Saturday, April 27, 2024
ArticlesExecutive Talk

สสว. กับโครงการ Flagships สร้างการเติบโตให้ MSME (ตอนที่ 1)

สสว.

ในวันที่สถานการณ์โรคระบาดเริ่มคลายตัว ทั่วโลกกำลังเดินหน้าเพื่อเรียกกลับระบบเศรษฐกิจ เรามาเจาะลึกภารกิจของ สสว. หรือ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หน่วยงานหลักที่มีบทบาทภารกิจ ส่งเสริมเอสเอ็มอีของประเทศ ในการผลักดันความสำเร็จของผู้ประกอบการ SME ให้พร้อมก้าวกระโดดอย่างแข็งแกร่งในปี 2566

ถานการณ์ช่วงนี้ถือว่า พวกเรานั้นผ่านจุดสูงสุดของหนึ่งใน วิกฤตทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ที่ทุกประเทศเทศทั่วโลกต่างได้เจอเหมือนๆ กัน และในขณะเดียวกันสิ่งที่ทุกคนกำลังตั้งเป้าหมายคือ การสร้างความแข็งแกร่งในการเรียกความมั่งคั่งของธุรกิจกลับมา ซึ่งธุรกิจขนาดใหญ่นั้นมีความสามารถเหล่านี้สมบูรณ์แบบอยู่ในตัวทำให้เป็นเรื่องค่อนข้างง่าย

แต่กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือที่เมืองไทยเราเรียกว่า SME ที่ถือว่าเป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจไทย นอกจากจะมองหาแนวทางในการฟื้นฟูธุรกิจจากวิกฤตให้กลับมาแล้ว แต่สิ่งที่ต้องมองต่อไปคือการเติบโตต่อเนื่องทั้งในประเทศและการก้าวสู่เวทีในระดับนานาชาติ

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม หรือที่รู้จักกันดี สสว. คือหน่วยงานของภาครัฐที่รับหน้าที่ในการส่งเสริม SME ให้สามารถพัฒนาและสร้างความเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยหลายๆ เรื่องหลายๆ แง่มุมครับสำหรับนโยบายและแผนฯโครงการต่างๆ ที่จะผลักดันให้ผู้ประกอบการนั้นประสบความสำเร็จในโลกดิจิทัลในโลกของการแข่งขัน

วันนี้ CIO World Business ได้รับโอกาสที่ดีในการคุยกับ ดร.อภิรดี ขาวเธียร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ_สสว. ถึงเรื่องราวใหม่ๆ ที่หน่วยงานนี้ได้เตรียมไว้ในการช่วยให้ SME ไทยพาธุรกิจให้ผ่านพ้นจากวิกฤตได้อย่างคล่องตัว และช่วยส่งเสริมให้วิสาหกิจไทยก้าวสู่เวทีระดับนานาชาติในโลกยุคดิจิทัลที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน

ที่มา: รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (MSME) รายเดือน พฤษภาคม 2566,_สสว.
SME ไทย เร่งฟื้นฟูตัวเอง พบปัญหาความกังวลใจเรื่องต้นทุนที่เพิ่มขึ้น

ณ วันนี้ SME ราว 3.18 ล้านราย ถือเป็นผู้ประกอบการที่มีสัดส่วนสูงสุดถึง 99.5% ในประเทศไทย โดยสถานการณ์ก้าวเข้าสู่ช่วงฟื้นฟูแล้ว ผู้ประกอบการโดยทั่วไปก็มีความมั่นใจกับเรื่องของการประกอบธุรกิจมากขึ้น แต่คำถามคืออะไรที่เป็นความกังวลใจของ SME ไทยที่ทาง_สสว._สัมผัสได้

ดร.อภิรดี อธิบายว่า “จากการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการเป็นประจำทุกเดือนพบว่า ตอนนี้ความเชื่อมั่นในการทำธุรกิจก็ค่อนข้างดีขึ้น แต่อาจกำลังกังวลในเรื่องของต้นทุนการทำธุรกิจมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของค่าต้นทุนค่าพลังงานก็ดีหรือว่าดอกเบี้ย”

“ต้องบอกเลยว่าตอนนี้ ภาคธุรกิจที่กลับมาเดินเครื่องเต็มสูบก็น่าจะเป็นภาคการท่องเที่ยวในจังหวัดหัวเมือง แต่ส่วนเรื่องที่ยังมีข้อกังวลอีกประการ ก็คือ เรื่องของกำลังซื้อที่ยังกลับมาไม่เต็มที่ซึ่งมีผลต่อ SME แน่นอน เพราะในแง่ของสินค้าอุปโภคบริโภคนั้นหากผู้ซื้อยังคงมีความกังวลในเรื่องของการจับจ่ายใช้สอยก็จะส่งผลต่อยอดขายและการทำธุรกิจของ SME ที่ดำเนินธุรกิจได้ไม่เต็มที่นัก”

การเข้ามาของ อีคอมเมิร์ซ และการขาดแคลนแรงงาน ทักษะการทำงาน

“ในบรรยากาศของการกลับมาเปิดธุรกิจหลังโรคระบาดนั้น สิ่งที่_สสว._พบคือ การเกิดธุรกิจใหม่ที่ส่วนมากเป็นอีคอมเมิร์ซและเติบโตเร็วมาก รวมถึงการกลับมาของกลุ่มธุรกิจรายเก่า แต่ปัญหาของธุรกิจกลุ่มนี้คือ การขาดแคลนแรงงาน รวมถึงเรื่องของทักษะการทำงาน ที่อาจจะต้องพัฒนาเพื่อให้ทันกับความต้องการใหม่ๆ ของลูกค้าที่เปลี่ยนไปจากสถานการณ์ของ COVID-19”

“ทั้งหมดนั้นคือปัญหาของ SME ไทย ที่_สสว._เองต้องเก็บเอาปัจจัยเหล่านี้แล้วเอามาประมวลให้กลายเป็นแผนและนโยบาย รวมถึงโครงการต่างๆ ที่สามารถช่วยให้ SME สามารถเข้าถึงและนำไปใช้ในการพัฒนาตัวธุรกิจให้รอดออกจากสภาพเหล่านี้ แถมยังสามารถหาช่องทางเพื่อก้าวสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งหาช่องทางทางการตลาดที่จะนำธุรกิจสู่ระดับนานาชาติและการแข่งขันในโลกยุคดิจิทัล” ดร.อภิรดี กล่าว

Image by pressfoto on Freepik
ชี้โอกาส SME แบ่งเค้กจัดซื้อภาครัฐ

“สสว._ได้เตรียมโครงการและนโยบายต่างๆ สำหรับช่วยและสนับสนุน SME ไว้หลายโครงการ ที่สอดรับกับความต้องการของผู้ประกอบการ และสถานการณ์ เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการ ขอยกตัวอย่างเรื่องที่ชัดเจนอย่างหนึ่งก็คือ โอกาสในการเสนองานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ”

การจัดซื้อจากภาครัฐ ถือว่า เป็นตลาดขนาดใหญ่มาก โดยในปีหนึ่ง ภาครัฐมีการซื้อสินค้าและบริการผ่านกระบวนการจัดซื้อ ราวหนึ่งล้านล้านบาท ถ้า SME สามารถจะเข้าไปมีส่วนร่วมมีแชร์ในตลาดภาครัฐได้ ถือเป็นประตูขนาดใหญ่เป็นโอกาสตลาดขนาดใหญ่”

“สสว._ก็เลยดำเนินงานร่วมกับทางกรมบัญชีกลาง เพื่อเปิดโครงการเรื่องของมาตรการสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐซื้อสินค้าหรือบริการจาก SME ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ประมาณสักปลายปี 2563 หรือประมาณ สองปีได้แล้ว”

“แม้จะเพิ่งเริ่มมาตรการก็ตาม แต่ผู้ประกอบการ SME ไทยสามารถสร้างยอดขายจากการจัดซื้อจากภาครัฐได้กว่า 5 แสนล้านบาท หรือเกินกว่า 40% ของมูลค่าการจัดซื้อของประเทศ”

“ตรงนี้_สสว._พยายามจะสื่อสารไปยังผู้ประกอบการว่า ภาครัฐมีความต้องการที่หลากหลายจริงๆ ทั้งสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ เครื่องอุปโภค หรือเครื่องจักรกลขนาดใหญ่ รวมไปถึงบริการทำความสะอาด หรือบริการอื่นๆ ที่มีคุณภาพ”

“ข้อสำคัญที่จะทำให้ SME มีโอกาสรับงานภาครัฐคือ ผู้ประกอบการต้องพยายามสร้างความน่าเชื่อถือขององค์กรให้ได้ รวมถึงการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ หมั่นพัฒนาบริการของตัวเอง สร้างรอยเท้าทางธุรกิจ มีตัวตนบนโลกธุรกิจ ซึ่งไม่เฉพาะโอกาสการรับงานภาครัฐเท่านั้น สิ่งนี้ยังหมายถึงโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินอีกด้วย”

SME ปัง ตังได้คืน ช่วยสร้างแรงจูงใจให้เอสเอ็มอีพัฒนาธุรกิจ

“โครงการ SME ปัง ตังได้คืน เป็นโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS หรือ (Business Development Service) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ SME ให้ได้รับโอกาสในการเข้าถึงการบริการสนับสนุนด้านการพัฒนาธุรกิจในรูปแบบใหม่”

“ที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จะสามารถเลือกรับการบริการ หรือรับการพัฒนากับผู้ให้บริการทางธุรกิจ (Business  Development  Service Provider: BDSP) ในด้านที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจของตน” ดร.อภิรดี กล่าว

สสว.

“สสว._จะอุดหนุนค่าใช้จ่ายให้ผู้ประกอบการร้อยละ 50-80 สูงสุดรายละไม่เกิน 200,000 บาท และเพื่อให้มีฐานข้อมูลการให้บริการของหน่วยงานบริการทางธุรกิจ สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน สร้างโอกาสการส่งต่อการให้บริการ SME ระหว่างกัน”

“โดยวางเป้าการสนับสนุนค่าใช้จ่ายไว้ 5 หมวด คือ หนึ่ง การเพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพธุรกิจ, สอง การพัฒนาและบริหารจัดการธุรกิจ, สาม การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ, สี่ การพัฒนาช่องทางการจำหน่ายและการตลาด และ ห้า การพัฒนาตลาดต่างประเทศ รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์และจำเป็นต่อการพัฒนาและการยกระดับทางธุรกิจ”

“ยกตัวอย่างเช่น ค่าใช้จ่ายในการเตรียมความพร้อมให้เอสเอ็มอีเข้าสู่มาตรฐาน อาทิ มาตรฐาน อย., ISO, GMP และมาตรฐานอื่นๆ ที่ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือหรือเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจ, การสร้างการรับรู้แบรนด์ในประเทศ และต่างประเทศ หรือการปฏิรูปทางดิจิทัลของ SME”

“โครงการนี้เป็นการสนับสนุนองค์ความรู้ และการพัฒนาของผู้ประกอบการ ด้วยวิธีการสนับสนุนตรงด้วยเม็ดเงิน ไม่ต้องทำโครงการรองรับ และยังเปิดกว้างให้ผู้ประกอบการสามารถแนะนำผู้ให้บริการที่ตัวเองต้องการได้ด้วย”

สสว.

สร้าง Ecosystem ที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้ประกอบการไทย

ดร.อภิรดี กล่าวว่า “หนึ่งในบทบาทหลักของ สสว._คือ การพัฒนาผู้ประกอบการ ที่ผ่านมาเราจึงเห็น สสว._เป็นผู้พัฒนากลไกการเรียนรู้ขึ้นมา เป็น Ecosystem ที่จะเอื้อต่อการพัฒนาเอ่อผู้ประกอบการของของไทย โดยเป็นกลไกลการเรียนรู้ที่สอดรับกับพฤติกรรมและความพร้อมของผู้ประกอบการคือ การสร้างบริการออนไลน์”

อัพสกิลเอสเอ็มอีด้วย โครงการ SME Academy

“แพลตฟอร์มแรกคือ แรกคือ SME Academy เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เรียกว่า Academy 365 สามารถเรียนรู้ได้ 365 วัน 24 ชั่วโมง เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่รวบรวมหลักสูตรที่ตรงและเป็นประโยชน์กับ SME เนื้อหาส่วนใหญ่จะเป็นทักษะสำหรับการประกอบธุรกิจพื้นฐาน ที่สามารถเข้าไปเรียนรู้เพื่อพัฒนาตัวเองเพื่อทำให้เราทำธุรกิจได้อย่างเป็นมืออาชีพมากขึ้น”

รวมศูนย์ข้อมูลที่ SME One

อีกโครงการ คือ SME One เป็นแพลตฟอร์มกลาง หรือแหล่งรวมข้อมูล โครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่มีข้อมูลข้อมูลให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ในทุกๆ มิติ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ด้านการเงิน การตลาด เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ เป็นช่องทางสำหรับคนทำธุรกิจที่ไม่ควรพลาดที่จะติดตาม

เป็นตัวช่วยพัฒนาธุรกิจให้เข้มแข็ง และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ สามารถติดตามได้หลายแพลตฟอร์ม ทั้งเว็บไซต์ (www.smeone.info) เฟซบุ๊กแฟนเพจ SME One บัญชีไลน์ และติ๊กต๊อก

ซึ่งนอกเหนือจากปฏิทินกิจกรรมแล้ว จะมีองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ บทความสร้างแรงบันดาลใจ, เคล็ดลับธุรกิจ เป็นอีกแพลตฟอร์มหนึ่งที่ผู้ประกอบการได้ทราบแล้วก็ใช้ประโยชน์สูงสุด

สสว.

สร้างโค้ช ให้กับ SME

อีกหน้าที่หนึ่งที่ สสว._ต้องทำก็คือการับหน้าที่เป็น โค้ช หรือผู้ฝึกสอนในการทำธุรกิจ ซึ่งทาง ดร. อภิรดี ได้ขยายความประเด็นนี้ไว้ว่า

“สสว._ได้ตั้งโครงการ The Sme Coach เป็นโครงการที่พัฒนาที่ปรึกษาด้านธุรกิจและด้านเทคโนโลยี ที่มีความสามารถ เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำ SME ซึ่งโค้ชเหล่านั้นล้วนเป็นผู้มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องรวมถึงผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ”

“ที่ผ่านมา สสว._ได้มีการฝึกโค้ชขึ้นมาจำนวนมาก ที่สามารถให้คำปรึกษาได้หลายมิติ หลายความถนัด และความเชี่ยวชาญ ซึ่งผู้ประกอบการสามาารถเลือกรับคำปรึกษาผ่านทางเว็บไซต์ www.thesmecoach.com”

ชวนโหลดแอปฯ SME Connext

กลไกการเรียนรู้ 3 แพลตฟอร์มทั้ง SD Academy, SME One และ SME Coach ถูกรวมไว้ที่จุดเดียว เรียกว่าเป็น SME access โดยสสว. ได้พัฒนา ช่องทางการเข้าถึงบริการต่างๆ ที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม คือ แอปพลิเคชัน SME Connext ที่เป็นแหล่งรวบรวมทุกเรื่องที่เป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการ SME อย่างครบถ้วนด้วยสามารถใช้งานผ่านแอปพลิเคชัน SME Connext เป็นประตูเข้าไปสู่แพลตฟอร์มบริการต่างๆ สามารถดาวน์โหลด ได้ทั้งระบบ iOS และ Android

ปี 2566 จะกลายเป็นหมู หรือ หมี สำหรับเอสเอ็มอี ปัจจัยภายใน ตัวแปรทางเศรษฐกิจ กำลังซื้อผู้บริโภค โลกแห่งดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชัน ก็พลิกไปอีกกี่รอบ ก็ยังไม่ทราบ

แต่ที่ที่ทราบคือ ในบทความนี้ ได้กล่าวถึงโครงการเรือธงของสสว._ไปบางส่วน ที่ตอบโจทย์ และช่วยประคองผู้ประกอบการได้ตรงจุด

ส่วนในบทความ_สสว._กับ กับโครงการ Flagships สร้างการเติบโตให้ MSME (ตอนที่ 2) จะไล่เรียงโครงการที่ สสว.ทำคลอดออกมาเพื่อผู้ประกอบการ รวมถึงข้อชี้แนะจาก ดร.อภิรดี ขาวเธียร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ_สสว._ถึงตัวแปรความสำเร็จของเอสเอ็มอี