Wednesday, May 1, 2024
5GIndustry4.0IoTSmart City

SCG เลือกเทคโนโลยี ZETA เสริมประสิทธิภาพ IoT ก้าวสู่เมืองอัจฉริยะเต็มรูปแบบ

ZETA

SCG เลือกเทคโนโลยี ZETA ต่อยอดสินค้าและบริการด้วยประสิทธิภาพจาก IoT สามารถเดินหน้าคอนเซ็ปต์ Technology เพื่อ Smart City สู่ความเป็น Net Zero สนับสนุนให้ทุกอาคาร และทุกอุตสาหกรรมไทยสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะเต็มรูปแบบ

ปัญหาของภาคอุตสาหกรรมที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ มีความจำเป็นต้องใช้งานอุปกรณ์ IoT ในปริมาณมาก และต้องการรักษาข้อมูลให้ปลอดภัย การใช้สัญญาณ Wi-Fi หรือ 5G อาจจะไม่ตอบโจทย์ในเรื่องความสามารถในการกระจายสัญญาณอย่างครอบคลุม และอาจทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูงเนื่องจากต้องติดตั้งตัวรับส่งสัญญาณในหลายจุด

หลายธุรกิจต่างมองหาเทคโนโลยีที่เหมาะสม ลงตัว มีความสมดุลในเรื่องของประสิทธิภาพและเสถียรภาพที่ต้องการ บนต้นทุนที่รับได้ และมีมาตรฐานสากลที่ได้การยอมรับจากหลายประเทศทั่วโลก

วชิระชัย คูนำวัฒนา Head of Smart System Solution Business ในธุรกิจซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี

เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่พยายามนำประโยชน์จาก IoT ส่งต่อไปยังกลุ่มลูกค้าอาคารหรือภาคอุตสาหกรรม โดย วชิระชัย คูนำวัฒนา Head of Smart System Solution Business ได้อธิบายถึงการนำเทคโนโลยีเครือข่ายสัญญาณไร้สาย ZETA มาใช้เพื่ออุดช่องโหว่ IoT เสริมการใช้สัญญาณ Wi-Fi และ 5G

ซึ่งการเข้ามาของเทคโนโลยี ZETA นั้น เป็นตัวพลิกเกมทำให้ เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง สามารถต่อยอดสินค้าและบริการด้วย IoT ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความท้าทายของ Smart City และการเชื่อมต่อบน IoT

วชิระชัย อธิบายว่า “เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าการเป็น Smart City จะต้องมีเรื่องของเทคโนโลยีทางด้าน IoT ต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อช่วยแก้ปัญหาและตอบโจทย์การใช้ชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ขอยกตัวอย่างกรณีศึกษาเมือง Smart City ใกล้เราอย่างประเทศสิงคโปร์ ที่มีพื้นที่ทั้งหมดกว่า 724.4 ตารางกิโลเมตร เมื่อเทียบกับกรุงเทพฯ ซึ่งมีพื้นที่ 1568.737 ตารางกิโลเมตร”

“กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่มากกว่าถึง 2 เท่า ซึ่งอ้างอิงตามสถิติแล้วสิงคโปร์มีการใช้อุปกรณ์ IoT connection มากถึง 75 ล้านจุดทั่วประเทศ ถ้ามองกลับมาที่ไทยหากจะยกระดับเมืองสู่การเป็น Smart City เราต้องใช้อุปกรณ์หรือเทคโนโลยี IoT มากแค่ไหนถึงจะครอบคลุมการใช้งาน และตอบโจทย์กับความต้องการของผู้คนภายในเมือง”

“โดยตามหลักที่เราทราบกัน อุปกรณ์ IoT เหล่านี้จำเป็นจะต้องเชื่อมต่อซึ่งกันและกัน ผ่านเครือข่ายสัญญาณไร้สายหรืออินเทอร์เน็ต อาทิ สัญญาณ Wi-Fi หรือ สัญญาณ 5G ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในอาคารหรือครัวเรือน โดยสัญญาณประเภทนี้มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลที่มีความเร็วสูง”

“แต่มักจะครอบคลุมพื้นที่ใช้งานได้ในบริเวณที่จำกัด โดยสัญญาณ Wi-Fi มักใช้กับอุปกรณ์ในบ้านหรืออาคารที่ต้องการเชื่อมต่อเครือข่ายภายในพื้นที่ สามารถใช้ได้กับอุปกรณ์หลายตัวพร้อมกันแต่ต้องอยู่ในระยะที่จำกัด คลื่นความถี่และกำลังการส่งที่ต่ำทำให้สัญญาณประเภทนี้ไม่สามารถสื่อสารได้ไกล ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะถูกรบกวนได้บ่อยครั้ง”

“หรือสำหรับ สัญญาณ 5G ซึ่งนิยมใช้กับอุปกรณ์เคลื่อนที่หรือโทรศัพท์มือถือนั้น มีความยาวคลื่นที่สั้นกว่าสัญญาณชนิดอื่นๆ จึงมีความจำเป็นต้องติดตั้งจุดรับส่งสัญญาณใกล้เคียงในจำนวนมาก และมีความสามารถในการส่งสัญญาณได้น้อยหากเจอสิ่งกีดขวาง”

“และแม้สัญญาณประเภทนี้จะมีความเร็วสูงและมีประสิทธิภาพมาก แต่อาจมีความไม่เสถียรในพื้นที่ที่มีการแข่งขันให้บริการด้านสัญญาณของหลายเครือข่าย หรือมีผู้ใช้งานจำนวนมาก อีกทั้งยังต้องพึ่งพา SIM card ซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายต่อ Sensor ที่ค่อนข้างสูง”

“และหากขยับมาสู่พื้นที่ขนาดใหญ่หรือในอุตสาหกรรมที่มีความจำเป็นต้องใช้งานอุปกรณ์ IoT ในปริมาณมาก และต้องการรักษาข้อมูลให้ปลอดภัย การใช้สัญญาณ Wi-Fi หรือ 5G อาจจะไม่ตอบโจทย์ในเรื่องความสามารถในการกระจายสัญญาณอย่างครอบคลุม และอาจทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูงเนื่องจากต้องติดตั้งตัวรับส่งสัญญาณในหลายจุด” วชิระชัย กล่าว

เทคโนโลยี ZETA ที่เข้ามาตอบโจทย์

วชิระชัย ได้อธิบายถึงเทคโนโลยีการสื่อสารตัวหนึ่ง คือ ZETA โดย ZETA เป็นเทคโนโลยี Low Power Wide Area Network (LPWAN) ในระดับสากลที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ระยะไกลและต้นทุนต่ำ มีมาตรฐานและการรับรองโดยองค์กรความร่วมมือที่ชื่อว่า Zeta Alliance ความร่วมมือนี้มีบริษัทสมาชิกมากกว่า 300 บริษัทที่ตั้งอยู่ในญี่ปุ่นและจีนเป็นหลัก อาทิ KDDI Research, Toray Advanced materials, Toppan NTT Data Co. Ltd., Techsor, OYO, Sky Technology เป็นต้น

“ปัจจุบัน SCG ได้ร่วมธุรกิจกับบริษัท ZiFiSense ซึ่งเป็นผู้วิจัยและพัฒนา ZETA มีชื่อเสียงเรื่อง การใช้เทคโนโลยีด้าน IoT ปรับปรุงอาคารธรรมดาประเภทต่างๆ ให้กลายเป็น Smart Building ได้โดยใช้งบประมาณไม่มาก ซึ่งเทคโนโลยี ZETA นั้นประสบความสำเร็จมาแล้วหลากหลายประเทศ อาทิ อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ เป็นต้น”

ZETA

“จุดเด่นของเทคโนโลยี ZETA_จาก ZifiSense อยู่ที่ความเป็นผู้นำด้าน end-to-end IoT Solution ในระบบประเภท LPWAN ด้วยเครือข่าย ZETA_Alliance ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลสูง สามารถรับ-ส่ง-ประมวลผลข้อมูลแบบ two-way real time communication จากเซ็นเซอร์ต่างๆ โดยสามารถทำงานร่วมกับ Building Automation System (BAS) เดิมได้”

“อีกทั้งยังมี Machine Learning Algorithms ช่วยประมวลผล สามารถแนะนำ หรือคาดการณ์อายุการใช้งานของเครื่องจักร ในอาคารให้กับเจ้าของหรือผู้ดูแล และที่สำคัญเครือข่ายสัญญาณ_ZETA ยังเป็นเครือข่ายเดียวที่สามารถส่งสัญญาณได้ไกลที่สุด ถึง 2 กิโลเมตร”

“และยังรองรับอุปกรณ์ขยายสัญญาณ ที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาการส่งสัญญาณที่ไม่ครอบคลุม ลดทอนความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้รวดเร็วขึ้นในอุตสาหกรรม ทั้งยังลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งตัวรับ-ส่งสัญญาณ โดย SCG มุ่งเป้าผลักดันเทคโนโลยีนี้ให้เป็นที่รู้จักและใช้งานในวงกว้างมากขึ้นเพื่อช่วยอัพเกรดให้ทุกอาคารอัจฉริยะยิ่งขึ้น”

ปัจจุบันในประเทศไทยมีหลายองค์กรชั้นนำที่เลือกติดตั้งเทคโนโลยี_ZETA เพื่ออัพเกรดอาคาร/อุตสาหกรรมสู่การเป็น Smart City แล้วหลายแห่ง อาทิ โครงการ One Bangkok, Central Ayutthaya, KLOUD by KBank, โครงการ Tonson One Residence, Amata City, SCG Cement (สระบุรี), Siam Fiber Cement Group (สระบุรี) และ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พื้นที่จัดแสดงงาน Thailand Smart City Expo เป็นต้น

“ซึ่งการเข้ามาของเทคโนโลยี ZETA_นั้น ทำให้ เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เดินหน้าภายใต้คอนเซ็ปต์ Technology เพื่อ Smart City สู่ความเป็น Net Zero มุ่งเป้าสนับสนุนให้ทุกอาคาร และทุกอุตสาหกรรมไทยสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะเต็มรูปแบบ”