Tuesday, November 12, 2024
CybersecurityNEWS

ยิบอินซอย ประกาศทิศทางธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ช่วยลูกค้าวางมาตรฐานความปลอดภัยคลาวด์และความเสี่ยง GenAI

ยิบอินซอย

ยิบอินซอย ประกาศทิศทางธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ช่วยองค์กรลูกค้ารับมือมาตรฐานปลอดภัยทางไซเบอร์ระบบคลาวด์ และความเสี่ยงการใช้งานเทคโนโลยีอย่าง Generative AI

ริษัท ยิบอินซอย จำกัด ประกาศทิศทางธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้ โดยจัดตั้งทีมเน็ตเวิร์คและไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เพื่อรุกตลาดในภาคการเงิน การธนาคาร โทรคมนาคม พลังงาน สุขภาพ การศึกษา รวมถึงองค์กรภาครัฐและเอกชนทุกขนาด 

สุภัค ลายเลิศ กรรมการอำนวยการและประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท_ยิบอินซอย จำกัด เปิดเผยว่า “บริษัทฯ ได้ปรับโครงสร้างหน่วยธุรกิจ โดยจัดตั้งทีมเน็ตเวิร์คและไซเบอร์ซีเคียวริตี้ (Network and Cybersecurity – NCS) ร่วมกับพันธมิตรด้านซีเคียวริตี้ชั้นนำระดับโลก พร้อมคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้และเชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้เข้ามารองรับการเติบโตของตลาดและความต้องการของลูกค้าที่มีมากขึ้น”

“โดยยิบอินซอยเป็น Systems Integrator ชั้นนำของไทยที่มีประสบการณ์กว่า 7 ทศวรรษในการดูแลรักษาปกป้องระบบไอทีสำหรับองค์กร ตั้งแต่ออกแบบ วางระบบ และปรับแต่งระบบเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับธุรกิจของลูกค้า ไปจนถึงการให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง”

“เพื่อสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้กับระบบอินฟราสตรัคเจอร์ ระบบเครือข่าย การสื่อสาร คลาวด์ แอปพลิเคชัน ดาต้า และอุปกรณ์เชื่อมต่อ ด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรมากมายและความรู้ความสามารถจากเหล่าวิศวกรด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้”

เตรียมรับมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระบบคลาวด์
สุภัค ลายเลิศ กรรมการอำนวยการ และประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท ยิบอินซอย จำกัด

สุภัค กล่าวเพิ่มเติมว่า “การลงทุนเทคโนโลยีไซเบอร์ซีเคียวริตี้มีความจำเป็นมากขึ้นในทุกภาคส่วน ทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชน ในด้านการเงินการธนาคารที่ทันสมัย อุตสาหกรรมที่ใช้หุ่นยนต์และเอไอ การแพทย์ที่รวดเร็วและแม่นยำ การศึกษาที่เข้าสู่ยุคดิจิทัล และงานวิจัยพัฒนาที่สร้างนวัตกรรมได้รวดเร็วขึ้น” 

“สิ่งเหล่านี้ทำให้ธุรกรรมดิจิทัลต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทั้งระยะสั้นและระยะกลาง รวมถึงต้องเพิ่มความพร้อมด้านความปลอดภัยและดำเนินงานอย่างรัดกุมตามมาตรฐานใหม่ๆ ของแต่ละอุตสาหกรรม”

อาทิ มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระบบคลาวด์ พ.ศ. 2567 โดยคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ, มาตรฐาน Information Security Management System (ISMS) เช่น ISO/IEC 27001, มาตรฐานด้าน Operational Technology Security (OT Security) 

นอกจากนั้นแล้ว การใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น Generative AI ทำให้หลายภาคส่วนต้องหาแนวทางในการควบคุมและลดความเสี่ยงในการใช้เทคโนโลยีใหม่นี้ 

อาทิ กรอบการจัดการความเสี่ยงด้านปัญญาประดิษฐ์ โปรไฟล์ปัญญาประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์ (Generative Artificial Intelligence Profile) โดย NIST ช่วยให้องค์กรสามารถระบุความเสี่ยงเฉพาะและจัดการความเสี่ยงตามเป้าหมายองค์กร

พระราชบัญญัติ AI ของสหภาพยุโรป (EU AI Act), มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าและยานพาหนะที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เช่น ISO/SAE 21434:2021

นอกจากนี้ สุภัค ยังกล่าวเน้นถึงองค์ประกอบสำคัญของไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ที่ประกอบด้วย คน กระบวนการ และเทคโนโลยี โดยแต่ละองค์ประกอบมีบทบาทสำคัญในการสร้างความปลอดภัยที่ยั่งยืนและลดความเสี่ยงให้กับธุรกิจ 

ซึ่งการผสมผสานระหว่างคน กระบวนการ และเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้องค์กรสามารถรับมือกับความท้าทายด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ได้อย่างครบวงจรและยั่งยืน 

นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงจริยธรรมในการใช้งานและการให้บริการ การสร้างความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ และการใช้พลังงานสะอาด โดยการออกแบบด้านความปลอดภัย (Security by Design) ควบคู่กับแผนธุรกิจด้วย

Featured Image: Image by freepik