Friday, April 26, 2024
ArticlesColumnistSansiri Sirisantakupt

ปี 2021 5G พร้อมให้บริการ ณ ฐานทัพอากาศเนลลิส

การพัฒนาฐานทัพอากาศสหรัฐฯ ที่มีการเชื่อมต่อด้วยเครือข่ายไร้สาย 5G เชิงพาณิชย์ ถือเป็นการนำไปสู่การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอย่าง ความจริงเสมือน (VR) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และระบบคลาวด์ (Cloud) เป็นที่มาของการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานทางทหารของกองทัพอากาศอย่างชัดเจน

องทัพอากาศสหรัฐฯ ได้ก้าวไปข้างหน้า ในฐานะผู้ริเริ่มการใช้เทคโนโลยี 5G เชิงพาณิชย์เพื่อการปฏิบัติงานทางทหารโครงการแรกเกิดในปี ค.ศ.2020 โดยได้ร่วมมือกับบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สาย 5G เชิงพาณิชย์ (Verizon) เพื่อติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายไร้สาย_5G ให้ครอบคลุมพื้นที่ในฐานทัพอากาศ 10 แห่ง ทางตะวันออกของประเทศ

ตามมาด้วยโครงการที่สองของกองทัพอากาศสหรัฐฯ สำหรับการติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายไร้สาย_5G ในฐานทัพอากาศที่เริ่มจากแคลิฟอร์เนีย ไปจนถึงนอร์ทดาโคต้า ซึ่งฐานทัพอากาศเนลลิส รัฐเนวาดา (Nellis AFB, Nevada) เป็น 1 ใน 5 ฐานทัพอากาศตามโครงการที่ปรับแนวทางการปฏิบัติงานทางทหารให้ทันสมัยได้มากขึ้น

ทั้งนี้ก็เพื่อวัตถุประสงค์หลายประการ อาทิ รองรับในการให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆที่ได้เข้ามาปฏิบัติงานด้วยการนำเครือข่ายไร้สาย_5G ที่ได้รับการพัฒนาจากบริษัท AT&T ผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สาย_5G เชิงพาณิชย์รายใหญ่อีกรายหนึ่ง ซึ่งมีกำหนดการส่งมอบภายในปี ค.ศ.2021

โดยบทความในฉบับมีมุมมองและรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้
5G ปรับแนวทางการปฏิบัติงานใน NELLIS AFB
ผู้เขียน: น.อ.สรรสิริ สิริสันตคุปต์ นักวิชาการกองทัพอากาศ กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทหารอากาศ เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ด้านอวกาศและไซเบอร์

AT&T ตั้งใจให้ Nellis นั้นเป็นฐานทัพอากาศแห่งอนาคต ด้วยโครงสร้างพื้นฐาน_5G เพื่อรองรับข้อมูลไร้สายและให้บริการเสียงเชื่อมต่อกับผู้คนที่อยู่ในฐานทัพอากาศฯ ในจำนวน ที่มากกกว่า 4 หมื่นคนประกอบด้วยบุคลากร ครอบครัวของพวกเขา และผู้ที่เกษียณอายุ

บริษัท AT&T ได้กล่าวไว้ว่า “5G_ที่ถูกติดตั้งสามารถเชื่อมต่อได้ทั้งภายในและภายนอกอาคารแบบไร้สายความเร็วสูง อย่างเช่น โดยรอบพื้นที่การบิน (Flight Line) สิ่งอำนวยความสะดวก อาคารหอพัก และศูนย์การแพทย์ทางทหาร Mike O’Callaghan”

ซึ่งไมค์ เลฟฟ์ รองประธานฝ่ายการป้องกันภาครัฐทั่วโลก AT&T ได้แจ้งว่า การส่งมอบนั้นมีกำหนดภายในปี ค.ศ.2021

AT&T ยักษ์ใหญ่ในด้านโทรคมนาคมนั้นเป็นผู้ที่นำความสามารถบนเครือข่าย 5G ไปสู่ฐานทัพอากาศทินดอล รัฐฟลอริดา (Tyndall AFB, Florida) ในปี ค.ศ.2020 จุดเด่นก็คือ เป็นการใช้งาน_5G ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งใช้บนคลื่นความถี่ต่ำกว่า 6 กิกกะเฮิรตซ์ (Sub-6) ตามคำแนะนำคณะกรรมการนวัตกรรมด้านการป้องกัน (Defense Innovation Board: DIB) อันเป็นย่านความถี่ที่ควบคุมโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ

ทำให้บุคลากรในฐานทัพอากาศสหรัฐฯ นั้นสามารถเชื่อมต่อ และรับ-ส่งข้อมูลได้อย่างปลอดภัยในอัตราที่สูงถึง 10 Gbps ซึ่งก็เหมาะสำหรับ NellisAFB ด้วยเป็นฐานทัพอากาศที่มีหลากหลายหน่วยงานได้เข้าไปขอใช้บริการ ประกอบด้วย ฝูงบินผาดแผลงธันเดอร์เบิร์ด (Thunderbirds)

ไปจนถึงการฝึกของฝูงบินต่างๆ ของกองทัพอากาศสหรัฐฯศูนย์การสงครามทางอากาศโรงเรียนการใช้อาวุธทางอากาศพื้นที่ทดสอบและฝึกใช้อาวุธ (Area51) กลุ่มการทดสอบและประเมินผล และอื่นๆ ที่สำคัญเป็นพื้นที่หลักของการฝึกร่วมผสมทางอากาศอย่าง Red Flag

หลังจาการส่งมอบนั้น AT&T ให้มองภาพว่า_5G จะตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ดียิ่งขึ้นเพิ่มความพร้อมและยังรองรับในการปฏิบัติงานทางทหารด้วยอุปกรณ์พกพาหรืออุปกรณ์สวมใส่ซึ่งสามารถช่วยให้ฐานทัพอากาศ Nellis ปรับแนวทางการปฏิบัติงานทางทหารให้ทันสมัยได้มากขึ้น

จะเห็นได้_5G ที่เร็วขึ้นและมีการหน่วงสัญญาณหรือ (Latency) ที่ต่ำมากสามารถช่วยให้การทำงานภายในและโดยรอบพื้นที่การบิน (Flight LineOperations) ของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่การบิน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ด้านการซ่อมบำรุงนั้น

สามารถใช้ข้อมูลบนแท็บเล็ตที่มีความปลอดภัยภายใต้สภาพแวดล้อม_5G ที่ปลอดภัยแบบ Real Time เพื่อตรวจดูแผนการบินการใช้ชิ้นส่วนของอะไหล่สามารถตรวจดูแผนการบำรุงรักษาเครื่องบินและอื่นๆผ่านการเชื่อมโยงบนเครือข่ายไร้สาย_5G ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อีกทั้ง_5G ยังทำให้อุปกรณ์ VR (ความจริงเสมือน) ที่เชื่อมต่อกับระบบคลาวด์ ด้วย Latency ที่ต่ำมาก จนทำให้การควบคุมและสั่งการของการฝึกจำลองเป็นไปในแบบ Real Time ทำให้การฝึกมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นและมีต้นทุนที่ต่ำลง (Pilot Training Next: PTN)

ในส่วนของศูนย์การแพทย์ทางทหาร Mike O’Callaghan_5G จะยกระดับการแพทย์ของศูนย์การแพทย์ฯ ในรูปแบบของการรักษาทางไกล (Telehealth) อาทิ การผ่าตัดข้ามรัฐ จะเชื่อมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับผู้ป่วยแม้จะอยู่กันคนละสถานที่ ผลทำให้คุณภาพชีวิตของบุคลากรครอบครัวของพวกเขาและผู้ที่เกษียณอายุนั้นดีขึ้น

ซึ่งการพัฒนาฐานทัพอากาศสหรัฐฯ ที่มีการเชื่อมต่อด้วยเครือข่ายไร้สาย_5G เชิงพาณิชย์ ในมุมมองถือเป็นการนำไปสู่การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอย่าง ความจริงเสมือน (VR) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และระบบคลาวด์ (Cloud) ผ่านอุปกรณ์พกพาหรืออุปกรณ์สวมใส่อันเป็นที่มาของการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานทางทหารของกองทัพอากาศสหรัฐฯ

ข้อคิดที่ฝากไว้
เหตุผลที่กองทัพอากาศสหรัฐฯ ใช้_5G บนคลื่นความถี่ต่ำกว่า 6 กิกกะเฮิรตซ์ (Sub-6) ซึ่งนำไปติดตั้งในฐานทัพอากาศด้วยสัญญาณสามารถแพร่กระจายได้ดีในระยะทางไกลและให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าโดยหยุดให้ความสนใจไปที่_5G บนแถบคลื่นมิลลิเมตร (30-300 กิกกะเฮิรตซ์) ที่มีข้อจำกัด

ประกอบกับเลือกใช้เครือข่ายไร้สาย_5G เชิงพาณิชย์ที่มีการพัฒนามาก สุดมาใช้ในทางทหารทั้งนี้ก็เพื่อช่วยให้การนำ 5G_มาใช้นั้นสามารถดำเนินงานได้เร็วขึ้นนั่นเอง