““เก็บบางส่วนจากการบรรยายของ ผศ.ดร.ก่อศักดิ์ อาชวากร ผู้เชี่ยวชาญด้าน Industry 4.0 และระบบ Automation เรื่อง Smart Manufactory and Automation Tools หนึ่งในโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ด้าน IT (NON DEGREE), RE SKILL- UP SKILL รุ่นที่ 2 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม”
โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรพิเศษ คือ ผศ.ดร.ก่อศักดิ์ อาชวากร จาก Industrial Revolution Co., Ltd. (iRev) ผู้เชี่ยวชาญด้าน Industry 4.0 และระบบ Automation บรรยายในหัวข้อ Smart Manufactory and Automation Tools โดยสามารถสรุปประมวลความได้ดังต่อไปนี้
ดร.ก่อศักดิ์ ได้บรรยายว่า โครงร้างของเนื้อหาของการแปลงดิจิทัลในกระบวนการทางธุรกิจ (Digital Transformation in Business Process) สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนที่ 1 Digital Transformation Principle, ส่วนที่ 2 Automation Industry 4.0 และส่วนที่ 3 Digital TransformationPractice and Road Map
เริ่มจาก ส่วนที่ 1 Digital Transformation Principle ดร.ก่อศักดิ์ ได้ยกกรณีศึกษาของบริษัทจอห์นเดียร์ (John Deere) ประสบความสำเร็จโดยการนำเทคโนโลยีไปใช้ในการเกษตรบริษัทจอห์นเดียร์ได้ใช้คลาวด์ของ Amazon Web Service (AWS) ที่ช่วยให้เกษตรกรได้ทำการพัฒนาฟาร์มของพวกเขาแบบเรียลไทม์ ด้วยฐานข้อมูลบิ๊กดาต้าเกิดมีประสิทธิภาพ ปรับปรุงคุณภาพและพัฒนาผลผลิตได้อย่างดี นอกจากนั้น John Deere ยังใช้เทคโนโลยี IoT เขามาช่วยอีกด้วย
หลักการของการการปฏิรูปทางดิจิทัลคือ องค์กรจะต้องพร้อมที่จะออกไปสู่เขตของการต่อสู้ หรือสนามรบ (Combat Zone) โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยถึงจะอยู่รอดได้
ยุคของดิจิทัลกำลังก้าวเข้ามา (DIGITAL ERA IS COMING)
ชาลส์โรเบิร์ต ดาวินส์ (Charles Robert Darwin) เคยกล่าวเกี่ยวกับ วิวัฒนาการ หรือตาย (Evolve or Die) ไว้ว่า“ไม่ใช่เผ่าพันธุ์ที่แกร่งที่สุด และไม่ใช่เผ่าพันธุ์ที่ฉลาดที่สุด แต่เป็นเผ่าพันธุ์ที่สามารถปรับตัวได้ดีที่สุดเท่านั้นจึงจะอยู่รอดได้”
Digital Transformation เป็นคำที่มีผู้คนพูดถึงกันมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะการพูดถึงคำว่าSmart ต้องเน้นลงไปตรงที่ว่า ทำอย่างไร จะทำให้ได้กำไรสูงสุด เช่น การกู้เงินมาลงทุน ถ้ามีหนี้สินมากกำไรก็ได้น้อย มีความเสี่ยงสูงที่จะขาดทุน
ควรจะต้องนำ Data Analytics มาใช้เพื่อทำการวิเคราะห์ว่า มีสินค้าค้างอยู่ในสต็อกหรือเปล่า เอาข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ และที่สำคัญต้องมีข้อมูลที่มากพอเพื่อจะนำมาทำการวิเคราะห์ได้
สำหรับการแก้ปัญหาโดยใช้ Data Analytics นั้น ต้องมีการแยกแยะ Classification และ Clustering ใช้แยกกลุ่มประชากรเป็น Micro segment เพื่อเข้าใจปัญหาและความต้องการ (Pain and Gains) ของสมาชิก นำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิผล
การใช้ Data Analytics ต้องเน้นไปที่การสร้างมูลค่าส่วนบุคคล (Value Creation/Personalization)โดยอาศัยข้อมูลประวัติย่อส่วนบุคคลจากสื่อสังคมออนไลน์, ประวัติการอปปิ้ง, และกิจกรรมในการช้อปปิ้ง จัดบริการพิเศษให้เฉพาะตัวบุคคล เช่น โปรโมชั่นส่วนบุคคล และที่สำคัญอีกประการหนึ่งต้องมีการเน้นไปที่การปรับแต่ง (Customization) ด้วย
การทำการตลาดในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ใน Facebook และ IG การทำการตลาดก็มีความแตกต่างกัน ความต้องการของมนุษย์นั้น เทคโนโลยีต้องตอบสนองได้ ในช่วงนี้ นับว่าเป็นโอกาสของ SMEs สามารถที่จะเติบโตได้และ SMEs ต้องอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยเพื่อขยายตลาดไปทั่วโลก เพราะปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าการทำธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงไป
การทำธุรกิจข้ามชาติก็เช่นเดียวกันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การบริการเรื่องของ Supply Chain ก็จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป SMEs ต้องปรับตัวอย่างมากถึงจะอยู่รอดได้ เปรียบเสมือนฝูงปลาปิรันย่า ไม่ว่าจะเป็นตัวเล็ก หรือตัวใหญ่ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้
ธุรกิจรูปแบบใหม่ (The New Business Model) การยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) นับว่าเป็นหัวใจของธุรกิจ การทำการตลาดก็ต้องยึดลุกค้าเป็นศูนย์กลางเช่นเดียวกันไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอผลิตภัณฑ์สินค้า, จากการประมวลผลรายการทางธุรกิจสู่ความสัมพันธ์, การรู้จักตลาดของตนเองถึงการรู้จักลูกค้าของตนเองว่าคือใครนั่นก็คือการรู้จักรายละเอียดส่วนย่อยของการทำการตลาด (Micro-Segment)
เมื่อเทคโนโลยีเข้ามา ทำให้เปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ การนำเสนอให้แก่ลูกค้าก็เปลี่ยน ไม่ว่าจะขายอะไร เช่น ขายเสื้อผ้า ต้องขายด้วยความมั่นใจและวิเคราะห์ลูกค้าเป็น ต้องสามารถสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ ติดต่อลุกค้าได้ไม่ว่าจะเป็นทางอีเมล หรือใช้วิธีการทำงานร่วมกับลูกค้า (Collaboration System) การผลิตสินค้าต้องตรงกับความต้องการของลูกค้า ตัวอย่างการขายสินค้าของเกาหลี เขาจะมีตู้ขายสินค้าเหมือนขายของในตลาด และติดบาร์โค๊ดที่สินค้า
เมื่อเวลาลูกค้าซื้อสินค้าก็ใช้สมาร์โฟนสแกนที่บาร์โค้ดก็สามารถซื้อสินค้าได้สะดวกรวดเร็ว เนื่องจากลูกค้าไม่ค่อยมีเวลา เพราะความเร่งรีบต่างๆ และลูกค้าเดี๋ยวนี้มักใช้สินค้าไม่นาน และเปลี่ยนสินค้าบ่อย นอกจากนี้ ยังต้องปรับแต่งกระบวนการ, การจัดการห่วงโซ่อุปทาน, การลดต้นทุน, การจัดการค่าใช้จ่าย, การทำบัญชีออนไลน์ และการจัดการไหลเวียนของกระแสเงินสด เป็นต้น
สำหรับแนวคิดการทำ Digital Transformation นั้น คือการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ โดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วย เพื่อสร้างคุณค่าให้กับลูกค้า และผู้บริโภคเป็นสำคัญต่อมาขอกล่าวถึง องค์ประกอบที่สำคัญของรูปแบบธุรกิจ (Business Model) เนื่องจากรูปแบบธุรกิจ ถือว่าเป็นพิมพ์เขียว (Blueprint) ของยุทธศาสตร์ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ
นั่นคือการดำเนินการผ่านโครงสร้างขององค์กร กระบวนการ และระบบ ซึ่งเน้นไปที่หลักการคือ (1). ข้อเสนอแห่งคุณค่า (Value Proposition) เป็นข้อเสนอที่ธุรกิจจัดทำขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการ และการแก้ปัญหาให้กับลุกค้า (2).สูตรแห่งกำไร (Profit Formula) เป็นวิธีที่ธุรกิจที่ตั้งใจจะหารายได้ และกำไรจากข้อเสนอแห่งคุณค่า
และ (3). ทรัพยากรหลัก/กระบวนการหลัก (Key Resources/Key Processes) เป็นมาตรการที่ธุรกิจเตรียมไว้ เพื่อทำให้ข้อเสนอแห่งคุณค่าบรรลุผลแก่ลูกค้าได้
ดังนั้น การทำธุรกิจรูปแบบใหม่ เป็นการเปลี่ยนความรู้ เพื่อเปลี่ยนเกม จากเดิมที่เน้นผลิตภัณฑ์สินค้าเป็นศูนย์กลางปรับเปลี่ยนไปสู่การเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
การเน้นผลิตภัณฑ์สินค้าเป็นศูนย์กลาง (Product Centric) คือ การให้ความสำคัญของตัวสินค้า รวมทั้งการบริการแบบเดิมที่ถือเป็นสินค้าประเภทไม่มีตัวตน ผู้ผลิตหรือผู้บริการ ยึดเงื่อนไขของตัวเองเป็นตัวตั้ง
ส่วนการเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) คือ การเน้นคุณค่าของลูกค้าเป็นตัวตั้ง ผู้ผลิตและผู้ให้บริการ ให้ความสำคัญที่จะแก้ปัญหา และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า