่ต่อมาเรียนรู้และพึ่งตัวเองได้ หรือตัวอย่างคนที่ไปอยู่ในประเทศที่มีอากาศหนาว อุณหภูมิติดลบ 20 องศา วิถีชีวิตก็ต้องปรับเปลี่ยนและปรับตัว สำหรับธนาคาร Value Preposition ของธนาคาร คือ ความเชื่อถือ หรือการสร้างให้ลูกค้ามีความเชื่อถือ

 

สุดท้ายเป็นเรื่องของ วัฒนธรรม สิ่งที่ทำให้เกิดวัฒนธรรม คือข้อจำกัด หรือการแก้ปัญหาของความขาดแคลน, การปฏิบัติตามความเชื่อ / ค่านิยม / ประเพณี / มารยาท / ลักษณะนิสัย ภาษา

วัฒนธรรมที่ดีต้องมีการทำซ้ำๆ ถ้าจะทำได้ดีต้องมีข้อจำกัด เช่น การเกิดขึ้นของโรคไวรัส COVID-19 คล้ายกับ Digital คือ การไม่รู้จักกัน ตัวอย่างการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวบังคับ การกระทำทุกๆ อย่างจะกลายเป็นวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นการจัดการ หรือไม่จัดการ การวางแผน หรือไม่วางแผน ความชอบหรือไม่ชอบ “เป็นวิธีการทำสิ่งต่างๆ ในลักษณะซ้ำๆ”

ปัจจุบันเป็นยุคของดิจิทัล (Digital Era) ไม่เหมือนสมัยก่อน คนในปัจจุบันเท่ากันหมด ข้อดี คือมีโอกาส ส่วนข้อเสีย คือ โอกาสตาย ก็มีมาก เมื่อก่อนการจะที่บอกว่า จะมา Disrupt ธนาคารนั้นเป็นเรื่องยากมาก แต่ปัจจุบันต้องล้างบางกันหมด สมาร์ทโฟน และความเร็วของยุค 5G เป็นตัวแปรสำคัญ ลักษณะเด่นของ 5G คือ (1). ความเร็ว (Speed) (2). ตัดความหน่วง (3). ปริมาณข้อมูล (Data) รับได้ไม่จำกัดโหนด เป็นแสนโหนดก็รับได้