Sunday, April 28, 2024
5GeGovernmentGovTechIoTNEWS

กรมควบคุมมลพิษ จุฬาฯ DGA และ AIS ลงนาม MOU แพลตฟอร์มเทคโนโลยีดิจิทัลแก้ไข PM 2.5

DGA

รัฐ เอกชน ร่วมผนึกกำลัง 4 หน่วย กรมควบคุมมลพิษ จุฬาฯ DGA และ AIS เสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าช่วยบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ มุ่งแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5

รมควบคุมมลพิษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA และ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือ AIS ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) โครงการสร้างความร่วมมือส่งเสริมการพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีดิจิทัลบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ประชาชนในการมีชีวิตที่มีสิ่งแวดล้อมสะอาดสำหรับทุกคน

ความร่วมมือดังกล่าว มีเป้าหมายเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาคเอกชน และเครือข่ายความร่วมมืออื่น เพื่อพัฒนาเครื่องมือในเฝ้าระวังและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ด้วยแพลตฟอร์มเทคโนโลยีดิจิทัลบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ซึ่งทั้งหมดนี้เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนที่มีสิ่งแวดล้อมที่สะอาดสำหรับทุกคน

ผสานขุดแข็งของแต่ละหน่วยงาน ช่วยบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ

ในความร่วมมือนั้น แต่ละหน่วยจะนำจุดแข็งมาช่วยสนับสนุนให้โครงการประสบความสำเร็จ โดย กรมควบคุมมลพิษ จะเป็นหน่วยงานสำคัญที่เสนอแนะ กำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม และมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิด และป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากภาวะมลพิษ

โดย ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า “กรมควบคุมมลพิษมีความมุ่งหวังที่จะผลักดันในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อกำหนดมาตการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากมลพิษ มีความยินดีให้การสนับสนุนข้อมูล”

“ตลอดจนองค์ความรู้ด้านบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ เพื่อการดำเนินงานภายใต้โครงการสร้างความร่วมมือส่งเสริมการพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีดิจิทัลบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศชาติต่อไป”

ขณะที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้มีการศึกษาวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและ ระบบเตือนภัยฝุ่น พร้อมจัดทำอุปกรณ์ตรวจวัดค่าฝุ่น PM2.5 มาอย่างต่อเนื่องกว่า 5 ปี จนมีแพลตฟอร์มแจ้งสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ผ่านแพลตฟอร์ม CuSense และ Sensor for All รวมถึง API ที่สามารถดึงค่าฝุ่นจากในระบบ ไปต่อยอด Application ต่างๆ ได้เอง

ทางด้านบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด จะเป็นผู้อำนวยความสะดวกด้านระบบเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูงบนเทคโนโลยี 5G และเทคโนโลยี IoT ที่สามารถนำมาช่วยพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีดิจิทัลบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม

และ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ_DGA โดย ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล กล่าวว่า “ในฐานะที่ DGA_เป็นหน่วยงานกลางในการขับเคลื่อนดิจิทัลภาครัฐ ได้หารือแนวทางการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยจัดการคุณภาพอากาศร่วมกันระหว่างกรมควบคุมมลพิษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ AIS โดยทุกฝ่ายเห็นพ้องตรงกันที่จะประสานความร่วมมือในการ ขับเคลื่อนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการจัดการระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม ตามบันทึกความร่วมมือนี้”

“DGA_ซึ่งมีภาระกิจสำคัญหนึ่งในการทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ เพื่อทำหน้าที่สนับสนุน กระตุ้น ติดตามให้คำปรึกษา ตลอดจนส่งเสริมหน่วยงานรัฐให้มีการพัฒนาข้อมูลเปิดให้มีความทันสมัย มีความถูกต้อง และนำไปใช้งานได้หลากหลายเกิดประโยชน์แก่ประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐ พร้อมยินดีให้การสนับสนุนและผลักดันเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากชุดข้อมูลเปิดด้านสิ่งแวดล้อมภายใต้ความร่วมมือในโครงการนี้”

“นอกจากนี้ DGA_ได้พัฒนาแอปพลิเคชัน ทางรัฐ ซึ่งเสมือน SUPER APP ของภาครัฐที่รวมการให้บริการจากทุกหน่วยงานรัฐที่ช่วยแก้ปัญหาประชาชน ปัจจุบันมีบริการแล้วกว่า 112 บริการ”

“โดย_DGA มีความมุ่งหวังที่จะต่อยอดผลจากการดำเนินงานโครงการนี้ให้สามารถให้บริการแก่ประชาชนได้บน แอปพลิเคชัน ทางรัฐ ต่อไป ทั้งนี้โครงการสร้างความร่วมมือดังกล่าวจะได้ช่วยผลักดันนโยบายเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในมิติของการมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีสิ่งแวดล้อมที่สะอาดสำหรับทุกคน”