Friday, September 20, 2024
ArticlesSpecial ReportTechnology

คาดการณ์เทรนด์ ที่จะพลิกโฉมองค์กรไอทีในอีก 5 ปี

การ์ทเนอร์ คาดการณ์เทรนด์ ที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรไอทีรวมถึงผู้ใช้ในปีนี้และอนาคตภายในปี 2570 ธุรกิจต้องยกเลิกรูปแบบเดิมๆ ตั้งแต่ทักษะการทำงานไปจนถึงโมดูลทางธุรกิจ และมองโอกาสและความเสี่ยงที่ต้องมีการตระหนักถึงความเร่งด่วนมากกว่าที่เคย

ดริล พลัมเมอร์ รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ ได้คาดการณ์แนวโน้ม 10 ประการที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรไอทีรวมถึงผู้ใช้ในปีนี้และอนาคตภายในปี 2570 หรือในอีก 5  ข้างหน้า

โดยกล่าวว่า “บทเรียนที่ได้รับจากการระบาดคราวนี้คือความคาดการณ์สิ่งที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน และเตรียมพร้อมเดินหน้าด้วยการใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายไปพร้อมๆ กัน ผู้นำที่มอบทางเลือกให้กับทีมงานเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรและวางแผนรับมือการเปลี่ยนแปลงได้ทันท่วงที มีความยืดหยุ่นสูงจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“ความยืดหยุ่น โอกาสและความเสี่ยง ล้วนเป็นองค์ประกอบของการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ดี เพียงแต่เวลานี้ปัญหาเหล่านี้ต้องมีการตีความใหม่ ดังนั้นการคาดการณ์ในปีนี้จึงสะท้อนให้เห็นถึงวิธีการสร้างความยืดหยุ่นด้วยวิธีที่ไม่ใช่รูปแบบเดิมๆ ตั้งแต่ทักษะการทำงานไปจนถึงโมดูลทางธุรกิจ ขณะที่ต้องมองโอกาสและความเสี่ยงที่ต้องมีการตระหนักถึงความเร่งด่วนมากกว่าที่เคยเป็น”

1. ธุรกิจสร้างรายได้จากข้อมูลลูกค้าได้ยากขึ้น

ผู้บริโภคตระหนักมากขึ้นว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทต่างๆ ได้จากพวกเขามีมูลค่ามหาศาล รวมถึงพลังของข้อมูลเมื่อใช้อัลกอริธึมการแนะนำต่างๆ เพื่อให้สอดรับกับพฤติกรรม

โดยที่ผู้บริโภคส่วนหนึ่งกำลังหาวิธีป้องกันการติดตามข้อมูลและพฤติกรรมส่วนตัวเพื่อเป็นการตอบโต้ อาทิ การให้ข้อมูลที่ไม่จริงหรือคลิกโฆษณาที่ไม่ได้สนใจจริงๆ และยังมีอีกหลายวิธีด้วยกัน

“การล่อหลอกอัลกอริธึมเพื่อเลี่ยงการติดตามพฤติกรรมและการสร้างความสับสนบนฐานข้อมูล ผู้บริโภคกำลังท้าทายคำกล่าวที่ว่า หากคุณไม่ใช่ลูกค้า คุณคือผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าผู้บริโภคจะถูกกระตุ้นจากความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวหรือความปลอดภัย

หรือการให้ข้อมูลผิดๆ หรือต้องการได้เงินผลตอบแทน ผู้บริโภคต่างหมายมั่นปั้นมือลดคุณค่าของข้อมูลเชิงพฤติกรรมของพวกเขาที่บริษัทต่างๆ ต้องพึ่งพา”

ภายในปี พ.ศ. 2567 ผู้บริโภคราว 40% จะมีพฤติกรรมใหม่ ที่ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเขาที่ถูกติดตามหรือรวบรวมไว้ลดบทบาทลง ซึ่งทำให้ธุรกิจสร้างรายได้จากข้อมูลเหล่านั้นได้ยากขึ้น” พลัมเมอร์ กล่าวเพิ่มเติม

2. ทีมในองค์กรถึง 30% จะทำงานกันได้โดยไม่ต้องมีหัวหน้างาน

การระบาดใหญ่ทำให้รูปแบบการทำงานที่มีความคล่องตัวได้ฝังตัวไปในการดำเนินธุรกิจและยังปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจไปสู่คุณค่าที่แท้จริง รวมถึงเปลี่ยนบทบาทการตัดสินใจจากศูนย์กลางมาเป็นแบบเพียร์ทูเพียร์ ช่วยลดปัญหาคอขวดและประหยัดเวลาท่ามกลางสภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริด

ขณะที่การทำงานแบบสลับเข้าออฟฟิศและทำงานจากที่บ้านยังดำเนินต่อไป นั่นส่งผลให้บทบาทของผู้จัดการในแบบเดิมๆ ถูกถอดออกไปซึ่งสามารถเป็นแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพในทางปฏิบัติงานได้ยิ่งขึ้น

โดย ภายในปี พ.ศ. 2567 ทีมในองค์กรถึง 30% จะทำงานกันได้โดยไม่ต้องมีหัวหน้างาน อันเป็นผลจากการเรียนรู้และกำกับการทำงานด้วยตัวเอง รวมถึงความคุ้นเคยกับธรรมชาติของการทำงานแบบไฮบริด

“บทบาทผู้จัดการในฐานะผู้บังคับบัญชาและผู้ควบคุมงานเป็นอุปสรรคสำคัญในยุคที่ธุรกิจเน้นความคล่องตัวที่ต้องการความเป็นอิสระและการทำงานเป็นทีม เช่น ร่วมวางแผน จัดลำดับความสำคัญของงาน และการทำงานอย่างมีระบบยังต้องมีอยู่

แต่จำเป็นต้องแยก การจัดการ ออกจากบทบาท ผู้จัดการ เพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากความคล่องตัวและการทำงานแบบไฮบริดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ” พลัมเมอร์ กล่าว

3. ข้อมูลสังเคราะห์ (Synthetic Data) จะลดการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล

ข้อมูลที่สร้างโดยใช้เทคนิคปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือที่เรียกว่าข้อมูลสังเคราะห์ (Synthetic Data) กำลังมีบทบาทเพิ่มขึ้น โดยข้อมูลสังเคราะห์สามารถทำหน้าที่เป็นตัวแทนข้อมูลจริง ทำให้ลดการรวบรวม ใช้ หรือแบ่งปันข้อมูลที่มีความอ่อนไหวลง

สิ่งนี้มีความสำคัญสอดคล้องกับกฎระเบียบด้านความเป็นส่วนตัวที่มีความสมบูรณ์และมีความเฉพาะในระดับภูมิภาคได้กดดันให้องค์กรหันมาลดความเสี่ยงของการละเมิดความเป็นส่วนตัวและรับรองความยืดหยุ่น

“ข้อมูลสังเคราะห์ทำให้ AI เป็นคำทำนายที่แท้จริงที่มันสามารถแสดงถึงตัวเลือกความเป็นจริงอื่นๆ ในอนาคต ไม่ใช่ในการสะท้อนภาพของอดีตจากข้อมูลจริง

โดยการใช้ข้อมูลสังเคราะห์ที่มีคุณภาพสูงและในปริมาณมากๆ เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพเพื่อทำความเข้าใจมนุษย์ในวงกว้าง”

โดย ภายในปี พ.ศ. 2568 ข้อมูลสังเคราะห์ จะลดการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า เพื่อเลี่ยงการถูกคว่ำบาตรจากการละเมิดความเป็นส่วนตัว (70%) พลัมเมอร์ กล่าว

4. การโจมตีทางไซเบอร์จะสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวง

ในอดีตประเทศต่างๆ มองว่าการโจมตีทางไซเบอร์นั้นเป็นอาชญากรรม ไม่ใช่การทำสงคราม อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความสูญเสียที่เกิดจากการ โจมตีขนาดใหญ่ เมื่อเร็วๆ นี้ พุ่งเป้าไปที่โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้นรัฐบาลบางประเทศกำลังเตรียมการรับมือสงครามไซเบอร์ผ่านหน่วยป้องกันทางไซเบอร์เฉพาะกิจ

อีกไม่นานนี้ องค์กรธุรกิจจะต้องรับผิดชอบหลักในด้านการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตามองค์กรเหล่านี้ยังไม่เคยเป็นด่านแรกที่ต่อต้านการทำสงครามนี้ ดังนั้นการโจมตีที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จะกระตุ้นให้กองทัพเข้ามามีส่วนรับมือ เพื่อขัดขวางการพุ่งเป้าหมายโจมตีไปที่โครงสร้างพื้นฐานสำคัญ

สิ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้นภายในปี พ.ศ. 2567 คือ การโจมตีทางไซเบอร์จะสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อโครงสร้างพื้นฐาน ขณะที่กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก หรือ G20 จะร่วมรับมือการโจมตีที่ก่อความเสียหายทางกายภาพ

5. การออกแบบธุรกิจในแบบแยกส่วน จะเป็นตัวเร่งประสิทธิภาพทางธุรกิจ

“ตลาดที่ปั่นป่วนอยู่แล้วจะยังอยู่รอดจาก COVID-19 โดยในช่วงของการพยายามกลับสู่เสถียรภาพเดิมนั้นองค์กรจะยังไม่มีการเติบโตและอยู่ในระยะของ การเริ่มใหม่ แต่มีสถานะดีกว่าในช่วงการหยุดชะงักรอบปัจจุบัน” พลัมเมอร์ กล่าว

ผู้บริหารไอทีกำลังเปลี่ยนวิธีคิด มองความผันผวนคือโอกาส การทำธุรกิจแบบแยกส่วน หรือการออกแบบโมดูลใหม่กับสินทรัพย์ลดการพึ่งพาซึ่งกันและกันจะช่วยให้สามารถจัดองค์ประกอบใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ง่ายดาย และมีความปลอดภัย

และยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับคลังเครื่องไม้เครื่องมือขององค์กรที่ช่วยให้ผู้บริหารไอทีสามารถควบคุมความเสี่ยงเพื่อเร่งกระบวนการเปลี่ยนแปลงได้

ภายในปี พ.ศ. 2567 ผู้บริหารไอที 80% จะเผยให้เห็นการออกแบบธุรกิจในแบบแยกส่วนเป็นโมดูล ผ่านหลักการออกแบบระบบที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบ เป็นหนึ่งในเหตุผลหลัก 5 ประการ เพื่อเร่งประสิทธิภาพทางธุรกิจ

6. บริษัทต่าง จะเลิกให้ความสำคัญ กับกลุ่มลูกค้าที่ไม่เหมาะกับธุรกิจ

องค์กรมักลบลูกค้าที่ไม่เข้ากับผลิตภัณฑ์และบริการของธุรกิจออกไปจากกระบวนการขาย ซึ่งมีธุรกิจไม่กี่รายเท่านั้นที่บอกลาลูกค้าทันทีหลังจากที่พวกเขาซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการแล้ว

ทั้งนี้การรักษาลูกค้าที่ไม่เหมาะกับธุรกิจมีค่าใช้จ่ายสูง ทั้งในแง่ของเวลาที่ใช้เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า

เช่นเดียวกับต้นทุนค่าเสียโอกาส ความเสื่อมสภาพของแบรนด์ และการสูญเสียผลกำไรระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นได้

โดย ในปี พ.ศ. 2568 สามในสี่ของบริษัทต่าง จะเลิกให้ความสำคัญ กับกลุ่มลูกค้าที่ไม่เหมาะกับธุรกิจ เนื่องจากต้นทุนการรักษาฐานลูกค้ากลุ่มนี้ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้ลูกค้าที่เหมาะสมกับธุรกิจ

7. แอฟริกา กลายเป็นศูนย์กลางนวัตกรรม

เงินทุนที่ถาโถมสู่แอฟริกาทำให้หลายประเทศในภูมิภาคนี้กลายเป็น ศูนย์กลางนวัตกรรม และหวังว่าจะขยายความร่วมมือไปยังบริษัทขนาดใหญ่และสตาร์ทอัพอื่นๆ ได้มากขึ้น เพื่อดึงคนที่มีความสามารถและเม็ดเงินการลงทุนจากต่างประเทศ

ตัวอย่างเช่น ความรุ่งเรืองทางเทคโนโลยีของประเทศเคนยาได้ชื่อว่าเป็น Silicon Savannah ของแอฟริกาตะวันออก ด้วยระบบนิเวศทางเทคโนโลยีที่มีมูลค่าถึง 1 พันล้านดอลลาร์ ที่เป็นแรงดึงดูดสำคัญให้กับผู้ประกอบการ นักลงทุน และนักพัฒนาเทคโนโลยี

ในปี พ.ศ. 2569 จะมีนักพัฒนาที่มีความสามารถทั่วทั้งแอฟริกาเพิ่มมากขึ้นถึง 30% โดยพวกเขาจะสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและกลายเป็นระบบนิเวศของธุรกิจสตาร์ทอัพของโลก และแข่งกับเอเชียเพื่อชิงการเติบโตของกองทุนจากนักลงทุน

อีกสามปีข้างหน้าภูมิภาคนี้จะมีนักพัฒนามืออาชีพเกือบ 900,000 คนทั่วแอฟริกา ผ่านช่องทางการศึกษานอกระบบที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ตลาดนี้เติบโตอย่างต่อเนื่อง นักลงทุนทั่วโลกจะลดการลงทุนในจีนเพื่อหันมาสนับสนุนตลาดเกิดใหม่นี้

8. สินทรัพย์ดิจิทัล จะขับเคลื่อนองค์กรให้เป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูง

สินทรัพย์ดิจิทัล (NFTs) กำลังกลายเป็นวิธีการสร้างโมเดลธุรกิจให้เติบโตอย่างทวีคูณ โดยใช้ประโยชน์จากการระดมทุนในแบบไฮเปอร์โทเคนไนซ์ (hyper-tokenization) ซึ่งคุณค่าของ NFT ได้รับการสนับสนุนจากการที่ผู้ซื้อยินดีจ่ายเงินมากขึ้นสำหรับผลงานศิลปะและสิ่งประดิษฐ์ดิจิทัล เนื่องจากพวกเขาอยู่ในเครือข่ายของผู้คนที่มีความสนใจและเข้าใจถึงคุณค่าแบบเดียวกัน

โดย ในปี พ.ศ. 2569 สินทรัพย์ดิจิทัล Non-Fungible Token (NFT) ที่ใช้กลยุทธ์ Gamification จะขับเคลื่อนองค์กรให้เป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงสุด 10 อันดับแรก

ภายในปี พ.ศ. 2567 การ์ทเนอร์คาดว่า 50% ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จะมีสินทรัพย์ดิจิทัล (NFT) ที่สนับสนุนแบรนด์และ/หรือระบบนิเวศดิจิทัลของตน

ซึ่ง NFTs จะกลายเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ทรงพลังเพื่อใช้เสริมศักยภาพให้แก่ระบบนิเวศดิจิทัลและประเมินมูลค่าขององค์กรได้รวดเร็วขึ้น

9. ดาวเทียมวงโคจรต่ำ ช่วยให้คนหลุดพ้นจากความยากจน

การใช้การเชื่อมต่อผ่านดาวเทียมแบบ Backhaul ช่วยลดต้นทุนการติดตั้งและการดำเนินงานในการปรับใช้สถานีฐานเครือข่ายมือถือได้อย่างมาก ดาวเทียมยังสามารถส่งสัญญาณผ่านการเชื่อมต่อเกาะต่างๆ ตามที่ตั้งของลูกค้า

โดยการแนะนำของกลุ่มดาวเทียม LEO (วงโคจรรอบโลกต่ำ) จะทำให้การขยายเครือข่ายสัญญาณมีความครอบคลุมไปยังพื้นที่ที่มีประชากรเบาบาง ประหยัดขึ้น

โดย ภายในปี พ.ศ. 2570 ดาวเทียมวงโคจรต่ำจะขยายความครอบคลุมของสัญญาณอินเทอร์เน็ตไปยังประชากรที่ยากจนที่สุดในโลกอีกพันล้านคน ช่วยให้ 50% ของคนเหล่านี้หลุดพ้นจากความยากจน

“การเชื่อมต่อมีส่วนร่วมสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมืองในระบบนิเวศที่เปิดกว้างขึ้น ซึ่งการเพิ่มประชากรเน็ต ใหม่ๆ อีกหลายพันล้านคนจะสร้างผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่ออินเทอร์เน็ตในแง่ของวัฒนธรรมและเนื้อหา” พลัมเมอร์ กล่าว

10. หนึ่งในสี่ของบริษัท Fortune 20 จะถูกแทนที่
แดริล พลัมเมอร์ รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์

“ผู้บริหารส่วนใหญ่ยอมรับว่า ทุกองค์กรเป็นบริษัทเทคโนโลยี บริษัทที่จะก้าวเป็นผู้ชนะเหนือคู่แข่งในทศวรรษหน้าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการทำงานของระบบสมองและการตอบสนองของระบบประสาท

โดยใช้เทคโนโลยีที่มีความอัจฉริยะมาวิเคราะห์ ทำความเข้าใจ และเรียนรู้พฤติกรรมโน้มน้าวของมนุษย์”

“ซึ่ง ภายในปี พ.ศ. 2570 หนึ่งในสี่ของบริษัทที่ติดอันดับ Fortune 20 จะถูกแทนที่โดยบริษัทด้านการตอบสนองของระบบประสาทและผู้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของจิตใต้สำนึกวงกว้าง” พลัมเมอร์ กล่าวสรุป