Wednesday, September 18, 2024
Big DataNEWS

เบลนเดต้า เซ็น MOU กับ TGGS ร่วมมือสร้างอีโคซีสเต็ม Big Data แบบครบวงจร

Big Data

เบลนเดต้า เซ็น MOU TGGS ร่วมมือสร้างอีโคซีสเต็มด้าน Big Data แบบครบวงจร หนุนงานวิจัย พัฒนาองค์ความรู้ ให้ทุนการศึกษาและทุนวิจัย วางรากฐานเทคโนโลยี Big Data ให้ก้าวสู่สากล

บลนเดต้า บริษัทด้าน Deep Technology ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มบริหารจัดการ Big Data อัจฉริยะ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน (มจพ.) หรือ TGGS ยกระดับการศึกษา การวิจัย และการสรรหาบุคลากร ด้านเทคโนโลยี Big Data

โดยเบลนเดต้า เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทดลองปฏิบัติงานจริง พร้อมมีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาตลอดการทำวิทยานิพนธ์ อีกทั้งยังเปิดให้เข้าทัศนศึกษาและดูงาน

นอกจากนี้ยังมีการทำข้อตกลงในการทำวิจัยร่วมกัน และเบลนเดต้ายังสนับสนุนทุนการศึกษาและทุนวิจัยรวมกว่า 6 ล้านบาท หนุนศักยภาพบุคลากรไทย เพิ่มองค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ สถาปัตยกรรมระบบ การประมวลผลประสิทธิภาพสูง (HPC) การประมวลผลแบบขนาน และการบริหารจัดการข้อมูล มุ่งสร้างซอฟต์แวร์ไทยได้คุณภาพมาตรฐานสากล

Big Data
ณัฐนภัส รชตะวิวรรธน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เบลนเดต้า จำกัด

ณัฐนภัส รชตะวิวรรธน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เบลนเดต้า จำกัด เปิดเผยว่า “เบลนเดต้ามีความต้องการยกระดับการศึกษาและการวิจัย ด้านเทคโนโลยี Big Data สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องให้เกิดขึ้นในประเทศไทย

ส่งเสริมบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มาร่วมกันพัฒนาซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีฝีมือคนไทย เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานให้สามารถออกไปยืนบนตลาดโลก”

“ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายของเบลนเดต้า ที่ต้องการสร้างอีโคซีสเต็มด้าน Big Data แบบครบวงจร ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การวางกลยุทธ์ พัฒนาความสามารถของแพลตฟอร์ม บริหารจัดการความปลอดภัยในข้อมูล

บริการด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ เพื่อนำข้อมูลไปต่อยอด รวมถึงสร้างบุคลากรผู้เชี่ยวชาญสู่สายงาน Big Data เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับวงการธุรกิจ”

“เบลนเดต้าได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน (มจพ.) หรือ TGGS ใน 6 ด้าน ดังนี้”

1. ร่วมมือกันส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการสรรหาบุคลากร ด้าน Big_Data โดยทางมหาวิทยาลัยจะจัดหาศาสตราจารย์และบุคลากรที่มีประสบการณ์ เพื่อช่วยในการทำวิจัยและให้ความรู้แก่นักศึกษา รวมทั้งทาง เบลนเดต้า จะจัดหาพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญเข้าไปช่วยให้ความรู้และคำแนะนำแก่นักศึกษาเช่นเดียวกัน

2. เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทดลองปฏิบัติงานจริงที่บริษัทฯ โดยนักศึกษาจะได้ฝึกลงสนามการทำงานจริงและได้เรียนรู้ทักษะอย่างเต็มที่ โดยมีพนักงานของเบลนเดต้า คอยช่วยเหลือและให้คำแนะนำ อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายการทำงานหลังจบการศึกษา ช่วยให้นักศึกษามีสถานที่ทำงานรองรับ และนำความรู้มาพัฒนาเทคโนโลยีในด้าน Big_Data ร่วมกับเบลนเดต้าต่อไป

3. มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาตลอดการทำวิทยานิพนธ์หรือบทความวิจัย เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจถึง Pain Point ในการทำ Big_Data อย่างแท้จริง จากประสบการณ์ของเบลนเดต้าซึ่งได้ร่วมงานกับธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยนักศึกษาจะได้นำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดและร่วมกันสร้างเทคโนโลยี Big_Data ที่มีประสิทธิภาพ

4. เปิดให้นักศึกษาและบุคลากรเข้าทัศนศึกษาและดูงานที่บริษัทฯ เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจกระบวนการพัฒนาเทคโนโลยี Big_Data ครอบคลุมทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ โดยสามารถสอบถามรายละเอียดการทำงาน รวมทั้งสามารถขอคำแนะนำจากพนักงานเบลนเดต้าที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาได้โดยตรง

5. เบลนเดต้า และ TGGS ร่วมมือกันทำวิจัย ในหัวข้อเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง อาทิ Distribute file system for decoupled compute & storage architect, High performance Query engine for big data workload, Disaggregated memory และ HW-SW co-design for serverless เป็นต้น

ซึ่ง เบลนเดต้า ได้ให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้คำปรึกษาและแนะนำจากพนักงานผู้เชี่ยวชาญของ เบลนเดต้า สนับสนุนค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าลงทะเบียนตีพิมพ์งานวิจัย ค่าใช้จ่ายในกรณีนำเสนองานวิจัยในงานประชุมเชิงวิชาการและตีพิมพ์งานวิจัย

รวมทั้งสนับสนุนด้านอุปกรณ์การทำงานและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอีกด้วย โดยหลังจากการทำวิจัยเสร็จสิ้น เบลนเดต้า จะนำผลการวิจัยไปต่อยอดและพัฒนาเทคโนโลยี Big_Data ต่อไป

6. สนับสนุนทุนการศึกษาและทุนวิจัยชั้นปริญญาโทและปริญญาเอก ให้กับคณะวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ปริญญาโท ทุนเต็มจำนวน 2 ทุน แบบให้บางส่วน 2 ทุน และ ปริญญาเอก ทุนเต็มจำนวน 2 ทุน แบบให้บางส่วน 2 ทุน ซึ่งทุกทุนการศึกษาจะมีการสนับสนุนเงินเดือน (Stipend) จำนวน 15,000 บาท สำหรับทุนเต็มจำนวน และ 7,500 บาทสำหรับทุนแบบให้บางส่วน

ซึ่งทั้งหมดนี้ยังไม่ร่วมค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัย เช่น ค่าเข้าร่วมงานประชุมเชิงวิชาการหรือเวทีวิชาการต่างๆ ค่าเข้าร่วมนำเสนอโครงการวิจัยและตีพิมพ์ รวมทั้งค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์และค่าจ้างบุคลากรสำหรับโครงการวิจัยในหัวข้ออื่นๆ ที่เป็นประโยชน์

จากความร่วมมือทั้งหมดนี้ เบลนเดต้า และ TGGS มีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะมุ่งสร้างบุคลากรด้าน Big_Data Technology ป้อนตลาด ด้วยเล็งเห็น Pain Point บุคลากรไทยยังขาดองค์ความรู้ดังกล่าว เป้าหมายเพื่อให้ซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีไทยมีคุณภาพเทียบเท่าหรือสูงกว่ามาตรฐานสากล” ณัฐนภัส กล่าว

ด้านศาสตราจารย์ ดร.นิสัย เฟื่องเวโรจน์สกุล คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน (TGGS) กล่าวว่า “ความร่วมมือกับ เบลนเดต้า ทาง TGGS มีความคาดหวังและมีเป้าหมายในการสร้างบุคลากร ด้านสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ สถาปัตยกรรมระบบ การประมวลผลประสิทธิภาพสูง (HPC) การประมวลผลแบบขนาน และการบริหารจัดการข้อมูล รวมทั้งต้องการสร้างเครือข่ายการทำงานหลังจบการศึกษา และสร้างโอกาสในการทดลองงานให้กับนักศึกษา”

“นอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนด้านทรัพยากรจากเบลนเดต้า ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์การทำงาน และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ พร้อมทั้งสนับสนุนการตีพิมพ์และนำเสนอโครงการวิจัยในงานประชุมเชิงวิชาการหรือเวทีวิชาการต่างๆ อีกด้วย”

นิสิตนักศึกษาและบุคคลทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถศึกษารายละเอียดเงื่อนไข และสมัครได้ที่ Architecture Research Group / Information Systems and Analytics Laboratory MS and PhD Application Form เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ถึง 31 ตุลาคม 2565 นี้