Wednesday, October 9, 2024
ArticlesCloudTechnology

ก้าวสู่ความเป็น High-Performer DevOps ได้ไม่ยากด้วย Low-Code

Low Code

ขอเสนอวิสัยทัศน์และการพัฒนาธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยแอปพลิเคชัน การพัฒนาระบบที่ทำงานบนคลาวด์เพื่อความเร็วและง่ายต่อการปรับขยายขนาด มีความยืดหยุ่นในการสนองตอบการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม เพื่อการก้าวให้ทันโลกและความอยู่รอดอย่างยั่งยืนของธุรกิจ

ทีมนักพัฒนาซอฟต์แวร์มีภาระหน้าที่ที่เหมือนกันคือการส่งมอบซอฟต์แวร์ให้ได้มากขึ้นและเร็วขึ้น โดยไม่ลดทอน คุณภาพและเสถียรภาพ ในปัจจุบันที่มีการใช้ทุกอย่างอยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้น ทุกธุรกิจจึงจำเป็นต้อง เปลี่ยนแปลงเสมือนเป็นบริษัทซอฟต์แวร์เพื่อก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันได้

ยกตัวอย่างบริษัทแบรนด์สินค้าชุดกีฬา Adidas ที่ปรับการทำงานเทียบเท่าบริษัทซอฟต์แวร์ระดับแถวหน้า ที่ทรงพลัง โดยหลังจากได้ปรับระบบต่างๆ ให้ทำงานบนคลาวด์ ทางบริษัทสามารถลดเวลาการ deploy จากทุกๆ 6 สัปดาห์เป็น 3 ครั้งต่อวัน โดยเวลาที่ใช้ deploy จริงลดลง จาก 3 วันเหลือเพียง 1 นาที

นี่คือวิสัยทัศน์และเป้าหมายของโลกอนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยแอปพลิเคชัน

เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าว องค์กรควรจะพัฒนาระบบที่ทำงานบนคลาวด์เพื่อให้ได้ประสิทธิผลด้าน ความเร็วง่ายต่อการปรับขยายขนาด และมีความยืดหยุ่นในการสนองตอบการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม เพื่อการก้าวให้ทันโลกและความอยู่รอดอย่างยั่งยืนของธุรกิจ องค์กรจำต้องสร้างทีม DevOps ที่ทำงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพชั้นเลิศและสมบูรณ์แบบ โดยมีความเชี่ยวชาญในกระบวนการส่งมอบซอฟต์แวร์ คลาวด์เบสระดับมืออาชีพ

คำถามสำคัญที่ตามมาก็คือเราจะไปถึงจุดนั้นได้อย่างไร?

ตัวชี้วัดจุดสูงสุดในสายงาน DevOps 

หน่วยงานวิจัยของ Google Cloud ที่ชื่อ DORA ได้ทำการวิจัยเชิงวิชาการอย่างเข้มข้นเกี่ยวกับขบวนการพัฒนา และส่งมอบซอฟต์แวร์เป็นเวลานานถึง 8 ปี

ในรายงาน State of DevOps ทาง DORA ได้ระบุตัวชี้วัด 4 อย่างที่แสดงถึงความเป็นทีมชั้นเลิศที่ให้ผลลัพธ์ทางธุรกิจที่เข้มแข็ง ประกอบด้วย

  • ความถี่ในการ deploy: ทีมชั้นเลิศ deploy ได้บ่อยกว่าทีมที่มีความสมบูรณ์ต่ำ 973 เท่า
  • เวลาล่วงหน้าสำหรับการเปลี่ยนแปลง: ทีมชั้นเลิศต้องการเวลาล่วงหน้าน้อยกว่า 6,570 เท่า
  • เวลาที่ใช้ในการทำให้ระบบคืนสู่สภาพเดิม: ทีมชั้นเลิศทำได้เร็วกว่า 6,570 เท่า
  • อัตราการผิดพลาดของการเปลี่ยนแปลง: ทีมชั้นเลิศมีอัตราต่ำกว่า 3 เท่า

แบบจำลองระดับความสามารถของ DevOps นี้ แสดงถึงคุณภาพและความสามารถที่อยู่เบื้องหลังบริษัทที่ ปรับตัวได้เร็ว มีนวัตกรรมที่สามารถสร้างแอปพลิเคชันและบริการคุณภาพสูงได้อย่างรวดเร็ว

บทความโดย: เติมศักดิ์ วีรขจรพงษ์ รองประธานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอาท์ซิสเต็มส์

ลองนึกถึง Netflix, Uber, Amazon บริษัทเหล่านี้ที่สามารถทำงานได้ในระดับสูงก็เพราะใช้ขบวนการ continuous integration/continuous delivery (CI/CD) ทำให้สามารถ deploy ได้หลายครั้งต่อวันหรือตามต้องการ โดยปกติจะใช้เวลาน้อยกว่า 1 ชั่วโมง ในการ deploy ลงบนระบบงานจริง (production) และใช้เวลาน้อยกว่า 1 ชั่วโมงในการทำให้ระบบคืนกลับสู่ สภาพเดิม ด้วยอัตราความผิดพลาดของการเปลี่ยนแปลงน้อยกว่า 15%

อย่างไรก็ตามในรายงานของ DORA ฉบับปี 2022 ทางนักวิจัยได้จัดระดับขีดความสามารถของ DevOps ในบริษัทที่ประเมินไว้แค่ระดับ ต่ำ กลาง และสูงเท่านั้น ไม่มีบริษัทไหนอยู่ในระดับดีเลิศ (Elite)

ความท้าทายในการนำพาบริษัทไปให้ถึงระดับดีเลิศ (Elite)

DORA ได้ตั้งสมมุติฐานว่าผลพวงจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้ลดโอกาสที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์เกิดการ เรียนรู้จากคนอื่น ส่งผลให้การพัฒนาและความก้าวหน้าชะงัก และยังมีอีก 2 ตัวแปรที่มี ผลกระทบคือ การขาดแคลนผู้ที่มีทักษะในการพัฒนาซอฟต์แวร์ และ การเคลื่อนย้ายขนานใหญ่ไปสู่แอปพลิเคชันบนคลาวด์

ในงานวิจัย State of Cloud Application Development (SoCAD) พบว่าในขณะที่ 72% ของผู้จัดการ ฝ่าย IT และนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ถูกสำรวจคาดว่า ในปี 2023 แอปพลิเคชันที่จะสร้างขึ้นส่วนใหญ่จะทำงาน บนคลาวด์ แต่ทว่ามีเพียง 47% เท่านั้นที่ระบุว่ามีความรู้อย่างถ่องแท้ในการพัฒนาแอปพลิเคชันบนคลาวด์นี้

เมื่อถามผู้ถูกสำรวจว่า ต้องการที่จะขยายทีมวิศวกรเพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันบนคลาวด์หรือไม่? ผู้ตอบแบบสำรวจ ส่วนใหญ่ (60% – 70%) ตอบว่าต้องการที่จะจ้าง 11 ใน 13 ตำแหน่งงาน ที่กำหนดไว้ในแบบสอบถาม

ที่มา: State of Cloud Application Development (SoCAD)

นี่แสดงให้เห็นว่าความสามารถในการพัฒนาแอปพลิเคชันบนคลาวด์เป็นปัจจัยสำคัญ แต่ผู้ที่มีความสามารถ ด้านนี้มีน้อยและเป็นที่ชัดเจนว่าไม่เพียงพอต่อความต้องการของทุกบริษัท

ในเวลาเดียวกันหลายๆ ทีมยังขาดผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาแอปพลิเคชันบนคลาวด์ในระดับซับซ้อนอีกด้วย จากผลสำรวจ สิ่งท้าทายอันดับต้นๆ ที่ผู้นำด้านแอปพลิเคชันบนคลาวด์จะต้องเผชิญคือ

  • ระบุเครื่องมือและแพลตฟอร์มที่จะใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม (52%)
  • ความซับซ้อนทางสถาปัตยกรรม (51%)
  • การวางโครงสร้างพื้นฐานของระบบ (50%)
  • ดูแลเครื่องมือและโครงสร้างพื้นฐานของระบบให้ทันสมัยอยู่เสมอ (48%)
ที่มา: State of Cloud Application Development (SoCAD)

สรุปสั้นๆ คือ คุณต้องทำให้แอปพลิเคชันพร้อมใช้งานได้เร็วขึ้น ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนและทีมงานที่ ขาดแคลนนักพัฒนาฝีมือดีที่มีความเชี่ยวชาญสูง ด้วยสภาพการณ์เช่นนี้ ทำให้ไม่สงสัยเลยว่าทำไมในรายงานปี 2022 ถึงไม่มีบริษัทใดได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในระดับดีเลิศ แต่ยังมีข่าวดีคือมียังพอมีหนทางในการเปลี่ยนผ่านเพื่อพัฒนา DevOps ให้ไปถึงระดับดีเลิศได้ ไม่ว่าตอนนี้ บริษัทของคุณจะอยู่ในระดับ ต่ำ กลาง หรือสูง

กลายร่างเป็นองค์กรระดับ High Performer ด้วยแพลตฟอร์ม Low-Code ประสิทธิภาพสูง

มีตำนานที่กล่าวขานว่า แพลตฟอร์มที่ใช้หลักการ Low-Code ไม่แข็งแกร่งพอที่จะใช้พัฒนาแอปพลิเคชัน และบริการที่ใช้งานอย่างจริงจังได้ในโลกธุรกิจ หลายคนเชื่อว่าแพลตฟอร์มเหล่านี้เหมาะสำหรับแอปพลิเคชัน พื้นฐานเท่านั้น ไม่เหมาะกับแอปพลิเคชันที่มีผลต่อ KPI ของหน่วยงาน

แต่ตำนานก็เป็นเพียงแค่สิ่งที่เล่าต่อกันมาเท่านั้น

แพลตฟอร์ม Low-Code สมรรถนะสูงอย่าง OutSystems มีการพัฒนาล้ำเกินหน้าแพลตฟอร์ม No-Code และ Low-Code รุ่นก่อนหน้ามาอย่างยาวนาน โดยเป็นตัวช่วยนักพัฒนาให้สามารถสร้างแอปพลิเคชันสำคัญ ที่ทำงานอย่างจริงจังได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในทุกๆ ด้านของสถาปัตยกรรมแบบคลาวด์

เราสร้างแพลตฟอร์มบน 3 หลักการที่ทำให้ลูกค้านำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง

  1. Serious productivity ผ่าน abstraction ขบวนการอัตโนมัติ และ CI/CD ที่ทันสมัย
  2. Serious apps สร้างบนสถาปัตยกรรมคลาวด์ที่ทันสมัย
  3. Evergreen technology ระบบจะให้การทำงานตลอดเวลา ได้รับการปรับปรุงอยู่เสมอ โดยไม่มีอุปสรรค

คุณ สามารถสร้างแอปพลิเคชันสำหรับทุกกรณีการใช้งาน และปรับปรุงได้ง่ายเมื่อมีความต้องการใหม่ๆ เกิดขึ้น

คุณสามารถสร้างแอปพลิเคชันที่เข้าถึงข้อมูลที่อ่อนไหว ทำงานในสภาวะแวดล้อมที่ถูกควบคุมอย่างเข้มงวด สามารถเชื่อมโยงกับกระบวนการหลักทางธุรกิจ (core business) และมีบทบาทที่สำคัญต่อเส้นทางของ ผู้บริโภคที่เข้ามาสัมผัส brand หรือองค์กรของคุณ (customer journey)

และด้วยความก้าวหน้าของแพลตฟอร์ม OutSystems คุณจะได้รับฟังก์ชันการทำงานที่แตกต่างเหนือใคร และพร้อมใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชันและบริการที่ทำงานบนคลาวด์

เราได้เปิดตัว OutSystems Developer Cloud (ODC) เมื่อหลายเดือนก่อน ซึ่งช่วยให้ลูกค้าและพันธมิตร สามารถ deploy แอปพลิเคชันที่รองรับเทคโนโลยีบนคลาวด์ เช่น containerization, microservices, Kubernetes, และ serverless computing ได้

สิ่งเหล่านี้ทำให้แพลตฟอร์มของเราสามารถปรับขยายขนาดได้อย่างเหลือเชื่อ

เนื่องจาก OutSystems ทำให้ความสามารถหลักหลายอย่างของการส่งมอบซอฟต์แวร์ชั้นเลิศเป็นไปโดย อัตโนมัติ คุณจึงสามารถขยายขนาดบริการเหล่านี้ในพอร์ตโฟลิโอแอปพลิเคชันทั้งหมดของคุณ โดยไม่ต้อง ลงแรงทำซ้ำๆ

OutSystems สามารถเปลี่ยนคุณให้เป็น DevOps ที่มีความสามารถในระดับดีเลิศ (Elite) ได้อย่างไร!

ดูเหมือนว่า Low-Code จะอยู่คู่กับการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ทำงานบนคลาวด์ จากรายงาน OutSystems SoCAD พบว่า 60% ของผู้นำในการพัฒนาแอปพลิเคชันบนคลาวด์กล่าวว่า Low-Code คือคำตอบสุดท้าย และ 83% ของผู้ตอบแบบสอบถามประมาณการว่าจะพัฒนาแอปพลิเคชันด้วย แพลตฟอร์ม Low-Code ภายในปี 2025

Featued Image: Image by Freepik