Tuesday, March 19, 2024
ArticlesBig DataTechnology

ยกระดับจัดการ Big Data ด้วยเทคโนโลยี GIS

เทคโนโลยี GIS จะกลายเป็นหนึ่งในอาวุธลับที่ทุกองค์กรต้องมี ที่สามารถเข้าไปเพิ่มศักยภาพในการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ Big Data ให้เป็น Data Intelligence ได้อย่างทรงประสิทธิภาพ

ริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด ให้ข้อแนะนำองค์กรสำหรับการจัดการ Big Data ด้วย เทคโนโลยี GIS หรือ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยมีความเห็นว่า GIS จะกลายเป็นหนึ่งในอาวุธลับที่ทุกองค์กรต้องมี ที่สามารถเข้าไปเพิ่มศักยภาพในการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ Big Data ให้เป็น Data Intelligence ได้อย่างทรงประสิทธิภาพ รวมทั้งช่วยประมวลผลได้แบบ Real-time เพื่อช่วยในการติดตามและแก้ไขปัญหาได้ในทันที

เทคโนโลยี GIS
ธนพร ฐิติสวัสดิ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด

ธนพร ฐิติสวัสดิ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ปัจจุบันพบว่า องค์กรจำนวนมากมีการนำ Big Data มาใช้ในการทำงานเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนหรือกำหนดทิศทางกลยุทธ์ต่างๆ ซึ่งการนำ เทคโนโลยี GIS เข้าไปเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเพิ่มศักยภาพในการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่อย่าง Big Data”

“ไม่ว่าจะเป็นในด้าน Visualization การแสดงผลในรูปแบบแผนที่เพื่อความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนด้วยมุมมองที่แตกต่าง และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อน สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ช่วยทำให้เข้าใจแนวโน้มและความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ได้ดีขึ้น อีกทั้งยังสามารถคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตได้”

“นอกจากนี้ในด้าน Real-Time Analytics หรือการวิเคราะห์ข้อมูล Real-Time ที่สามารถนำเข้าข้อมูลจากอุปกรณ์จากเซ็นเซอร์ ข้อมูลทรัพย์สิน ยานพาหนะ และระบบ IoT ต่างๆ สามารถแจ้งเตือนเมื่อทรัพย์สินย้ายหรือเปลี่ยนแปลง เพื่อติดตามสถานะและแก้ปัญหาได้ทันที”

“ซึ่งการนำ GIS เข้ามาผนวกกับ Big Data และการวิเคราะห์ Real-time แล้วจะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ แม่นยำและทันท่วงทีมากยิ่งขึ้นอีกระดับหนึ่ง ช่วยในการประกอบการตัดสินใจ และบริหารจัดการธุรกิจได้อย่างรอบด้าน ลดต้นทุนและลดระยะเวลาในการดำเนินการ”

GIS กับความสำเร็จภารกิจบริหารจัดการจัดเก็บขยะ

ตัวอย่างการใช้งานเทคโนโลยี GIS ร่วมกับการบริหารจัดการ Big Data ของสำนักสุขาภิบาลของมหานครลอสแองเจลิส แคลิฟอร์เนียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีภารกิจต้องบริหารจัดการจัดเก็บขยะ โดยกองรถขยะ (Fleet) มากถึง 750,000 ครัวเรือน

สำนักฯ ต้องการหาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการและติดตามการเก็บขยะแบบ Real-time โดยการดูตำแหน่งของรถบน Dashboard พร้อมแผนที่และแผนภูมิ

ซึ่งสำนักฯ ได้นำ ArcGIS มาใช้งานในการเชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์บนรถขยะมากกว่า 60 คัน เพื่อติดตามการเดินรถและตรวจสอบว่าเจ้าหน้าที่ได้จัดเก็บขยะตามการร้องเรียนของประชาชนจริง นอกจากนั้นยังพบว่า รถขยะต้องหยุดและเดินรถค่อนข้างบ่อย ซึ่งมีผลต่อการเสื่อมสภาพของเครื่องยนต์

สำนักฯ จึงได้ติดตั้งเซ็นเซอร์ติดตามสถานะการทำงานของอุปกรณ์เก็บขยะบนรถและเครื่องยนต์ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการซ่อมบำรุงอย่างทันท่วงทีก่อนที่รถขยะจะได้รับความเสียหายหรือต้องดำเนินการซ่อมใหญ่ ซึ่งอาจมีผลให้เกิดการหยุดชะงักของการบริการแก่ประชาชนในอนาคตได้

“GIS ทำให้เราเห็นทรัพยากรต่างๆ ด้วยข้อมูลแบบตารางและรายงาน ที่แสดงข้อมูลในเชิงของพื้นที่เพื่อดูความสัมพันธ์ต่างๆ สามารถบริหารจัดการได้รวดเร็ว สนับสนุนการทำงานอย่างเป็นระบบในการมอบหมายงาน เพื่อให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในแต่ละเส้นทางได้ และตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับพนักงานที่มีอยู่” Sal Aguilar จูเนียร์ วิศวกรสิ่งแวดล้อม สำนักสุขาภิบาลเมืองลอสแองเจลิส ที่มา: Esri
Esri พร้อมช่วยยกระดับการประมวลผล Big Data

ทั้งนี้ Esri ได้พัฒนาสุดยอดชุดเครื่องมือด้าน GIS เพื่อการเพิ่มคุณค่าและยกระดับการทำงานร่วมกับข้อมูล Big Data และข้อมูล Real-time ตั้งแต่การรวบรวม จัดการ และวิเคราะห์ข้อมูล ที่จะเป็นส่วนสำคัญในการบริหารจัดการธุรกิจโดยรวม ได้แก่ โซลูชันการทำงานกับ Internet of Things (IoT) และ Real-time Data ด้วยการเชื่อมต่อเซ็นเซอร์หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเซ็นเซอร์ที่อยู่กับที่ เช่น เครื่องวัดระดับน้ำในเขื่อน ประเมินความเสี่ยงของอุทกภัย

และเซ็นเซอร์เคลื่อนที่ เช่น รถขนส่ง ฯลฯ เพื่อเพิ่มมิติมุมมองใหม่ในการหาความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ ติดตามและวิเคราะห์เหตุการณ์ได้ทันท่วงที สามารถแจ้งเตือนผู้เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจในการวางแผนการดำเนินการต่อไป

นอกจากนี้ยังมีโซลูชันการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ในรูปแบบ Big Data ที่ช่วยยกระดับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ รองรับการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล Big Data หลายแหล่งภายในระบบขององค์กร พร้อมด้วยจุดเด่นการประมวลผลบนหลายเซิร์ฟเวอร์ในเวลาเดียว (Distributed Computing) ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็ว

และสามารถทำงานได้บนคลาวด์โดยไม่ต้องกังวลเรื่องขั้นตอนติดตั้งและต้นทุนในการบริหารจัดการเซิร์ฟเวอร์ อย่างไรก็ตาม หากมีข้อมูลที่ต้องการเก็บไว้ภายในระบบขององค์กร สามารถเลือกใช้โซลูชันการทำงานแบบ On-Premise Server และสำหรับองค์กรที่ไม่ต้องการลงทุนกับเซิร์ฟเวอร์สามารถใช้โซลูชันนี้บนคลาวด์ในรูปแบบจ่ายค่าสมาชิกรายปีได้เช่นกัน

Leave a Response