Friday, April 19, 2024
NEWSTechnology

ESRI เสนอนวัตกรรมดิจิทัล บริหารงานท้องถิ่นแก้ไขฉับไว ด้วยเทคโนโลยี GIS

ESRI เสนอนวัตกรรมดิจิทัล บริหารจัดการเมืองระดับท้องถิ่น ยกระดับการบูรณาการฐานข้อมูลสู่ Smart City ตัวช่วยวิเคราะห์ข้อมูล พร้อมประมวลผลผ่าน Dashboard ยกระดับการวางแผนการบริหารงาน

Esri ผู้นำด้าน Location Intelligence การวิเคราะห์ภูมิสารสนเทศในมุมมองใหม่ ด้วยความเชี่ยวชาญในการพัฒนา ArcGIS ซอฟต์แวร์ชั้นนำระดับโลก เสนอนวัตกรรมบริหารจัดการเมืองระดับท้องถิ่น ยกระดับการบูรณาการฐานข้อมูลสู่ Smart City ตัวช่วยวิเคราะห์ข้อมูล พร้อมประมวลผลผ่าน Dashboard ยกระดับการวางแผนการบริหารงาน ทั้งแบบองค์รวม และเฉพาะหน่วยงานย่อยต่างๆ ผ่านแอปพลิเคชันแบบ Low-code No -code เสนอข้อมูลรอบด้านสำหรับผู้บริหารเพื่อการตัดสินใจเพื่อการแก้ปัญหาอย่างตรงจุด ให้บริการดูแลประชาชนอย่างเต็มประสิทธิภาพ

ธนพร ฐิติสวัสดิ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด

ธนพร ฐิติสวัสดิ์ ประธานบริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในปัจจุบันประเทศไทยกำหนดให้การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เป็นวาระแห่งชาติ ทำให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นเร่งเดินหน้านำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในกระบวนดำเนินงานจริงอย่างหลากหลายมากขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพการให้บริการ รวมไปถึงพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ซึ่งนวัตกรรมเทคโนโลยีถือเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นมีเครื่องมือและมีความพร้อมในการพัฒนาและแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และสร้างประโยชน์ด้านการบริการประชาชนในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง ตอบโจทย์เป้าหมายหลักของหน่วยงานส่วนท้องถิ่นที่มีบทบาทในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชากร สู่ความเป็นเมืองน่าอยู่และยั่งยืน

เพื่อเป็นการยกระดับการบริหารจัดการเมืองระดับท้องถิ่นให้กลายเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) Esri จึงได้พัฒนานวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะ (Smart City Solution For Local Government)

โดยอาศัยเทคโนโลยีหลักอย่างเทคโนโลยี GIS หรือ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ มาเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยบูรณาการฐานข้อมูลได้อย่างเป็นระบบในรูปแบบของ Smart City Data Platform แพลตฟอร์มศูนย์กลางข้อมูลที่บูรณาการข้อมูลต่างๆ ภายในเมืองมาไว้ในที่เดียวผ่านการแสดงผลในรูปแบบแผนที่ดิจิทัล ทำให้เห็นภาพรวมของเมืองในทุกด้าน ช่วยในการวางแผนและแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดและเป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับภาคประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อฐานข้อมูลเข้ากับหน่วยงานภายในท้องถิ่น เพื่อบริหารจัดการงานเฉพาะด้าน เสริมประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้น

โดยแพลตฟอร์มศูนย์กลางข้อมูลนี้ ช่วยในการบูรณาการข้อมูลเมืองต่างๆ มาไว้ในที่เดียว อาทิ ด้านความปลอดภัย ด้านการท่องเที่ยว ด้านสาธารณสุข เป็นต้น ทำให้ผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่สามาถมองเห็นภาพรวมของเมืองทั้งหมดได้ ช่วยในการวางแผนบริหารจัดการ ติดตามการเปลี่ยนแปลงของเมือง และรับมือกับเหตุการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ในการรับมือกับเหตุการณ์น้ำท่วม ซึ่งแพลตฟอร์มนี้สามารถช่วยติดตามและจำลองสถานการณ์น้ำท่วมในแต่ละพื้นที่ได้ โดยการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อคาดการณ์ผลกระทบเบื้องต้น นำไปสู่การวางแผน เผยแพร่แผนการรับมือสู่ทุกหน่วยงาน เตรียมความพร้อมการให้บริการสาธารณูปการ และแจ้งเตือนภัยแก่ประชาชนในพื้นทีได้อย่างทันท่วงที

นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อฐานข้อมูลหลักเข้ากับหน่วยงานในท้องถิ่น โดยการนำฐานข้อมูลที่มีอยู่มาสร้างเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันเพื่อการบริหารจัดการงานเฉพาะด้านของหน่วยงานภายในท้องถิ่น (Smart Operation Workflow) ได้อย่างง่ายๆ โดยไม่ต้องมีทักษะการเขียนโปรแกรม (Low-code No-code) ตอบโจทย์กระบวนการทำงานที่หลากหลายของหน่วยงานและหลายระดับงานตั้งแต่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานภาคสนามไปจนถึงผู้บริหาร สามารถเข้าถึงและเห็นภาพรวมข้อมูลภายในหน่วยงานร่วมกันได้ ช่วยลดความซับซ้อน สนับสนุนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การให้บริการประชาชนได้ดียิ่งขึ้น

โดยสามารถประยุกต์ใช้กับงานในด้านต่างๆ อาทิ งานจัดการสำรวจแผนที่ภาษีสำหรับกองคลัง โดยสามารถสร้างแอปพลิเคชันในการสำรวจ  จัดเก็บข้อมูล เพื่อการคำนวณภาษี และนำมาแสดงผลเป็นข้อมูลแผนที่ภาษีผ่านแดชบอร์ด ช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถดูสรุปผลและติดตามสถานะการชำระภาษีได้อย่างง่ายๆ หรืองานติดตามสถานะสาธารณูปโภคสำหรับกองช่าง สามารถใช้แอปพลิเคชันในการเก็บข้อมูลสินทรัพย์ของหน่วยงาน  อัพเดตสถานะงานผ่านสมาร์ทโฟน และสามารถติดตามสถานะหรือตรวจสอบงานซ่อมบำรุงสาธารณูปโภคได้แบบเรียลไทม์ รวมไปถึงการมอบหมายงานให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ทันที ทำให้การทำงานมีความเป็นระบบ และราบรื่นมากยิ่งขึ้น  นอกจากนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานด้านต่างๆ เช่น กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ กองสวัสดิการและสังคม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม กองการศึกษา เป็นต้น

“ด้วยศักยภาพของเทคโนโลยี GIS และประสิทธิภาพของการใช้งานในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงแผนที่ สู่การพัฒนาประยุกต์การจัดการฐานข้อมูล บูรณาการแบบองค์รวม ให้บริหารเมืองระดับท้องถิ่นยุคดิจิทัล ยกระดับทรานส์ฟอร์มสู่การเป็น Smart City และ Esri เชื่อว่า Location Intelligence ยังเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญที่สามารถสร้างความแตกต่างในการบริหารจัดการเมือง และยกระดับสู่ Smart city อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมบริการและให้การดูแลประชาชนเต็มประสิทธิภาพสูงสุด ”ธนพรกล่าวทิ้งท้าย