Monday, May 6, 2024
ColumnistSansiri Sirisantakupt

มองกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ กับยุทธศาสตร์การเป็นผู้นําทางเทคโนโลยี

DoD

ผู้เขียนหยิบเอาการวางยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยี ไอที ไซเบอร์ และดิจิทัล ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ มาถอดรหัส ซึ่งพบเห็นอะไรบางอย่าง ทั้งการปรับวิธีคิดใหม่ ความร่วมมือระหว่างรัฐกับเอกชน แนวทางการผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรม ที่อาจสามารถใช้เป็นไกด์ไลน์ในการพัฒนาองค์กรของไทยได้

นช่วงเวลาที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาได้สูญเสียความเป็นผู้นําทางเทคโนโลยีให้แก่จีน แม้มีความคิดริเริ่มที่ใหม่ๆ สำหรับการออกแบบทางเทคโนโลยี ที่จะนําไปใช้ในอนาคตของ กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (DoD) แต่สิ่งที่เหนือกว่าฝังอยู่ในความคิดของบุคลากรทางทหารและพลเรือนที่เกี่ยวข้อง ยังคงวนเวียนอยู่กับวิธีการในแบบเดิม (Steady), อย่างสม่ำเสมอ (Consistent) และสามารถคาดเดาได้ (Predictable) ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงวิธีคิดแบบ รูปแบบตามมูลค่า (Value-based model)

ปัจจุบันภูมิทัศน์การแข่งขันของชาติมหาอำนาจได้ขยายตัวและไม่อาจคาดเดา มีความต้องการที่มากขึ้นในการใช้บุคลากรที่ปรับตัวและใช้เทคโนโลยีได้ดีกว่า เพื่อป้องกันฝ่ายตรงข้ามมาคุกคามต่อผลประโยชน์แห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา

บทความโดย: น.อ.สรรสิริ สิริสันตคุปต์ นักวิชาการกองทัพอากาศ เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการรักษาความมั่นคงปลอยภัย ด้านอวกาศและไซเบอร์

DoD จึงได้ก้าวข้ามรูปแบบตามมูลค่า ที่ใช้วิธีการในแบบเดิม หมายถึง การหยุดนิ่ง, อย่างสม่ำเสมอ หมายถึง การทำมาต่อเนี่อง และสามารถคาดเดาได้หมายถึง ไม่สามารถหลบซ่อนการคาดเดา ทำให้ DoD ชนะกลับมาเป็นผู้นําทางเทคโนโลยี โดยใช้แนวทางของ ผู้ชนะ (Champion), ผู้สร้างนวัตกรรม (Innovator) และผู้ดำเนินการ (Implementer)

ตามคำแนะนําของ น.ท.สตีเฟน สคิปเปอร์ แห่ง กองทัพอากาศสหรัฐฯ (USAF) เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติที่สถาบันฮูเวอร์ของสแตนฟอร์ด ในบทความ “How the_DoD can win the great tech race with a new workforce model

โดยบทความมีมุมมองและรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้

จุดเริ่มต้น

ในช่วงปลายปี ค.ศ.2020 คณะกรรมการไซเบอร์สเปซของสหรัฐฯ (U.S. Cyberspace Solarium Commission) ได้ทำรายงาน เพื่อแจ้งพระราชบัญญัติการอนุญาตป้องกันประเทศของปี ค.ศ.2021 (National Defense Authorization Act for 2021) ที่ได้ทำการศึกษาและเสนอคำแนะนําที่มากกว่า 80 ข้อ

จุดหลักของความพยายาม ประกอบด้วยการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและบุคลากรของรัฐบาลให้ทันสมัย พร้อมกับดำเนินการทำงานร่วมกันในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์กับภาคอุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษา โดย_DoD ต้องขยายโครงการบูรณาการบุคลากรทางไซเบอร์กับภาคอุตสาหกรรมเอกชน

ในขณะเดียวกันต้องยกเครื่องแนวทางในการจัดหา, การบูรณาการ และการรักษาบุคลากรที่มีความสามารถ (Key player) ซึ่งช่วยเพิ่มความพร้อมในขอบเขตของโลกไซเบอร์ (Cyber Domain) ที่มีการแข่งขันอย่างมาก ด้วยในเวลาที่ผ่านมาไม่มีตัวแทนของความสามารถในด้านดิจิทัล หรือโครงสร้างขององค์กรที่จำเป็นในการรักษาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในระดับที่ทัดเทียมกับคู่แข่ง โดยเฉพาะในประเทศจีน

เอริค ชมิดท์ อดีตหัวหน้า Alphabet บริษัทแม่ของ Google ชี้ให้เห็นว่า “กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (DoD) ไม่มีปัญหาทางเทคโนโลยี แต่มีปัญหาทางด้านการนําเทคโนโลยีมาใช้ ต่างจากยุคอุตสาหกรรมที่ความคิดและการพัฒนาใหม่ๆ นั้นได้เกิดขึ้นภายในรัฐบาลเป็นหลัก”

“แต่ปัจจุบันความเหนือกว่าของนวัตกรรมได้เริ่มต้นในภาคเอกชน ตอนนี้_DoD ถึงเวลาต้องเห็นด้วยกับแนวทางของผู้ชนะ (Champion), ผู้สร้างนวัตกรรม (Innovator) และผู้ดำเนินการ (Implementer) ขณะเดียวกันต้องขยายความร่วมมืออันมีค่าไปพร้อมกัน”

“สิ่งที่ได้รับจากการสร้างความสัมพันธ์กับภาคอุตสาหกรรมนั้น จะช่วยเพิ่มความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศสหรัฐฯ ต้องก้าวไปข้างหน้าด้วยความสัมพันธ์เหล่านี้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า_DoD ในวันนี้หลีกเลี่ยงการใช้แนวทางปฏิบัติในยุคอุตสาหกรรม เพื่อการแก้ปัญหาของวันพรุ่งนี้”

ผู้ชนะคือ ภาคเอกชน

ผู้ชนะคือ ภาคเอกชนซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนที่มีคุณค่า ในการพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำ สร้างแรงบันดาลใจระดับที่สูงขึ้นของความสำเร็จในการดำเนินงาน และขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา DoD_ประสบความสำเร็จอย่างมากในการสร้างกลุ่มและหน่วยนวัตกรรม

จากการให้สัมภาษณ์ของ ไมเคิล บราวน์ อดีต CEO บริษัท Symantec ได้เน้นย้ำว่า “DoD_ในเวลาที่ผ่านมาประสบความสำเร็จได้ด้วยการจัดวางยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติ และการกระทำต่างๆ ที่ได้มาซึ่งความรู้ อันรวมถึงความสามารถ”

“แม้องค์กรมีจุดแข็งเหล่านี้ แต่ในข้อจำกัดด้านงบประมาณของ DoD_รวมทั้งแนวทางปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้างที่ล้าสมัยนั้น ได้ขัดขวางในการพัฒนาทางนวัตกรรม”

ในมุมมองของ บราวน์ ทำให้เกิดความไม่คล่องตัวของการปรับใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยใน_DoD ซึ่งในหลายๆ กรณีเมื่อถึงเวลาที่มีการระดมทุนก็สายเกินไปที่จะสร้างสรรค์ไปข้างหน้าด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ที่สำคัญคำสั่งในการใช้จ่ายของรัฐบาลและการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างนั้นยาวนานไป

แตกต่างจากหน่วยงานของเอกชนซึ่งไม่ได้มีกฎระเบียบที่เข้มงวดมากเกินไป จึงทำให้พวกเขานั้นสามารถคิดค้น, ปรับขนาด และส่งมอบความสามารถที่สูงกว่าในการแข่งขันทางเทคโนโลยี ซึ่งเหนือกว่าฝ่ายตรงกันข้ามของสหรัฐฯ

ผู้สร้างนวัตกรรมคือ ภาคเอกชนและภาครัฐ

ในช่วง 2 ถึง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาได้สูญเสียฐานรากแห่งนวัตกรรมให้แก่จีน โดยเฉพาะในด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI), การเรียนรู้ของเครื่อง (ML) และเทคโนโลยีอื่นๆ การก้าวขึ้นอย่างชาญฉลาดของบริษัทเทคโนโลยีที่ได้รับทุนสนับสนุน เป็นจุดเริ่มที่รอมานานสำหรับการทดลองและนวัตกรรมของชาวอเมริกัน

ตัวอย่างที่เราได้เห็นคือ SpaceX ในการสนทนาที่ผ่านมากับ พล.อ.อ.จอห์น เรย์มอนด์ อดีตหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการด้านอวกาศ กองกําลังทางอวกาศสหรัฐฯ (U.S. Space Force) เขาได้เน้นย้ำไว้ว่า

“การแบ่งปันแนวคิดใหม่ๆ กับพันธมิตรในด้านอุตสาหกรรมนั้น จะนําไปสู่ความสำเร็จในการดำเนินงานที่รวดเร็ว” โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความสามารถของบริษัท SpaceX ในการผลิตและการยิงดาวเทียม ISR (ดาวเทียมการสื่อสารที่สำคัญสำหรับข้อกำหนดด้านข่าวกรอง, การเฝ้าระวัง และการลาดตระเวนทั้งหมดที่ต้องการ)

ด้วยอัตราที่เร็วขึ้นในแบบทวีคูณ เมื่อนํามาเทียบกับ_DoD ซึ่งภาคเอกชนเป็นตัวอย่างอันทรงพลังที่ทำให้ ภาคอุตสาหกรรมและรัฐบาลสามารถใช้ประโยชน์จากจุดแข็งเหล่านั้นเพื่อเอาชนะจุดอ่อน ซึ่งในขณะเดียวกันก็ได้สร้างผลลัพธ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่

ผู้ดำเนินการคือ ภาครัฐ

เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการที่เป็นมืออาชีพ_DoD ได้ลงทุนในการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมและการศึกษาสำหรับบุคลากรที่ดูแลและติดตามเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย การอาศัยผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรม ก็เพื่อนําโซลูชันชั้นสูงไปใช้ทำให้ได้ชัยชนะในระยะสั้น

อย่างไรก็ตามในอดีตที่ผ่านมา คงเห็นการขาดกลยุทธ์ที่ยั่งยืน ซึ่งขัดขวางความก้าวหน้าในระยะยาวใน ขณะที่เทคโนโลยีนั้นก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว แต่การฝึกอบรมในด้านเทคโนโลยีชั้นนสูงของ DoD ไม่ได้จัดให้มีการศึกษาและฝึกอบรมบุคลากร

ด้วยเหตุนี้_DoD จึงมีทางเลือกกล่าวได้คือ ลงทุนอย่างจริงจังในการพัฒนาผู้มีความสามารถด้านดิจิทัล ให้ประสบความสำเร็จในฐานะผู้ปฏิบัติงานหรือดำเนินงานในสภาพที่เป็นอยู่ โดยใช้ประโยชน์ที่ได้จากความเชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมเพื่อตอบสนองในความต้องการ

ด้วยตัวเลือกนี้ต้องการการลงทุนเป็นสิ่งสำคัญแต่ในระยะยาวนั้น_DoD ได้รับประโยชน์จากการทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการของตนเอง ด้วยทีมงานดิจิทัลที่มีความสามารถผ่านการฝึกอบรมมาแล้ว ซึ่งสามารถติดตามและใช้เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำได้อย่างมั่นใจ

ข้อคิดที่ฝากไว้

การนํารูปแบบผู้ชนะ (Champion), ผู้สร้างนวัตกรรม (Innovator) และผู้ดำเนินการ (Implementer) มาใช้อย่างเป็นทางการ ทำให้กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ นั้นสามารถเปลี่ยนแปลงการแข่งขันให้เป็นผู้ชนะ โดยเฉพาะกับฝ่ายตรงข้ามในการแข่งขันทางเทคโนโลยีที่ไม่หยุดยั้ง

ด้วยความก้าวหน้าที่รวดเร็วของปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการเรียนรู้ ของเครื่อง (ML) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้หันมาทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในด้านอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการสร้างแนวทางการพัฒนาความสามารถของบุคลากร และการเสริมสร้างความคิดริเริ่มด้านนวัตกรรมของรัฐบาลอย่างยั่งยืน

ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นมาจากจิตวิญญาณของการเป็นประเทศที่เข้มแข็ง, สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เหนือกว่า และที่สำคัญเป็นประเทศที่ใช้ความสามารถทุกด้านที่มีอยู่…บนโลกไซเบอร์

อ่านบทความทั้งหมดของ ..สรรสิริ สิริสันตคุปต์

Featued Image: U.S. DepartmentofDefense Photo By: Marine Corps Cpl. Alexander Devereux