Thursday, December 5, 2024
NEWS

โครงการไฟ-ฟ้า โดย ทีทีบี จุดประกายเยาวชนเรียนรู้เรื่องการเงิน

โครงการไฟ-ฟ้า โดย ทีทีบี จุดประกายเยาวชนเรียนรู้เรื่องการเงิน ผ่านโครงการ Fun for Fin “เด็กไฟ-ฟ้า ออมได้ใช้เป็น” สร้างรากฐานการมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น

โครงการไฟ-ฟ้า โดย ทีทีบี กิจกรรมสังคมเพื่อความยั่งยืน มุ่งจุดประกายเยาวชนและชุมชนเสริมสร้างสิ่งดี ๆ คืนสู่สังคมไทย เดินหน้าสร้างพื้นฐานความรู้ทางการเงินให้กับเด็กไฟ-ฟ้า โดยมุ่งเน้นเสริมทักษะความรู้ทางด้านการเงิน (Financial Literacy) ส่งเสริมพฤติกรรมการใช้จ่ายอย่างมีวินัย และเก็บออมเงินอย่างสม่ำเสมอ

ซึ่งจะเป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกันทางการเงินให้กับเยาวชนไทย ช่วยสร้างรากฐานการมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นทั้งวันนี้และอนาคต ผ่านโครงการ Fun for Fin “เด็กไฟ-ฟ้า ออมได้ใช้เป็น” ร่วมกับ สถาบัน Money Class “ยกระดับทักษะการเงินทั้งโรงเรียนและองค์กรไปกับเหล่า HeRo การเงิน”  สร้างสรรค์กิจกรรมในรูปแบบ Active Learning แบ่งการเรียนรู้เป็น 8 คลาส มีทั้งช่องทางออนไลน์และออนไซต์ เป็นระยะเวลา 2 เดือน พร้อมติดตามผล 6 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงธันวาคม 2565

กาญจนา โรจวทัญญู ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการตลาดและประสบการณ์ลูกค้า ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี

กาญจนา โรจวทัญญู ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการตลาดและประสบการณ์ลูกค้า ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี เปิดเผยว่า โครงการ Fun for Fin “เด็กไฟ-ฟ้า ออมได้ใช้เป็น” เป็นการต่อยอดวิสัยทัศน์ของธนาคารที่ต้องการสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทย ผ่านแนวคิดพื้นฐานทางการเงิน 4 มิติ (Financial Well-being 4 Pillars) ได้แก่ ฉลาดออม ฉลาดใช้, รอบรู้เรื่องกู้ยืม, ลงทุนเพื่ออนาคต และมีความคุ้มครองที่อุ่นใจ

โดยนอกจากการพัฒนาโซลูชันทางการเงินเพื่อยกระดับการให้บริการลูกค้าได้หลากหลายครอบคลุมทุกความต้องการแล้ว และมีประโยชน์ต่อลูกค้าอย่างแท้จริงแล้ว เรายังดำเนินการควบคู่ไปกับการสร้างความรู้ทางการเงินแก่คนไทยทั้ง Ecosystem เช่น โครงการ fintips by ttb เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจที่เน้นการให้ความรู้สำหรับบุคคลทั่วไป และ finbiz by ttb โครงการเสริมความรู้ธุรกิจสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการ SME เป็นต้น”

“ไฟ-ฟ้า โดย ทีทีบี ต้องการปลูกฝังวินัยทางการเงินให้กับเด็ก และเชื่อมั่นว่าควรให้เด็กเรียนรู้เรื่องเงินตั้งแต่เริ่มต้นดีกว่าไปสอนเมื่อสาย จึงเกิดโครงการ Fun for Fin “เด็กไฟ-ฟ้า ออมได้ใช้เป็น” ขึ้นมา โดยมีสถาบัน Money Class มาร่วมออกแบบหลักสูตร

โดยมีการเชิญชวนเยาวชนจากศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้าทั้ง 5 แห่ง ได้สนุกสนานกับการเรียนรู้ผ่านเกม ที่ช่วยให้จดจำแนวคิดได้ง่าย สามารถนำติดตัวไปใช้ในชีวิตจริง เพื่อวางแผน บริหารจัดการ ส่งเสริมพฤติกรรมการใช้จ่ายอย่างมีวินัย และเก็บออมเงินอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกันทางการเงินให้กับเยาวชนไทย เพื่อสร้างรากฐานการมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นทั้งวันนี้ และอนาคต” กาญจนา กล่าว

ทัตพล เมธีวิริยาภรณ์ Co-Founder of Money Class

ด้าน ทัตพล เมธีวิริยาภรณ์ Co-Founder of Money Class กล่าวว่า เรื่องการเงินต่างจากการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หรือฟิสิกส์ เพราะเราต้องสามารถนำไปใช้ได้โดยตรงในชีวิตจริง ดังนั้น  แนวคิดของ Money Class คือ เกมการเงินเท่ากับเกมชีวิต

ซึ่งทุกเกมมีกติกาที่ต้องเรียนรู้ เช่นเดียวกับเรื่องเงิน จะต้องตระหนักว่าทุกคนต้องใช้เงินตลอดชีวิต แต่เวลาในการหาเงินมีจำกัด หากต้องการอยู่รอดในอนาคตต้องรู้จักจัดการเรื่องเงิน ขณะที่ปัจจุบันสังคมไทยน่าเป็นห่วง เพราะจากสถิติพบว่าผู้ใหญ่ 100 คน มีเงินใช้เพียงพอดูแลตัวเองได้ในวัยเกษียณแค่ 2-3%

ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของโครงการ Fun for Fin สร้างพื้นฐานทางการเงินให้กับเด็ก ๆ เพื่อให้ทุกคนดูแลรับผิดชอบชีวิตตัวเองได้ ไม่ต้องเป็นภาระของใครในวัยเกษียณ

“ผมชื่นชมแนวคิดของโครงการไฟ-ฟ้า โดย ทีทีบี ที่เน้นสอนทักษะชีวิตให้กับเด็ก จึงยินดีอย่างยิ่งที่ได้เข้ามามีส่วนช่วยผลักดัน ผมว่าเรื่องเงินไม่ใช่ความรู้ แต่เป็นเรื่องการดูแลตัวเองและต่อยอดได้จริง ซึ่งการสอนเด็กที่ดีที่สุดต้องเปิดด้วยเกม หลังจากนั้นค่อยให้ทำเด็กรู้ว่ากติกาเกมก็เหมือนกติกาในชีวิตจริง

โดยเราสามารถให้เด็กเริ่มต้นเรียนรู้เรื่องเงินได้ตั้งแต่วันที่รู้จักตัวเลข ยิ่งปล่อยไปจนเป็นผู้ใหญ่จะยิ่งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ยาก จึงเป็นเหตุผลว่าควรให้เด็กเรียนรู้ตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อเป็นวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกัน ทำให้เขาตัดสินใจได้ดีกว่าเดิมเมื่อเจอปัญหา”  ทัตพลกล่าว

ปิดท้ายที่ พิชญฒม์ ลิ้มวิศิษฎ์สกุล หรือ น้องปอ เด็กไฟ-ฟ้า ประชาอุทิศ ชั้นปีที่ 1 กล่าวว่า “ผมเข้าร่วมโครงการ Fun for Fin เพราะสนใจเรื่องการเงินอยู่แล้ว โดยมีพ่อแม่ปลูกฝังให้ออมเงินมาตั้งแต่เล็ก ๆ แต่ยังไม่มีความรู้มากนัก จึงต้องการมาศึกษาเพิ่มเติมและนำองค์ความรู้มาต่อยอดจากสิ่งที่ได้รับการสอนมา

ผมเชื่อว่าเยาวชนทุกคนควรได้รับความรู้พื้นฐานทางการเงิน โดยเฉพาะกลุ่มที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่นและวัยทำงาน เพื่อให้รู้จักออม ฉลาดในการใช้จ่าย และรู้จักลงทุนด้วย รวมทั้งชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องการเงินที่มีอยู่รอบด้าน”