Thursday, March 28, 2024
Digital TransformationExecutive Talk

5 Capabilities สำคัญ ในการขับเคลื่อนสู่ Digital First Company

บลูบิค แนะนำ 5 Capabilities สำคัญในการขับเคลื่อนสู่ Digital First Company ที่สามารถสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบนิเวศทางธุรกิจ พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสำหรับองค์กรยุคใหม่

ริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BBIK ที่ปรึกษาผู้ให้บริการด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันครบวงจร เปิดเทรนด์สำคัญในการทำธุรกิจแห่งอนาคตสู่ Digital_First Company รับมือความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ และพฤติกรรมของคน Gen MZ (กลุ่ม Gen Millennials และ Gen Z) ที่กำลังก้าวขึ้นเป็นกลุ่มคนที่มีอิทธิพลต่อสังคมและการบริโภคของโลกในอนาคตอันใกล้

ซึ่งการปรับเปลี่ยนเป็น Digital_First Company สามารถสร้างความยืดหยุ่นควบคู่การเติบโตให้องค์กรด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี อีกทั้งยังเป็นการปูรากฐานสู่ความสำเร็จในการทำดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชันอย่างต่อเนื่องขององค์กรในทุกอุตสาหกรรม

พร้อมยกตัวอย่าง 5 Capabilities สำคัญที่ช่วยเร่งให้ภาคธุรกิจประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนแนวคิด Digital_First Company ในองค์กร

พชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BBIK ระบุการปรับเปลี่ยนองค์กรเป็น Digital-First Company ต้องเริ่มด้วยการคิดใหม่ในทุกแง่มุมของการทำธุรกิจ โดยมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน เชื่อมโยงและตอบโจทย์ความต้องการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ในระบบนิเวศของธุรกิจยุคใหม่

ที่ประกอบด้วย องค์กร (Company) ลูกค้า (Customer) พันธมิตรทางธุรกิจ (Partner) และสังคม (Community) ซึ่งในแต่ละส่วนของระบบนิเวศนี้ล้วนมีความซับซ้อนและมี Pain Point ที่แตกต่างกัน เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา ที่ก่อให้เกิดกระแส New Normal และกำลังก้าวสู่ New World Order หรือระเบียบโลกใหม่ในอนาคตอันใกล้นี้

ดังนั้นทุกองค์กรจึงต้องเร่งปรับตัวให้เป็น Digital-First Company เพื่อให้การทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องเป็นไปได้อย่างราบรื่น ให้สามารถสร้างความยืดหยุ่นแก่ธุรกิจ ยกระดับการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและสามารถเข้าถึงและเข้าใจกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

“Digital-First_Company เป็นหัวใจสำคัญทำธุรกิจยุคนี้ แต่การจะบรรลุผลสำเร็จในการทำ Digital-First_Company ต้องอาศัยความความรู้ความเชี่ยวชาญหลายด้านประกอบกัน จึงทำให้เกิดกระแสนิยมการทำงานร่วมกันระหว่างทีมงานในองค์กร (Insource) และทีมงานภายนอก (Outsource) ที่นอกจากจะช่วยเพิ่มมุมมองใหม่ในการทำธุรกิจแล้ว ยังเป็นการเสริมในงานส่วนที่องค์กรไม่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะได้อีกด้วย”

“เห็นได้จากบริษัทเทคฯ ชั้นนำระดับโลกหลายองค์กรมากมายที่มีการใช้บริการบริษัทที่ปรึกษา เพื่อสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีที่สุด รวมถึงลดข้อผิดพลาดและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน” พชร กล่าว

นี่คือ ความสามารถหลักๆ  5 ประการ ที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนสู่ Digital-First_Company ที่สามารถสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบนิเวศทางธุรกิจ พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสำหรับองค์กรยุคใหม่

1. Super App

ความนิยมของ Super App พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเทคโนโลยีนี้สามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ได้จริง และเป็นช่องทางสร้างการเติบโตร่วมกันกับพันธมิตรทางธุรกิจ ทำให้หลายองค์กรเร่งเดินหน้าพัฒนา Super App ของตนเองในช่วงที่ผ่านมา

แต่การพัฒนา Super App ต้องมี Core Feature และระบบที่ซับซ้อนขั้นสูง อีกทั้งต้องมีองค์ประกอบเกี่ยวกับ Microservice, Data Sharing และ Mini App ที่ดี รวมถึงเม็ดเงินลงทุนที่เพียงพอ ซึ่งโดยทั่วไปอยู่ที่ระดับ 100 ล้านบาทขึ้นไป

นอกจากนี้ ผู้พัฒนายังต้องมีความเชี่ยวชาญและให้ความสำคัญเกี่ยวกับการรองรับการขยายตัวในอนาคต, การขยายหรือเพิ่มขีดความสามารถ, ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์, ความสามารถในการดูแลรักษาระบบที่ต้องง่าย, มีประสิทธิภาพการทำงาน และโซลูชันที่ต้องอัปเดตให้ตอบโจทย์การใช้งานอยู่เสมอ

ดังนั้นประสบการณ์และความเชี่ยวชาญจึงเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนา Super App เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา อาทิ ระบบล่มที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ ถูกโจมตีทางไซเบอร์และการหารายได้จาก Super App เป็นต้น

2. เทคโนโลยีขั้นกว่าของปัญญาประดิษฐ์ หรือ Augmented Intelligence

Augmented Intelligence เป็นเทคโนโลยีที่กำลังมาแรง ที่ประสานการทำงานร่วมกันระหว่างเทคโนโลยี Artificial Intelligence – AI, Machine Learning – ML, Deep Learning, Big Data Analytics และ Human Intelligence และมนุษย์ด้วยการใช้จุดแข็งของแต่ละฝ่ายเติมเต็มซึ่งกันและกัน เพื่อผลลัพธ์การทำงานที่ดีที่สุด โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือมากกว่าทำงานแทนมนุษย์เหมือน AI

ดังนั้นการพัฒนา Augmented Intelligence ให้สำเร็จและเป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้งาน จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจทั้งในฝั่งธุรกิจและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้ง เพราะการพัฒนาหรือนำ Augmented Intelligence ไปใช้อย่างผิดวิธีอาจส่งผลเสียต่อการดำเนินธุรกิจได้

3. สร้างความน่าเชื่อถือและเกราะป้องกันภัยทางไซเบอร์ หรือ Digital Immunity and Trust

การสร้างภูมิคุ้มกันภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่งให้กับองค์กรต้องเริ่มตั้งแต่ตัวพนักงาน กระบวนการ และเทคโนโลยีโดยการผสมผสานกลยุทธ์และวิศวกรรมซอฟต์แวร์หลายอย่าง เพื่อป้องกันความเสี่ยงและยกระดับความปลอดภัยให้ผู้ใช้งาน

ซึ่งการสร้างมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและทำให้ลูกค้าหรือผู้ใช้งานเกิดความเชื่อมั่น นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการโจมตีทางไซเบอร์

4. เทคโนโลยีเพื่อสร้างความมั่นคงและยั่งยืน หรือ Sustainability Technology

เป็นเทรนด์เทคโนโลยีที่ใช้ ตอบโจทย์กระแส ESG ที่กำลังอยู่ในความสนใจขององค์กรทั่วโลก โดยหลักการพื้นฐานแล้วเทคโนโลยีมีส่วนสนับสนุนและเกี่ยวข้องทั้งด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และบรรษัทภิบาล (Governance)

ยกตัวอย่างเช่น การย้ายข้อมูลขึ้นระบบดิจิทัลแพลตฟอร์มช่วยลดการใช้กระดาษจำนวนมหาศาล การเพิ่มช่องทางการสื่อสารและพื้นที่บนโลกออนไลน์ให้กับชุมชน/สังคม และการสร้างความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจด้วยด้วยการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน เป็นต้น ฉะนั้นองค์กรใดที่ต้องการประสบความสำเร็จในการทำ ESG จึงควรเริ่มต้นด้วยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี

5. Agile Operations

แนวคิดการทำงานสำหรับองค์กรยุคใหม่ที่ใช้รับมือกับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกธุรกิจ ที่ครอบคลุมตั้งแต่ความต้องการลูกค้า เทคโนโลยีใหม่ๆ จนถึงสภาพเศรษฐกิจและสังคม ทำให้องค์กรสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว คล่องตัวกว่าเดิม อีกทั้งยังช่วยให้รักษาขีดความสามารถในการแข็งขันและบรรลุเป้าหมายการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันได้อย่างราบรื่น

“การแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ทำให้ภาคธุรกิจจำเป็นต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมากขึ้น เพราะการดำเนินงานที่ช้าและไม่สอดรับอัตราความเร็วของการทำธุรกิจในยุคดิจิทัล อาจทำให้องค์กรต้องพบกับอัตราต้นทุนค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ มูลค่ามหาศาล จนถึงต้องออกจากธุรกิจหรือเสียตำแหน่งผู้นำในอุตสาหกรรมไปก็ได้”

“เหล่านี้เป็นเพียงหนึ่งในความท้าทายที่ผู้บริหารทั่วโลกกำลังเผชิญ แม้จะมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสร้างข้อได้เปรียบ แต่หากขาดความรู้ความเชี่ยวชาญมากพอในการเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่สอดรับกับธุรกิจและสภาพเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ก็อาจส่งผลเสียได้” พชร กล่าวปิดท้าย

Featured Image: Image by rawpixel.com on Freepik

Leave a Response