“แคสเปอร์สกี้เตือนผู้ใช้ให้ระวังและตรวจสอบ การหลอกลวงที่ใช้เรื่อง การกุศลปลอม เกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี และมักเป็นการตอบสนองต่อภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้นจริง น่าเศร้าที่ ความขัดแย้งในยูเครน ก็ถูกนำมาใช้ในการหลอกลวงด้วย
คนมากมายทั่วโลกต้องการช่วยเหลือชาวยูเครน และนักต้มตุ๋นก็ใช้ประโยชน์จากความเอื้ออาทรนี้ ตลอดช่วงเสัปดาห์ที่ผ่านมา นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ได้สังเกตเห็นกิจกรรมการหลอกลวงที่ทวีความรุนแรงขึ้น โดยมีเว็บไซต์บริจาคปลอมจำนวนมากแพร่กระจายอยู่ในเว็บ ซึ่งเปลี่ยนทิศทางเงินออกจากองค์กรที่ถูกต้องตามกฎหมาย แคสเปอร์สกี้เตือนผู้ใช้ให้ระวังและตรวจสอบในเชิงรุกว่ากำลังบริจาคเงินให้ใคร
การหลอกลวงที่ใช้เรื่อง การกุศลปลอม เกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี และมักเป็นการตอบสนองต่อภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้นจริง น่าเศร้าที่ ความขัดแย้งในยูเครน ก็ถูกนำมาใช้ในการหลอกลวงด้วย นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้รายงานว่ามีเพจฟิชชิ่งจำนวนมากที่แอบอ้างเป็นเว็บไซต์บริจาคและการกุศล ผู้ฉ้อโกงไม่เพียงแต่ขโมยเงินและข้อมูลรับรองของผู้ใช้เท่านั้น แต่ยังดึงองค์กรที่ถูกกฎหมายออกจากการบริจาคเหล่านี้ด้วย
ข้อสังเกตที่พบวนเพจจอมปลอมเหล่านี้ คือ ส่วนใหญ่ไม่มีข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับผู้จัดงานระดมทุน ผู้รับเงินบริจาค หรือเอกสารอื่นๆ ที่พิสูจน์ความถูกต้องของงาน
สิ่งเดียวที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถทำได้ขณะเข้าเพจดังกล่าวคือ การบริจาค เว็บไซต์เหล่านี้ไม่ได้รายงานว่าองค์กรใช้จ่ายเงินอย่างไร และนั่นเป็นหนึ่งในสัญญาณสำคัญที่บ่งชี้ว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่ระแวงสงสัยอาจต้องเสียเงินให้กับนักต้มตุ๋น
ผู้ฉ้อโกงจะจัดการให้ผู้ใช้สามารถโอนเงินได้อย่างสะดวกง่ายดาย มีตัวเลือกสำหรับการโอนเงินโดยสมัครใจจากบัตรเครดิตและธุรกรรมสกุลเงินดิจิทัล
นอกจากนี้ ผู้ฉ้อโกงมักใช้กลวิธีกดดัน เช่น การเน้นย้ำถึงความเร่งด่วนและการใช้ภาษาที่แสดงถึงอารมณ์อย่างสูง ในจดหมายขยะจำนวนมากที่แคสเปอร์สกี้พบนั้น ผู้ฉ้อโกงได้ปลอมตัวเป็นเหยื่อของความขัดแย้ง โดยแสร้งทำเป็นขอความช่วยเหลือทางการเงินสำหรับครอบครัว และเมื่อธนาคารปิดตัวลง ผู้ฉ้อโกงก็ขอร้องให้โอนเงินผ่านบิตคอยน์
สุดท้าย เพื่อให้การระดมทุนดูน่าเชื่อถือมากขึ้น นักต้มตุ๋นจึงเริ่มใช้ประโยชน์จากแบรนด์ดังและคนดังเพราะผู้คนมักจะทำตามตัวอย่างที่ดีของไอดอลและแบรนด์ที่พวกเขาไว้วางใจ
ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ขอแนะนำเพื่อป้องกันมิจฉาชีพและให้บริจาคอย่างปลอดภัย ดังนี้
- ตรวจสอบเว็บไซต์และหนังสือรับรองของมูลนิธิ องค์กรการกุศลที่ถูกกฎหมายจะได้รับการจดทะเบียน คุณควรตรวจสอบข้อมูลประจำตัวขององค์กรในฐานข้อมูลที่รู้จักเพื่อยืนยันว่าเป็นของแท้
- ติดต่อองค์กรการกุศลโดยตรงเพื่อบริจาคหรือให้การสนับสนุน หากต้องการบริจาคทางออนไลน์ ให้พิมพ์ที่อยู่เว็บไซต์การกุศลแทนการคลิกลิงก์
- หากไม่แน่ใจเกี่ยวกับองค์กรที่กำลังตรวจสอบ ให้อ้างอิงองค์กรที่มีชื่อเสียงที่ให้การสนับสนุนด้านมนุษยธรรม เช่น สภากาชาด
- จำไว้ว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตไม่น่าจะติดต่อคุณโดยตรงเพื่อขอเงิน โดยเฉพาะคนแปลกหน้าที่คุณไม่รู้จัก โปรดใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการขอให้โอนเงิน
- ระแวดระวังเสมอ เว็บไซต์ปลอมอาจดูเหมือนกับเว็บไซต์การกุศลของแท้ รายละเอียดที่แตกต่างคือข้อมูลการส่งเงินบริจาค นอกจากนี้เพจปลอมมักมีการสะกดคำหรือใช้ไวยากรณ์ที่ผิด
- ระมัดระวังการใช้โซเชียลมีเดีย โซเชียลมีเดียเป็นวิธีที่มีประโยชน์สำหรับองค์กรการกุศลในการสื่อสารกับสาธารณะและร้องขอการบริจาค แต่อย่าเหมารวมว่าคำขอบริจาคบน Facebook, Twitter, Instagram หรือ YouTube นั้นถูกต้องตามกฎหมายเพียงเพราะเพื่อนชอบหรือแชร์ ควรใช้เวลาค้นคว้าหาข้อมูลก่อนตัดสินใจบริจาค