Friday, September 20, 2024
ESGNEWSSustainability

ยูโอบี ประกาศโครงการช่วย SME สร้างนวัตกรรมแห่งความยั่งยืน (SIP) ปีที่สอง

ยูโอบี ร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน สนับสนุนเอสเอ็มอีไทย ผนวกความยั่งยืนก้าวข้ามความท้าทายด้านเศรษฐกิจ เปิดโครงการ Sustainability Innovation 2024 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 มีการจัดโปรแกรมเวิร์คช้้อปตลอดปี

ทั่วโลกได้ต่างๆ ตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจ ที่คำนึงถึง ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ซึ่งส่งส่งผลต่อ กฎระเบียบ วิธีการดำเนินธุรกิจ และเป็นตัวแปรหนึ่งต่อความน่าเชื่อถือของลูกค้าและคู่ค้าทั่วโลก  

ด้วยแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ที่เป็นความท้าทายสำคัญสำหรับธุรกิจ SMEs ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย โดย ยูโอบี ฟินแล็บ จึงได้ดำเนินโครงการ Sustainability Innovation Programme หรือ SIP ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ 

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI), องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, PwC Thailand เป็นต้น เพื่อสนับสนุน SMEs กว่า 200 รายให้สามารถปรับธุรกิจสู่ความยั่งยืนได้ ด้วยการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เชิงลึก รวมถึงกลยุทธ์การทำธุรกิจยั่งยืน ให้สามารถยืดหยุ่นและเติบโตได้ 

UOB นำพันธมิตรช่วย SME เรียนรู้และเวิร์คช้อปเรื่อง ESG

บัลลังก์ ว่องธวัชชัย Head of Digital Engagement and FinTech Innovation ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “โครงการ SIP ได้ทำงานกับพันธมิตรหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อช่วยเหลือ SMEs ให้ปรับธุรกิจสู่ความยั่งยืน เพราะเราเข้าใจดีถึงการสนับสนุนที่ SMEs ต้องการได้รับจากธนาคารและภาครัฐ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจและความยั่งยืน อาทิ เทรนด์ความรู้ แนวทางปฏิบัติ คำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานด้าน ESG การเชื่อมต่อกับบริษัทที่อยู่ในระบบนิเวศอุตสาหกรรมเดียวกัน รวมถึงโซลูชันทางการเงินสีเขียวที่จะช่วยลดค่าใช้จ่าย”

บัลลังก์ ว่องธวัชชัย (ซ้าย) Head of Digital Engagement and FinTech Innovation ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย

นรีรัตน์ สันธยาติ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาการลงทุนอย่างยั่งยืน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) กล่าวเสริมว่า “ประเด็นด้าน ESG ได้กลายเป็นเรื่อง Do or Die เพราะเป็นเรื่องของความอยู่รอดและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจในระยะยาว ทุกธุรกิจจึงต้องกลับมาคิดทบทวนว่า จะปรับตัวให้อยู่รอดท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ท้าทายได้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจ SMEs และธุรกิจครอบครัวจะสามารถส่งต่อธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างไร” 

“SMEs จึงต้องเร่งเตรียมความพร้อมเพื่อติดอาวุธให้ตัวเอง โดยควรพัฒนาความรู้ความเข้าใจและบริหารจัดการประเด็น ESG ที่สำคัญเพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขัน”

5 แนวทางการปรับตัวทางธุรกิจ

ดร.ชาริกา ชาญนันทพิพัฒน์ นักวิชาการด้านการดำเนินธุรกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) แนะนำ 5 แนวทางให้กับผู้ประกอบการ SMEs สำหรับการทำธุรกิจในแนวทางของ ESG ดังนี้ 1. รู้บริบทธุรกิจ เพื่อประเมินผลกระทบของธุรกิจของเรา 2. รู้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เก็บข้อมูลว่าแต่ละรายได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง

3. รู้ประเด็นไหนสำคัญ งานหรือสิ่งไหนที่มีผลกระทบสูงต่อธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสีย 4. รู้ว่าทำประเด็นไหนก่อน คัดจากประเด็นที่สำคัญว่าอันไหนสำคัญที่สุด เรียงลำดับความสำคัญ แล้วค่อยทยอยปรับเปลี่ยนแนวทาง และ 5. รู้สื่อสาร ต้องสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร เผื่อผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทาง ESG อย่างต่อเนื่อง

ประเมินความพร้อมของธุรกิจด้วยเครื่องมือใหม่ UOB Sustainability Compass

กุลธิดา วิรัตกพันธ์ หุ้นส่วนด้านความยั่งยืน ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอบีเอเอส ได้กล่าวว่า เพื่อตอบสนองต่อความต้องการธุรกิจเอสเอ็มอี PwC ได้ร่วมกับ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย พัฒนา UOB Sustainability Compass ซึ่งเป็นเครื่องมือในรูปแบบของแบบประเมินออนไลน์ ที่จะช่วยวัดระดับและประเมินความพร้อมด้านความยั่งยืนของบริษัทว่าอยู่ในระยะใด บริษัทสามารถลงทะเบียนเพื่อทำแบบสอบถาม และรับรายงานที่รวบรวมแนวทางที่ชัดเจนในการพัฒนาธุรกิจไปสู่ความยั่งยืน 

โดยรายงานมีการรวบรวมข้อมูลจำเพาะของกฎระเบียบ บรรทัดฐาน และมาตรฐานที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านความยั่งยืนที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทของแต่ละอุตสาหกรรม พร้อมคำแนะนำเกี่ยวกับโซลูชันทางการเงินที่เหมาะสมให้แก่บริษัททั้งนี้ รายงานความยั่งยืนจะเปรียบเสมือนคัมภีร์เล่มสำคัญที่สะท้อนภาพลักษณ์ของการดำเนินธุรกิจของกิจการในระยะยาว 

ออกแบบโมเดลธุรกิจเพื่อความยั่งยืนด้วย S-BMC (Sustainable Business Model Canvas)

ดร.รณกร ไวยวุฒิ สถาบันนวัตกรรมบูรณาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวถึงการออกแบบโมเดลธุรกิจเพื่อความยั่งยืนด้วย S-BMC (Sustainable Business Model Canvas) ว่า สิ่งที่จะต้องคำนึงถึงในการนำ Innovation มาพัฒนาร่วมกันกับ ESG ประกอบด้วย 1.ความต้องการอยากใช้นวัตกรรมของลูกค้า 2.ความคุ้มค่าทางธุรกิจ และ 3.สามารถทำได้จริง นับเป็น 3 องค์ประกอบหลักการสร้างนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในโลกปัจุบัน ครอบคลุม เรื่องของ Human Value , Business และ Technology 

โดยทั้ง 3 องค์ประกอบ ยังสามารถปรับเปลี่ยนได้ แต่ความต้องการของลูกค้าไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ดังนั้นการสร้าง Innovation ในยุคนี้จะต้องให้ความสำคัญในเรื่องของสิ่งรอบข้าง อย่างไรก็ดีควรนำ Social, Environmental และ Economic มาพัฒนารวมกัน นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลได้ ลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้ และสามารถทำได้จริงและวัดผลได้ 

ด้าน อโณทัย สังข์ทอง ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารและทะเบียนคาร์บอนเครดิต องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (TGO) เล่าว่า SMEs ที่เป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของประเทศ หลังนโยบายทั้งไทยและต่างประเทศมุ่งเป้าจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจก”

“พบว่ามีหลายๆ บริษัทได้ตั้งเป้าหมายสู่ Net Zero มากขึ้น แต่ไม่มีความรู้ที่แน่ชัดว่าจะเริ่มต้นจากจุดไหน ทาง TGO จะเข้ามาช่วย เสริมโครงการ SIP ในจุดนี้ได้ ด้วยการสนับสนุน SMEs ทั้งในเรื่องของแพลตฟอร์มการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรและผลิตภัณฑ์ รวมทั้งแพลตฟอร์มการขอขึ้นทะเบียนโครงการคาร์บอนเครดิต กับ TGO”

“ตลอดการให้คำปรึกษาและข้อแนะนำต่างๆ ที่จะช่วยสร้างโอกาสและเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจ SMEs สามารถรุกตลาดคาร์บอนเครดิตต้องทำยังไง ทั้งเป็นหน่วยงานกลางให้ความรู้เทคนิควิชาการเรื่องการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตสินค้าให้มีการลดการใช้พลังงาน ลดของเสียและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย Net Zero ของธุรกิจ”

สำหรับโครงการ SIP จะจัดมีเวิร์กชอปเกี่ยวกับด้านความยั่งยืนให้กับ SMEs อย่างต่อเนื่อง ตลอดปี พ.. 2567

Featured Image: Image by freepik