Friday, March 29, 2024
Case StudyCloud

การคัดเลือกพันธมิตร คือตัวแปรความสำเร็จ ของการย้ายระบบไปสู่คลาวด์

กรณีศึกษา เอสซีจี ดีสทริบิวชั่น ธุรกิจด้านการจัดจำหน่ายในเครือเอสซีจี กับความสำเร็จการอัปเกรดระบบบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กรไปสู่ระบบใหม่ บนโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์

ระแสในโลกธุรกิจทุกวันนี้ ต่างพูดถึงการปรับตัวและความยืดหยุ่นในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อย่างมาก ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจต้องพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและปรับเปลี่ยนได้เสมอ แต่การจะปรับระบบ IT ใน องค์กรนั้น เป็นเรื่องที่ท้าทาย และถือเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะต้องพิจารณาตั้งแต่เรื่องโครงสร้างของระบบไปจนถึง การใช้งานของผู้ใช้งาน

คำว่า คลาวด์เฟิร์ส ดูจะเริ่มคุ้นเคยกันมากขึ้น แต่การจะนำระบบต่างๆ ย้าย ขึ้นไปอยู่บนคลาวด์ จะต้องทำ อะไรบ้าง เทคโนโลยีคลาวด์จะช่วยให้การจัดการทรัพยากรดีขึ้น รวมถึงทำให้องค์กรมีศักยภาพในการยืดหยุ่นได้ดี ขึ้นจริงหรือไม่

มาดูเบื้องลึกขององค์กรใหญ่อย่าง เอสซีจี ดีสทริบิวชั่น ธุรกิจด้านการจัดจำหน่ายในเครือเอสซีจี ที่ได้ปรับระบบในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ผ่านมาว่าจะประสบความสำเร็จและต้องผ่านอุปสรรค อย่างไรบ้าง ?

ความท้าทายของ เอสซีจี ดีสทริบิวชั่น

เอสซีจี_ดีสทริบิวชั่น ประกอบธุรกิจด้านการจัดจำหน่ายในเครือเอสซีจีมาร่วม 60 ปี โดยที่ให้บริการ การขนส่ง กระจายสินค้า และคลังสินค้า เอสซีจี_ดีสทริบิวชั่น จากการเติบโตของธุรกิจ ประกอบกับความต้องการโครงสร้างพื้นฐานที่ยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยในเดือนกันยายน 2562 ซึ่งเป็นช่วงก่อน COVID-19 เพียงไม่กี่เดือน เอสซีจี_ดีสทริบิวชั่น ตัดสินใจได้เริ่มอัปเกรดระบบบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กร (ระบบ ERP Enterprise Resource Planning)

ซึ่งต้องเป็นระบบใหม่ ที่สามารถรองรับกระบวนการทำงานที่ซับซ้อน สามารถจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ได้ดีขึ้น รวมถึงการย้ายไปใช้งานระบบ ERP บนโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ที่มีประสิทธิภาพ

โดยที่กระบวนทั้งหมดนั้นใช้เวลาทั้งสิ้น 11 เดือนในการพัฒนาและย้ายระบบไปบนคลาวด์ ถือเป็นกิจการด้านการจัดจำหน่ายแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จัดการย้ายระบบบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กร ที่ใหญ่และซับซ้อนในลักษณะนี้ไปบนคลาวด์ได้สำเร็จ

วิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ของการก้าวสู่ระบบคลาวด์

ต้องเข้าใจก่อนว่า เอสซีจีประกอบด้วยธุรกิจ 3 ธุรกิจหลัก คือ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ธุรกิจเคมีภัณฑ์ และธุรกิจแพคเกจจิ้ง โดยเอสซีจี_ดีสทริบิวชั่นอยู่ภายใต้ธุรกิจกลุ่มแรก ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการจัดจำหน่ายและค้าปลีก ซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง

การอัปเกรดระบบบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กรจากเดิมไปสู่ของใหม่นั้น เป็นเรื่องที่มีความท้าทายอย่างมาก เพราะในการออกแบบและนำตัวระบบบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กรชุดใหม่เข้ามาใช้ เกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงระบบงานของอีก 17 บริษัทย่อยภายในกลุ่มธุรกิจเอสซีจีเอง ที่เป็นบริษัทผู้ผลิตและขนส่งสินค้า ซึ่งแต่ละบริษัททำงานอยู่บนระบบบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กรที่ต่างกัน

นอกจากนี้ ยังมีระบบงานต่างๆ ที่ นอกเหนือจากระบบงานบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กรอีก รวมทั้งสิ้น 47 ระบบงานที่จะต้องทำงานเชื่อมโยงกับระบบบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กรใหม่ของเอสซีจี ดีสทริบิวชั่น ให้ได้สำเร็จ ซึ่งนับว่ามีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก

นอกจากนี้ ยังมีโครงการอื่นๆ อีก 11 โครงการที่จำเป็นต้องดำเนินไปพร้อมกัน และเชื่อมต่อกับการพัฒนาบนระบบบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กรใหม่ของเอสซีจี ดีสทริบิวชั่น

ซึ่งจำเป็นต้องมีการวางแผนงานให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเอสซีจี_ดีสทริบิวชั่น เอง เป็นผู้จำหน่ายและกระจายสินค้าและบริการใน 2 ช่องทางด้วยกัน ได้แก่ การขายและกระจายสินค้า ผ่านตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาต และการขายปลีกให้กับผู้บริโภคปลายทาง จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงระบบงาน ที่รองรับช่องทางการทำธุรกรรมการขายเหล่านี้อีกด้วย

การคัดเลือกพันธมิตรที่ดีที่สุด คือหนึ่งในหัวใจความสำเร็จ

การปรับระบบและโยกย้ายระบบที่มีขนาดใหญ่ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่ายทั้งภายในและ ภายนอกองค์กร ซึ่งเอสซีจีฯ ได้เลือกพันธมิตรที่ถูกต้อง และลงตัวที่สุด เข้าทำหน้าที่วิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนาและโยกย้ายระบบที่ซับซ้อนนี้ให้กับเอสซีจี ดีสทริบิวชั่น

โดยได้วิเคราะห์ ผลกระทบและออกแบบการเชื่อมโยงกับระบบบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กรที่มีอยู่เดิมของกลุ่มธุรกิจต่างๆ มีการพัฒนาและ ทดสอบระบบร่วมกับผู้ใช้งาน วางแผนการติดตั้งและการนำระบบไปใช้งานจริง

การตัดสินใจเลือกพันธมิตร และเทคโนโลยีที่เหมาะสมมีประสิทธิภาพ คือ ตัวแปรหลักๆ สำหรับการเดินหน้าโครงการครั้งนี้ให้ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง

Leave a Response