Tuesday, September 17, 2024
ArticlesColumnistSansiri Sirisantakupt

ความท้าทายที่ CIO จะต้องเผชิญในปี 2022

ผู้เขียนได้หยิบประเด็นที่น่าสนใจจากการแลกเปลี่ยนพูดคุยของ CIO ในประเด็น ความท้าทายที่ผู้นำด้านไอทีจะต้องเผชิญในปี 2022 มีหลายๆ เรื่องที่ต้องนำมาคิดต่อ ทั้งเรื่องสภาพแวดล้อมการทำงาน ทักษะที่จำเป็น และการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์

วามท้าทายที่เหล่าผู้นำด้านไอทีจะต้องเผชิญในปี ค.ศ.2022 มองดูเหมือนจะเป็นประเด็นที่คุ้นเคย อาทิ การค้นหาและรักษาผู้ที่มีความสามารถสูง, การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เข้มแข็งขึ้น และการแพร่ระบาดที่มีอย่างต่อเนื่องของ COVID-19 ซึ่งเป็นสิ่งที่ตอกย้ำของความท้าทายเหล่านั้น

อีกทั้งช่องว่างทางทักษะส่งผลกระทบเกิดการลาออกครั้งใหญ่ พนักงานที่มีทักษะสูงทางเทคนิคมีประสบการณ์กับสภาพแวดล้อมระบบคลาวด์ การเรียนรู้ของเครื่อง (ML) และนวัตกรรม เมื่อก่อน เป็นที่ต้องการของบริษัทเทคโนโลยีมาโดยตลอด แต่ในปัจจุบันทักษะเหล่านั้นเป็นที่ต้องการของแทบทุกบริษัท

บทความโดย: น.อ.สรรสิริ สิริสันตคุปต์ นักวิชาการกองทัพอากาศ เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการรักษาความมั่นคงปลอยภัย ด้านอวกาศและไซเบอร์

ที่สำคัญ การอำนวยความสะดวกในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริด การรับรองทักษะที่ตรงกับความสำเร็จในอนาคต และการรักษาความปลอดภัยอุปกรณ์พกพาส่วนบุคคลของพนักงานที่ใช้ในการทำงานแบบไฮบริด ถูกจัดเป็นอันดับต้นๆ ของความท้าทายที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งเหล่าผู้นำด้านไอทีจะต้องพบในปีนี้

ในภาพรวมต้องดูว่าเหล่าผู้นำด้านไอทีวางแผนที่จะจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ที่ต้องเผชิญได้อย่างไรในปี ค.ศ.2022 จากบทความ Top 7 challenges IT leaders will face in 2022 ของ พอล เฮลท์เซิล คอลัมนิสต์ CIO US Magazine ผู้เขียนได้หยิบประเด็นที่น่าสนใจ ผ่านมุมมองและบริบทในประเทศไทย โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้

สภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริด

จินน่า ราฮากี CIO ของ Zayo บริษัทที่ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านเครือข่ายมีคุณภาพสูง กล่าวว่า “เธอกำลังคุยกับ CIO คนอื่นๆ สำหรับการปรับเปลี่ยนไปสู่สภาพแวดล้อมของการทำงาน แบบไฮบริดในอนาคตอันใกล้เข้ามา”

ซึ่งปัญหาอย่างหนึ่งก็คือ ความน่าเชื่อถือของเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ (Audio Visual tools: AV) ที่ถูกใช้ในสำนักงานและในบ้านของพนักงาน เครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ให้ทั้งภาพและเสียงในการประชุมเมื่ออยู่ต่างสถานที่กัน มักสร้างความกังวลให้แก่ CIO ในเรื่องของราคาและความน่าเชื่อถือเมื่อนำมาใช้ ที่สำคัญไม่มีมาตรฐานสำหรับผู้ใช้ที่เชื่อมต่อมาจากที่บ้าน”

หากบริษัทต่างๆ ไม่ลงทุนในโซลูชัน AV ซึ่งจะทำให้สภาพแวดล้อมการประชุมเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องและเชื่อถือได้ การที่จะกลับมาทำงานได้นั้นก็อาจจะไม่ราบรื่นอย่างที่ควรจะเป็น ด้วยโซลูชัน AV จะช่วยเชื่อมต่อพนักงานจากสถานที่ต่างๆ ที่อยู่ห่างกันนั้น ให้เหมือนมาอยู่ในห้องประชุมเดียวกัน

ณ ปัจจุบันองค์กรของเธอกำลังสำรวจเหล่าพนักงานที่มีความต้องการทำงานในสำนักงานและผู้ที่ต้องการทำงานจากระยะไกล เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ AV ที่เชื่อถือได้ ซึ่งรวมถึงแท่นวางเครื่องคอมพิวเตอร์ ไฟส่องสว่าง และกล้องที่สร้างสภาพแวดล้อมแบบมืออาชีพได้จากที่บ้าน

ในขณะที่เมื่อพูดถึงเครื่องมือประชุมผ่านวิดีโอหลายคนกำลังหันมาใช้ Communications-as-a-service เพื่อจะมอบตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพและครบวงจรมากขึ้น ในการแก้ปัญหาด้านความต้องการของพนักงานที่อยู่กันอย่างกระจัดกระจาย อาทิ การประชุม การส่งข้อความ กระบวนการทางธุรกิจ การโทร และอื่นๆ อันเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่เธอกำลังมองเช่นกัน

ซึ่งเครื่องมือประชุมผ่านวิดีโอเหล่านั้นทำงานได้ดีด้วยการออกแบบทางโครงสร้างพื้นฐานทั่วๆ ไป สิ่งสำคัญก็คือ “บริษัทที่ ลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ AV ที่ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดี สำหรับสภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริดนั้น จะทำให้เหล่าพนักงานสามารถทำงานร่วมกันได้ดีกว่าคู่แข่งของพวกเขา”

ขณะที่ ฮาซิม แมคคี รองประธานฝ่ายวิศวกรรมของ Coinme บริษัทที่ให้บริการแลกเปลี่ยนสกุล เงินดิจิทัล กล่าวว่า “บริษัทของเขามองถึงนโยบาย การทำงานจากภายนอกสำนักงานเป็นอันดับแรก โดยเปิดโอกาสให้มีสถานที่ที่ใช้ในการทำงานสำหรับพนักงานที่ต้องการนั่งอยู่ในสำนักงาน ซึ่งส่วนมากมักเป็นสถานที่ทำงานร่วมกันในลักษณะ Co-working spaces”

“นี่คือ การกำหนดวัฒนธรรมของเขา วิธีการทำธุรกิจของเขา และวิธีที่เหล่าพนักงานทำงานร่วมกัน เพื่อปฏิบัติงาน ในหน้าที่ของตน จากมุมมองของเทคโนโลยีการสร้างระบบและแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์เพื่อให้เกิด การทำงานร่วมกันและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ถือเป็นสิ่งที่สำคัญอันดับแรก ซึ่งเขาจะดำเนินงานต่อไปในปีหน้า”

เพื่อสนับสนุนในการเปลี่ยนแปลงนี้ กระบวนการของ Coinme นั้นได้เปลี่ยนเป็นดิจิทัลและเปิดใช้งานบนคลาวด์เป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่การทำงานระยะไกลทำให้เกิดความท้าทายต่างๆ แต่ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันที่ใช้กันอย่างแแพร่หลาย อาทิ การเชื่อมต่อความ เร็วสูงและเครื่องมือบนคลาวด์ เมื่อมองผลประโยชน์ที่ได้รับนั้นดูเหมือนจะมากกว่าความท้าทาย

ทักษะที่ตรงกับความสำเร็จ

ผู้นำในธุรกิจส่วนใหญ่นั้นมองเห็นช่องว่างทางทักษะของพนักงาน ระหว่างความสามารถในปัจจุบันและทักษะที่สำคัญซึ่งตรงกับความสำเร็จทางธุรกิจในอีก 3 – 5 ปีข้างหน้า อย่างเช่น มีประสบการณ์กับสภาพแวดล้อมระบบคลาวด์ การเรียนรู้ของเครื่อง (ML) วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data science) การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล และนวัตกรรม (Innovation)

ซึ่ง ซูนีท์ ดัว หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี บริษัทไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์ (PwC.) ได้กล่าวว่า “นี่เป็นความท้าทายที่ไม่เหมือนใครสำหรับทุกธุรกิจ เนื่องจากเราต้องทำงานเพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานของเรามีทักษะที่สำคัญซึ่งตรงกับความสำเร็จในอนาคต”

โดยเฉพาะในช่วงเวลา ที่ไม่แน่นอนมีตัวเลือกในการทำงานที่ยืดหยุ่นนั้น ได้เพิ่มความจำเป็นแห่งการนำการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลมาใช้ อีกทั้งต้องค้นหาและรักษาผู้มีความสามารถหลักไว้ อันเนื่องมาจากพนักงานต้องการทักษะทางด้านดิจิทัล เพื่อความเป็นเลิศในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริด

ขณะที่ มาร์ค ชเลซิงเกอร์ เจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคอาวุโสของ Broadridge บริษัทมหาชนและเทคโนโลยีทางด้านการเงิน กล่าวว่า “ปัญหาการขาดแคลนผู้มีความสามารถกำลังตอกย้ำถึงความจำเป็นในการเพิ่มทักษะให้แก่พนักงานในปัจจุบัน”

ด้วยแนวโน้มล่าสุดของอัตราการออกจากงานที่สูงขึ้น สืบเนื่อง มาจากบริษัทส่วนใหญ่นั้นไม่สามารถที่จะจ่ายค่าตอบแทนที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ได้อีกต่อไป ซึ่งผู้นำด้านไอทีจำนวนมากจะยังคงต่อสู้กับการหาพนักงานมาลงในตำแหน่งทางเทคโนโลยีที่สำคัญๆ อันจะนำไปสู่สองแนวทางแห่งการต่อสู้กับความท้าทาย

แนวทางแรกก็คือ จัดหาผู้มีความสามารถจากภายนอกซึ่งมีทักษะที่ตรงกับความสำเร็จอย่างแท้จริง ส่วนแนวทางที่สองมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มทักษะ และการปรับทักษะให้แก่ผู้ปฏิบัติงานชั้นนำด้านไอทีที่มีอยู่ ด้วยสิ่งเหล่านี้ซึ่งจะช่วยลดการจ่ายค่า ตอบแทนและถ้าบริหารจัดการได้อย่างเหมาะสม อาจจะนำไปสู่วิธีในการค้นหาผู้มีความสามารถใหม่ได้

ต่อสู้กับอาชญากรไซเบอร์

ในขณะที่การโจมตีทางไซเบอร์ถูกคาดว่า จะเพิ่มจำนวนและความซับซ้อนในปี ค.ศ.2022  ริบ เมอร์, CIO ของ Epicor บริษัทที่ทำธุรกิจทางด้านซอฟต์แวร์ กล่าวไว้ว่า “เขากำลังมองหาพันธมิตรในการต่อสู้กับภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ ซึ่งในการต่อสู้กับอาชญากรไซเบอร์นั้นถือ เป็นความท้าทาย ด้วยจำเป็นต้องปรับปรุงความสามารถในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ อย่างต่อเนื่องและเข้มงวด”

“เราค้นหาผู้ให้บริการด้านการรักษาความปลอดภัยฯ จากภายนอกเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยเหลือในความพยายามแห่งการต่อสู้กับอาชญากรไซเบอร์ของเรา”

คริส คอนรี, CIO ของ Fuze บริษัทที่ออกแบบแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์สำหรับการสื่อสารบนคลาวด์ ได้มองเห็นความจำเป็นที่ทีมไอทีต้องใช้บริการของพันธมิตรด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งจะ มีหน้าที่คอยติดตามกิจกรรมที่น่าสงสัย และแจ้งเตือนองค์กรเมื่อได้ค้นพบภัยคุกคามต่อทรัพย์สินขององค์กร

“สิ่งนี้ถือว่ามีความสำคัญต่อเครือข่ายภายในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ไม่หวังดี ให้ความสนใจและเน้นเป้าหมายไปที่พนักงานส่วนใหญ่ ซึ่งกำลังทำธุรกิจในแต่ละวันบนอุปกรณ์พกพาภายใต้โมเดลธุรกิจแบบไฮบริด”

ที่สำคัญกลยุทธ์การตรวจสอบเชิงรุกนี้จะช่วยแบ่งเบาภาระให้กับทีมไอทีและทีมรักษาความปลอดภัยฯ ด้วยการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นก่อนที่จะกลายเป็นการละเมิดทางไซเบอร์ (Cyber breaches) อีกทั้งจะช่วยทำลายวงจรที่ต่อเนื่องของช่องว่างทางด้านความปลอดภัย (Security gaps) ภายใต้โมเดลธุรกิจแบบไฮบริด

ส่วน ทอมมี่ การ์ดเนอร์ ผู้บริหารระดับสูงทางด้านเทคนิค บริษัท Hewlett-Packard (HP) ได้กล่าวว่า “แรนซัมแวร์จะยังคง เป็นปัญหาด้านการรักษาความปลอดภัยฯ ที่ใหญ่ที่สุดในปี ค.ศ.2022 องค์กรจำเป็นต้องปรับปรุงการรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์พกพาและเครือข่ายภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อให้องค์กรปลอดภัย”

ทั้ง CIO และผู้นำด้านไอทีต้องเสนอเรื่องดังกล่าวไปที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจภายในองค์กรของตนว่า การลงทุนด้านการรักษาความปลอดภัยฯ นั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งพวกเขาสามารถแสดงให้เห็นได้จากการลงทุนบนระบบอัตโนมัติ ที่ใช้ความสามารถของ AI และ ML สำหรับการตรวจสอบแบบเรียลไทม์นั้น สามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการโจมตีของแรนซัมแวร์ได้อย่างไร

สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ “การให้ความรู้แก่เหล่าผู้มีอำนาจตัดสินใจอันเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่องค์กรจะต้องเผชิญ ถ้าหากการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ไม่ได้ถูกจัดในลำดับที่สำคัญ หรือไม่ได้ถูกปฏิบัติตามกรอบของการบริหารความเสี่ยง”

ข้อคิดที่ฝากไว้

ส่วนที่ยากของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลนั้นไม่ใช่เทคโนโลยี แต่เป็นการเปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน เมื่อต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในวงกว้างทั่วทั้งองค์กร เราควรให้ความสำคัญที่เท่ากันระหว่างความเห็นอกเห็นใจและผลลัพธ์ ซึ่งความสมดุลนี้เป็นสิ่งสำคัญ

ในฐานะองค์กรเราได้สร้างวัฒนธรรมที่เน้นการสนับสนุนพนักงานของเรา เราต้องรับฟังและเปิดใจรับข้อกังวลในความต้องการที่หลากหลาย สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถยกเลิกได้ โดยเรานั้นยังต้องมุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จ

ถือเป็นสิ่งที่ยากที่จะคาดการณ์ว่าการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลจะใช้เวลานานแค่ไหน ดังนั้นผู้บริหารระดับสูง (CIO) จำเป็นต้องให้ความสำคัญทางด้านบุคลากร เพื่อทำให้การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญนั้นเป็นสิ่งที่ง่ายขึ้น…สำหรับองค์กร