Friday, October 4, 2024
ArticlesDigital Transformation

ความล้มเหลวการสำรองข้อมูล คือ ข้อจำกัดในเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัล

ผู้บริหารระดับสูง 58% พบปัญหาความล้มเหลวในการสำรองข้อมูล สะท้อนถึงความท้าทายในการป้องกันข้อมูลสำคัญขององค์กร และเป็นข้อจำกัดในเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัล

Veeam เปิดเผยถึง ปัญหาความล้มเหลวในการสำรองข้อมูล ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อองค์กรทั่วโลกในการเปลี่ยนถ่ายเข้าสู่โลกดิจิทัล โดยอ้างอิงผลการสำรวจในรายงาน Veeam Data Protection Report 2021 ที่ได้สำรวจความคิดเห็นผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีจากองค์กรทั่วโลก เพื่อทำความเข้าใจ แนวทางการป้องกันและจัดการข้อมูลในองค์กร และเรียนรู้รูปแบบการเตรียมความพร้อมรับความท้าทายต่อระบบไอทีที่ต้องเผชิญ

รวมถึงขีดความสามารถในการตอบสนองการเปลี่ยนแปลง และปัจจัยหรือสถานการณ์ เช่น COVID-19 ที่ทำให้ธุรกิจหยุดชะงัก เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบไอที และกระบวนการปรับเปลี่ยนองค์กรและธุรกิจในการก้าวสู่โลกดิจิทัลโดย Veeam พบประเด็นสำคัญๆ หลายประการ นั่นคือ

ปฏิบัติการเร่งด่วนในการปกป้องข้อมูล

ผลการสำรวจพบว่า ความสามารถในการปกป้องข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถาม นั้น ไม่มีความพร้อมตามที่กระบวนการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลต้องการ ทำให้เกิดความเสี่ยงในความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจที่อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงทั้งต่อชื่อเสียงและผลการดำเนินงาน

แม้ว่าเรื่องของการสำรองข้อมูลนั้นเป็นเรื่องสำคัญในโลกของการป้องกันข้อมูลยุคใหม่ แต่ 14% กลับบอกว่าข้อมูลทั้งหมดไม่ได้รับการสำรองไว้อย่างถูกต้อง และอีก 58% บอกว่าเกิดความล้มเหลวในการเรียกคืนข้อมูลกลับมา ทำให้เห็นว่า ข้อมูลซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของธุรกิจนั้นไม่ได้รับการป้องกัน แถมไม่สามารถเรียกคืนกลับมาได้เมื่อเกิดปัญหา

อย่างเช่น การหยุดทำงานจากการโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งในอนาคตจะกลายเป็นเรื่องที่พบเจอบ่อยขึ้น

ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา 95% ขององค์กรเผชิญเหตุการณ์ที่ 1 ใน 4 ของเซิร์ฟเวอร์หยุดทำงานอย่างน้อย 1 ครั้งในรอบปี ส่งผลกระทบในเรื่องของดาวน์ไทม์ และทำให้ข้อมูลสูญหายบ่อยเกินไป

สุดท้ายที่สำคัญก็คือ สิ่งเหล่านี้กระทบต่อประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ และผู้บริหารระดับสูงมากกว่าครึ่งบอกว่า ปัญหานี้นำไปสู่การสูญเสียความเชื่อมั่นต่อองค์กร ทั้งจากลูกค้า พนักงานและผู้ถือหุ้นได้

สาเหตุที่ทำให้การสำรองและเรียกคืนข้อมูลทำงานล้มเหลว
แดนนี อัลลัน.Veeam

แดนนี อัลลัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยีและรองประธานอาวุโสด้านกลยุทธผลิตภัณฑ์จากบริษัท Veeam อธิบายว่า “มีสาเหตุอยู่ 2 ประการที่ทำให้การสำรองและเรียกคืนข้อมูลนั้นทำงานล้มเหลว ประการแรก คือ การสำรองข้อมูลที่จบลงด้วยความผิดพลาดจากการกำหนดขอบเขตข้อมูลที่มากเกินไป และสอง การเรียกคืนข้อมูลที่ทำไม่ได้ตามข้อตกลงที่ได้ทำกันไว้

“พูดง่ายๆ ว่า หากการสำรองข้อมูลล้มเหลว ก็จะไม่ได้รับการป้องกัน ซึ่งเป็นความกังวลสำหรับธุรกิจ เนื่องจากผลกระทบจากการสูญหายของข้อมูล และการหยุดทำงานของระบบที่ไม่อยู่ในแผนการนั้น ย่อมส่งผลลบต่อความเชื่อมั่นของลูกค้า ไปจนถึงราคาหุ้นขององค์กรที่ลดลง

ความท้าทายที่เพิ่มขึ้นมานี้บ่งบอกว่า ภัยคุกคามด้านดิจิทัลนั้นกำลังเติบโตในอัตราก้าวกระโดด ผลลัพธ์คือ ช่องว่างระหว่างความสามารถในการปกป้องข้อมูลของธุรกิจกับความต้องการในการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่โลกดิจิทัล และปัญหานี้ควรจะได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะสิ่งนี้เป็นแรงกดดันที่เกิดขึ้นในองค์กรในการเร่งนำเอาเทคโนโลยีบนคลาวด์ให้บริการลูกค้าในยุคของเศรษฐกิจดิจิทัล”

ยุทธศาสตร์ไอทีหลัง COVID-19

ผู้บริหารระดับสูงในองค์กรต่างตระหนักถึงความจำเป็นในการนำเอาคลาวด์มาเป็นทางเลือกแรกๆ และปรับเปลี่ยนรูปแบบของการใช้ระบบไอทีที่ตอบสนองในการเร่งเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลหลังเกิดสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งหลายองค์กรก็ได้ทำสำเร็จไปแล้ว

โดย 91% ขององค์กรได้เพิ่มบริการบนคลาวด์ ไปแล้วตั้งแต่ช่วงเดือนแรกๆ ของการระบาด และส่วนใหญ่ก็ยังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดย มีองค์กรถึง 60% ที่วางแผนจะเพิ่มบริการบนคลาวด์ให้มากขึ้นในการวางยุทธศาสตร์ด้านไอทีต่อไป

อย่างไรก็ตามในขณะที่องค์กรธุรกิจนั้นตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการเปลี่ยนสู่โลกดิจิทัลในช่วง 12 เดือนข้างหน้า แต่มี องค์กร 40% ที่ยอมรับว่าความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจเป็นหนึ่งในอุปสรรคต่อการเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัล

การเปลี่ยนแปลงสู่โลกดิจิทัลต้องเริ่มจากความพร้อมแบบดิจิทัล

ในสถานการณ์ที่องค์กรธุรกิจต่างหันมาเลือกนำบริการทางด้านไอทียุคใหม่เข้ามาใช้อย่างรวดเร็ว แต่ความสามารถและทรัพยากรในการป้องกันข้อมูลที่ไม่เพียงพอ อาจทำให้กระบวนการเปลี่ยนแปลงสู่โลกดิจิทัลสะดุดลงจนถึงขั้นล้มเหลว ซึ่งเหล่าผู้บริหารระดับสูงต่างรู้ดีอยู่แล้วว่ามีผลกระทบเกิดขึ้น

30% ของผู้ตอบแบบสำรวจยอมรับว่า กระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัล ต้องสะดุดหรือหยุดไว้ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา อุปสรรคนั้นมีหลายรูปแบบรวมถึงทีมงานไอทีเองที่เน้นไปที่เรื่องของการดูแลระบบมากเกินไปในช่วงการระบาดของไวรัสถึง 53% หรือจะเป็นการพึ่งพาระบบไอทีเดิมในองค์กรที่มีถึง 51% และการที่เจ้าหน้าที่ขาดทักษะในการนำเทคโนโลยียุคใหม่มาใช้พบถึง 49%

ทำให้ในอีก 12 เดือนข้างหน้าผู้บริหารด้านไอทีจำเป็นต้องวางแผนการเปลี่ยนไปสู่โลกดิจิทัลกันใหม่อีกครั้ง โดยปัญหาเรื่องการป้องกันข้อมูลในสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้น ต้องได้รับการแก้ไขทันที ซึ่งเกือบ 1 ใน 3 ขององค์กรนั้นมองไปที่การย้ายไปสู่ระบบคลาวด์

เนื้อหาอื่นๆ ที่สำคัญในรายงาน Veeam Data Protection Report 2021

เครือข่ายไอทีแบบผสม แบบกายภาพ, เวอร์ชวลและคลาวด์: ในอีก 2 ปีข้างหน้าองค์กรส่วนใหญ่จะค่อยๆ ปรับลดจำนวนทั้งในแง่ของปริมาณ, การบำรุงรักษา และการจัดหาเซิร์ฟเวอร์จริงเสริมบนโครงสร้างพื้นฐานแบบเวอร์ชวล และจะหันมาเลือกใช้กลยุทธ์ “คลาวด์มาก่อน” มากขึ้นเรื่อยๆ

ซึ่งจะส่งผลให้ครึ่งหนึ่งของปริมาณของการใช้งานย้ายไปอยู่บนคลาวด์ภายในปี 2023 ซึ่งจะบังคับให้องค์กรส่วนใหญ่ต้องปรับแนวคิดในกลยุทธ์การป้องกันข้อมูลของตนใหม่สำหรับพื้นที่การแข่งขันใหม่

ระบบสำรองข้อมูลบนคลาวด์เติบโตอย่างรวดเร็ว: ระบบสำรองข้อมูลถูกย้ายจากระบบแบบเดิมมาอยู่บนโซลูชั่นระบบคลาวด์ที่บริหารและดูแลโดยผู้ให้บริการ โดยรายงานคาดการณ์ว่าแนวโน้มนี้สูงถึง 29% ในปี 2020 และเพิ่มมากขึ้นเป็น 49% ภายในปี 2023

ความสำคัญของระบบที่แข็งแกร่งเชื่อถือได้ เพื่อเพิ่มระดับความเชื่อถือ: กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักให้องค์กรทั่วโลกเปลี่ยนระบบการสำรองข้อมูลหลักที่มีใช้อยู่ในองค์กร ผลสำรวจถึง 31% เห็นด้วยกับปัจจัยดังกล่าว

เพิ่มความคุ้มค่าในการลงทุน: 22% ของผู้ร่วมตอบแบบสอบถามชี้ว่าส่วนสำคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลงคือผลกระทบต่อสภาวะทางการเงินขององค์กร ซึ่งรวมถึงผลตอบแทนการลงทุน (ROI) ที่คุ้มค่าและมีต้นทุนในการเป็นเจ้าของ (TCO) ลดลง

ช่วงเวลาพร้อมใช้งาน: 80% ขององค์กรธุรกิจจะมี “ช่วงเวลาที่พร้อมใช้งาน” ระหว่างความเร็วในการกู้คืนแอปพลิเคชัน และความเร็วที่จำเป็นจะต้องกู้คืนมาให้ได้

ช่วงเวลาจริงในการทำงาน: 76% มี “ช่วงเวลาจริงในการทำงาน” ระหว่างความถี่ในการทำสำรองข้อมูล และ ปริมาณการสูญเสียข้อมูลที่ยอมรับได้หากระบบหยุดทำงาน

การปกป้องข้อมูลยุคใหม่: 46% ขององค์กรธุรกิจทั่วโลกเลือกที่จะเป็นคู่ค้ากับผู้ให้บริการสำรองข้อมูลแบบ Backup as a Service (BaaS) ภายในปี 2023 และมีถึง 51% วางแผนที่จะเปลี่ยนไปใช้ระบบกู้คืนข้อมูลจากภัยพิบัติไปอยู่ในรูปแบบของ Disaster Recovery as a Service (DRaaS) ในช่วงเวลาเดียวกัน

อ่านรายงานฉบับเต็ม Veeam_Data Protection Report 2021