Monday, April 29, 2024
FinTechNEWS

เคทีซี เพิ่มโอกาสร้านค้าไทย รับชำระเงินลูกค้าต่างขาติ ด้วยแพลตฟอร์ม อาลีเพย์พลัส

เคทีซี ขยายโอกาสการรับชำระเงินลูกค้าต่างขาติ ร่วมกับ แอนท์ กรุ๊ป เสนอ อาลีเพย์พลัส แพลตฟอร์มการรับชำระข้ามประเทศ รองรับนักท่องเที่ยวจีน มาเลเซีย เกาหลีใต้และฮ่องกง

คทีซี ร่วมกับ แอนท์ กรุ๊ป เปิดตัว อาลีเพย์พลัส (Alipay+) บริการการชำระเงินดิจิทัลระหว่างประเทศบนระบบรับชำระเงินของเคทีซี เพื่อต่อยอดธุรกิจร้านค้าในไทย รองรับการใช้จ่ายจากนักท่องเที่ยวเอเชียที่เดินทางมาประเทศไทย ด้วย 3 พันธมิตรโมบายล์วอลเล็ตใหม่ ได้แก่ อาลีเพย์ ฮ่องกง (AlipayHK) / ทัชแอนด์โก (Touch ‘n Go) และคาเคาเพย์ (KakaoPay)

ตั้งเป้าธุรกิจร้านค้ารับชำระของเคทีซีปีนี้โต 20% พร้อมโชว์เคสความสำเร็จของ คิง เพาเวอร์และเดอะมอลล์ 2 พันธมิตรที่เป็นผู้นำด้านธุรกิจค้าปลีกสินค้าปลอดอากร และผู้นำด้านธุรกิจรีเทล ที่พร้อมให้บริการรับชำระด้วยอาลีเพย์พลัส บนระบบเคทีซีรายแรก

เพิ่มโอกาสร้านค้าไทย ด้วยแพลตฟอร์มชำระเงินอาลีเพย์พลัส
เนาวรัตน์ กีรติเกษมสุข ผู้บริหารสูงสุด สายงานบริหารร้านค้าสมาชิก บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

เนาวรัตน์ กีรติเกษมสุข ผู้บริหารสูงสุด สายงานบริหารร้านค้าสมาชิก บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เคทีซี กล่าวว่า “เคทีซีได้พัฒนาความร่วมมือกับแอนท์ กรุ๊ป ผู้ให้บริการอาลีเพย์ และแพลตฟอร์มชำระเงินดิจิทัล อาลีเพย์พลัส ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการร้านค้าในไทยสามารถรับชำระเงินผ่านโมบายล์วอลเล็ตได้หลากหลาย”

“โดยผู้ประกอบการร้านค้าเคทีซีมีสามารถเชื่อมต่อระบบเพียงครั้งเดียวก็สามารถเข้าถึงผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียได้มากถึง 1 พันล้านคน อีกทั้งยังสะดวก รวดเร็วกว่าการเชื่อมต่อกับโมบายล์วอลเล็ตของแต่ละประเทศแบบหนึ่งต่อหนึ่ง

หากลูกค้ามีโมบายล์วอลเล็ตในระบบนิเวศน์ของอาลีเพย์พลัส เมื่อเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย จะสามารถใช้โมบายล์วอลเล็ตของประเทศตัวเองชำระเงินกับร้านค้าเคทีซีในไทยได้ทันที”

รองรับการใช้จ่ายนักท่องเที่ยวต่างชาติ

“ปัจจุบันร้านค้าสมาชิกเคทีซี สามารถรับชำระค่าสินค้าหรือบริการด้วยคิวอาร์โค้ดของโมบายล์วอลเล็ตที่อยู่ในระบบนิเวศน์ของอาลีเพย์พลัส อาทิ Alipay (สำหรับชาวจีน) ที่เปิดตัวในไทยตั้งแต่ปี 2558 และล่าสุดกับโมบายล์วอลเล็ตใหม่อีก 3 ราย ได้แก่ AlipayHK (เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน) / KakaoPay (เกาหลีใต้) และ Touch ‘n Go eWallet (มาเลเซีย)

โดยทั้ง 4 โมบายล์วอลเล็ต ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวต่างชาติที่นิยมเดินทางมาประเทศไทยมากที่สุด 4 อันดับแรก ได้แก่ นักท่องเที่ยวมาเลเซีย จีน เกาหลีใต้และฮ่องกง รวม 2.9 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาประเทศไทยทั้งหมด 8.6 ล้านคนในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-เมษายน 2566 ข้อมูลจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา)”

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่นิยมเดินทางมาประเทศไทย และใช้โมบายล์วอลเล็ตที่อยู่ในระบบนิเวศน์ของอาลีเพย์พลัส

Country

Arrivals Y2019

(Before COVID)

Arrivals Y2023

(Jan – April)

Alipay + Wallets

(Launched)

China 11 million 0.84 million
Malaysia 4.2 million 1.32 million
South Korea 1.88 million 0.54 million
Hong Kong, SAR 1 million

0.22 million

Total 18+ million

– 3 million

 
  46% of arrivals

(39 million)

1/3 of total arrivals

(8.6 million)

ที่มา: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, มกราคม-เมษายน 2566

นักท่องเที่ยวต่างชาติที่นิยมเดินทางมาประเทศไทยมาก

เคทีซีและแอนท์ กรุ๊ป ทำงานร่วมกันมาตั้งแต่ปี 2558 เริ่มต้นด้วยบริการรับชำระเงินด้วย Alipay (สำหรับชาวจีน) และล่าสุดเราได้ต่อยอดความร่วมมือด้วยอาลีเพย์พลัส ซึ่งจะช่วยให้ร้านค้าเคทีซีสามารถรับชำระเงินดิจิทัลได้หลากหลายยิ่งขึ้น พร้อมความสะดวกและปลอดภัยเป็นสำคัญ

อีกทั้งร้านค้าสมาชิกเคทีซีที่รับชำระด้วยอาลีเพย์พลัส จะได้รับสิทธิประโยชน์ร่วมรายการส่งเสริมการขาย “Alipay+ Scan for offer” โดยลูกค้าโมบายล์วอลเล็ตของ อาลีเพย์พลัสจะได้รับโปรโมชันต่างๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการขายให้กับร้านค้าเช่นกัน โดยครึ่งปีหลังผู้ประกอบการธุรกิจที่รับชำระด้วยอาลีเพย์พลัสของเคทีซี ได้แก่ คิง เพาเวอร์ (King Power) เดอะมอลล์กรุ๊ป (The Mall Group) บู้ทส์ ประเทศไทย (Boots Thailand) และตามด้วยร้านค้าอีกมากมาย”

แพลตฟอร์มที่สร้างโอกาสเข้าถึงลูกค้ากว่าพันล้านราย

สิทธิพงษ์ กิตติประภาพงศ์ ผู้จัดการทั่วไป ด้าน Global Merchant Partnership ประจำประเทศไทย บริษัท แอนท์กรุ๊ป กล่าวว่า “เราได้ร่วมมือกับเคทีซีอย่างต่อเนื่อง และเสริมความแกร่งของการเป็นพันธมิตรในครั้งนี้โดยการนำเอาอาลีเพย์พลัส (Alipay+) เข้าไปใช้กับเครือข่ายร้านค้าของเคทีซี และสนับสนุนการใช้งานดิจิทัลของธุรกิจไทย”

“นักท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียตอนนี้สามารถเพลิดเพลินกับการช้อปปิ้งและวิธีการชำระเงินที่ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นที่ คิง เพาเวอร์ และห้างสรรพสินค้าในเครือเดอะมอลล์กรุ๊ป ด้วยความร่วมมือกับพันธมิตรของเราในประเทศไทย เราจะยังช่วยให้ธุรกิจท้องถิ่นในประเทศเชื่อมต่อกับนักท่องเที่ยวนานาชาติ เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ และพัฒนาประสบการณ์ท่องเที่ยวให้ดีขึ้น”

Image by rawpixel.com on Freepik

อาลีเพย์พลัส (Alipay+) เป็นชุดบริการชำระเงินดิจิทัล และโซลูชันการตลาดระหว่างประเทศที่ออกแบบมาเพื่อเปิดโอกาสให้กับธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับธุรกิจเอสเอ็มอีในการดำเนินการชำระเงินผ่านมือถือได้หลากหลายรูปแบบ ช่วยสนับสนุนธุรกิจให้เข้าถึงผู้บริโภคระดับภูมิภาค และระดับโลกกว่า 1,000 ล้านราย ผ่านการทำงานที่ง่ายและเสร็จสิ้นภายในครั้งเดียว (one-time integration)

อาลีเพย์พลัส ยังนำเสนอ Alipay+ D-store และโซลูชันการตลาดอื่นๆ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการร้านค้าสามารถเข้าถึง และมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคตั้งแต่ก่อนเดินทางตลอดจนสิ้นสุดการเดินทาง ด้วยอาลีเพย์พลัส นักท่องเที่ยวสามารถชำระเงินด้วยโมบายล์วอลเล็ตที่คุ้นเคยในประเทศตนเอง พร้อมอัตราแลกเปลี่ยนที่แข่งขันได้

ขยายฐานร้านค้าและการรับชำระข้ามประเทศให้ครอบคลุมมากขึ้น

เนาวรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในช่วงเดือน 5 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-พฤษภาคม 2566) ธุรกิจร้านค้ารับชำระด้วยบัตรเครดิต และวอลเล็ตอาลีเพย์ของเคทีซี มีปริมาณรับชำระเพิ่มขึ้น 27% คิดเป็นมูลค่ากว่า 4 หมื่นล้านบาท ตามแนวโน้มเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง

และคาดสิ้นปี 2566 ปริมาณยอดรับชำระด้วยบัตรเครดิต / วอลเล็ตอาลีเพย์และอาลีเพย์พลัสของเคทีซีจะเติบโตได้ 20% ตามเป้าหมาย โดยจะมุ่งขยายฐานร้านค้าทั้งการรับชำระด้วยบัตรเครดิต อาลีเพย์ และอาลีเพย์พลัส เพื่อตอบโจทย์การรับชำระข้ามประเทศให้ครอบคลุมมากขึ้น ทั้งในกรุงเทพฯ และพื้นที่เป้าหมายของนักท่องเที่ยว เช่น เชียงใหม่ พัทยา ชลบุรี ภูเก็ตและหาดใหญ่ เป็นต้น

ด้วยจุดเด่นของบริการรับชำระเงินเคทีซีที่ปลอดภัย สะดวก และที่สำคัญคือร้านค้าสมาชิกเคทีซีจะได้รับเงินในวันถัดไป (T+1) พร้อมบริการดูแลร้านค้าทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง (24×7)

นอกจากนี้เคทีซีให้ความมั่นใจในการดูแลความปลอดภัยของข้อมูลร้านค้าและผู้เกี่ยวข้อง ด้วยมาตราฐานการจัดการความปลอดภัยของข้อมูล ISO/IEC 27001: 2013 และมาตรฐานการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล ISO/IEC 27701: 2019 อีกด้วย”