Friday, March 29, 2024
ArticlesColumnistDr.Peeradej Nanan

The Digital Futurist (ตอนที่ 585) Digital Economy: Smart City, Smart Agriculture, Smart Healthcare and Smart Tourism

ขณะที่สถานการณ์โรคระบาดในหลายประเทศมีแนวโน้มในทิศทางที่ดีขึ้น การส่งเสริมความพร้อมเพื่อพัฒนาในภาคส่วนต่าง ๆ ด้วยความอัจฉริยะของเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นสิ่งสำคัญที่จะมาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

ารพัฒนาการออกแบบให้แต่ละภาคส่วนมีความอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นสิ่งสำคัญที่จะมาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ เสริมประสิทธิผล จัดการความท้าทายต่าง ๆ ด้วยเมืองอัจฉริยะ (smart city) การดูแลสุขภาพอัจฉริยะ (smart healthcare) เกษตรอัจฉริยะ (smart agriculture) การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวด้วย smart tourism เป็นต้น

SMART CITY
ผู้เขียน: ดร.พีรเดช ณ น่าน ที่ปรึกษา คณะกรรมการวิศวกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (digital infrastructure) ที่สำคัญอย่าง 5G จะเข้ามามีส่วนสร้างเมืองอัจฉริยะ (smart city) บริหารจัดการเมืองอย่างเหมาะสมนอกจากบริการบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงแล้วยังรองรับเซนเซอร์จำนวนมากที่ช่วยตรวจจับมลพิษต่างๆ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เมื่อวัดได้ก็นำไปสู่การบริหารจัดการ

หลายประเทศทำข้อมูลเหล่านี้ให้เป็น open data ส่งเสริมให้เกิดนักพัฒนา startup มาช่วยแก้ปัญหาเป็นการจัดการปัญหามลพิษด้วยการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (data-driven pollution management) เมืองใหญ่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจมีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมการย้ายเข้าสู่เมืองใหญ่พบเห็นได้ทั่วโลก

ปี ค.ศ. 2020 พบว่าสัดส่วนของประชากรโลกที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 56.15 สำหรับประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 51 คาดการณ์กันว่าภายในปี ค.ศ. 2050 จะเพิ่มสูงเป็นร้อยละ 68 การเติบโตของเมืองมาพร้อมความท้าทายอาทิ ปัญหามลพิษ อาชญากรรม ความแออัด ปัญหาด้านสุขภาพ

กล้องวงจรปิดผ่าน 5G เป็นหูเป็นตาเพิ่มเติม พร้อมระบบขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน มีส่วนช่วยลดความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินลดการเกิดอาชญากรรมด้วยความเร็วในการรับส่งข้อมูลของ 5G และความหน่วงเวลาต่ำ ส่งข้อมูลความละเอียดสูงได้อย่าง real-time ประสานการประมวลผลด้วยปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) สนับสนุนสังคมน่าอยู่แม้เป็นเมืองใหญ่

เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยเรื่อง Work-from-home (WFH) เราสามารถใช้วิกฤติเป็นโอกาสส่งเสริมให้เกิดการทำงานลักษณะนี้อย่างต่อเนื่อง ส่งเสริม startup สร้างนวัตกรรมที่รองรับการทำงาน สร้างแพลตฟอร์มสัญชาติไทยให้บริการ Online meeting เครื่องมือดิจิทัลเสริม Productivity เป็นต้น

ส่งเสริมหน่วยงานให้พนักงานทำงานได้จากบ้านเกิด กระจายความเจริญไปตามจังหวัดต่าง ๆช่วยลดปัญหาทางสังคม ลดการใช้พลังงานจากการจราจรติดขัดนับเป็นการแก้ปัญหาที่เกิดจากการกระจุกตัวในเมืองใหญ่ และช่วยขยายการพัฒนาไปทั่วประเทศลดความเหลื่อมล้ำด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

SMART AGRICULTURE

จากตัวเลขล่าสุดของจำนวนเกษตรกรผู้มาขึ้นทะเบียนในประเทศไทยพบว่ามีราว 9 ล้านราย โดยเมื่อปลายปี พ.ศ. 2563 พบว่าภาคการเกษตรมีสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ร้อยละ 8.64

เมื่อนำเทคโนโลยี 5G เข้ามาเสริมภาคการเกษตรย่อมมีส่วนเสริมด้านประสิทธิภาพด้วยการทำการเกษตรในรูปแบบใหม่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (data-driven agriculture) อย่างการเกษตรแม่นยำ (precision agriculture) ข้อมูลเซนเซอร์ที่ได้จาก Internet of Thing (IoT) ในปศุสัตว์ ข้อมูลดิน ข้อมูลน้ำ และเครื่องจักรทางการเกษตรผ่านระบบ 5G

ที่สามารถรองรับปริมาณอุปกรณ์ IoT ได้จำนวนมากพร้อมกันผนวกกับภาพความละเอียดสูงจากโดรน (drone) อากาศยานไร้คนขับทำงานร่วมกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ประมวลผลได้ข้อมูลเชิงลึก ช่วยในการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เสริมความเป็นอยู่ของเกษตรกร

SMART HEALTHCARE

อโรคยา ปรมา ลาภา(ที่ติดปากกันแม้จะไม่ถูกต้องตามบาลี) ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง สิ่งที่สำคัญคือการส่งเสริมให้ทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องสุขภาพอย่างถูกต้อง ประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขที่เข้มแข็ง ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ

เทคโนโลยี 5G มีส่วนส่งเสริมด้านนี้เหมาะกับสถานการณ์ของโรคระบาด โทรเวช (telemedicine) ได้เข้ามามีส่วนสำคัญ การปรึกษาทางการแพทย์จากระยะไกล การส่งภาพถ่ายรังสีเพื่อการวินิจฉัยได้จากระยะไกล ทำให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง

นอกจากการแพทย์ทางไกล หรือ โทรเวช (telemedicine) จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำแล้ว ยังเหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ควรลดการสัมผัส เว้นระยะห่าง ส่งผลให้ลดโอกาสการติดเชื้อทั้งในผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ และด้วยอุปกรณ์ Internet of Medical Thing (IoMT) ทำให้การตรวจจับข้อมูลทางสุขภาพทำได้อย่างต่อเนื่อง การดูแลรักษาสุขภาพมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในสังคมผู้สูงอายุที่มีจำนวนผู้ป่วยเรื้อรังที่ต้องการการดูแลอย่างสม่ำเสมอ

SMART TOURISM

การท่องเที่ยวเป็นรายได้หนึ่งของประเทศ โดยมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 12 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศในปี ค.ศ. 2019 และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงอย่างมากส่งผลกระทบต่อผู้ดำเนินกิจการด้านนี้

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการติดตามลดการแพร่ระบาดจะสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวและชุมชน การบริหารจัดการการเข้าออกเมืองท่องเที่ยว การแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวผ่านเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานกับโลกแห่งความจริงอย่าง Augmented Reality หรือ AR รวมถึงการสร้างความปลอดภัยน่าท่องเที่ยวด้วยโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สำคัญอย่าง 5G

[1] MIT News, “Making health and motion sensing devices more personal,” Sept. 2021.
[2] The World Bank, Urban population (% of total population), accessed Oct. 2021
[3] United Nations, 68% of the world population projected to live in urban areas by 2050, accessed Oct. 2021.
[4] Ministry of Agriculture and Cooperatives, accessed Oct. 2021.
[5] คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล, คู่มือปฏิบัติพระอาพาธ และรักษาสุขภาพ

Leave a Response