Friday, September 20, 2024
InnovationNEWSSpecial Report

องค์กรธุรกิจไทยจัดอยู่ในระดับแนวหน้าในกลุ่มของผู้นำนวัตกรรม

เดลล์ เทคโนโลยีส์ เผยผลสำรวจองค์กรธุรกิจของไทยจัดอยู่ในระดับแนวหน้าในกลุ่มของผู้นำนวัตกรรม (Innovation Leader) 31% ขององค์กรธุรกิจในไทย กำลังบ่มเพาะนวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ

ดลล์ เทคโนโลยีส์ เผยผลการสำรวจ ดัชนีชี้วัดนวัตกรรม (Innovation Index) ระบุ 66% ขององค์กรธุรกิจในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 60% และทั่วโลก 57%) เกรงว่าองค์กรของตัวเองอาจตกกระแสได้ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า เมื่อพิจารณาจากความแข็งแกร่งของวัฒนธรรมการสร้างนวัตกรรมและแผนงานนวัตกรรมในกระบวนการทำงาน

การทำวิจัยเพื่อสำรวจความคิดเห็นทั่วโลกครั้งใหม่นี้ เป็นการทำโพลล์ด้วยการพูดคุยกับพนักงานองค์กรจำนวน 6,600 คนในกว่า 45 ประเทศทั่วโลก เพื่อให้สามารถเห็นภาพที่ชัดเจนว่าเพราะเหตุใดนวัตกรรมจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการดำเนินธุรกิจ และองค์กรธุรกิจเองควรเตรียมความพร้อมของคนทำงาน กระบวนการในการทำงาน และเทคโนโลยีต่างๆเพื่อการสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพอย่างไรได้บ้าง

ขณะเดียวกัน รายงานในส่วนของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเกิดจากการทำโพลล์จากการพูดคุยกับพนักงาน 1,700 คนทั้งในประเทศไทย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ อินเดีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ และเกาหลีใต้

ฐิตพล บุญประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ ประจำประเทศไทย เดลล์ เทคโนโลยีส์

ฐิตพล บุญประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ ประจำประเทศไทย เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า “เทคโนโลยียังคงเป็นแกนหลักที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของแต่ละองค์กร ในการที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถทรานส์ฟอร์มและเติบโต การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของตลาดได้สร้างโอกาสอย่างมหาศาลให้กับธุรกิจต่างๆ”

“และในขณะที่ผลการศึกษาของดัชนีชี้วัดด้านนวัตกรรม หรือ Innovation Index เผยให้เห็นว่าองค์กรธุรกิจของไทยจัดอยู่ในระดับแนวหน้าในกลุ่มของผู้นำนวัตกรรม (Innovation Leader) เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ภายในภูมิภาค องค์กรส่วนใหญ่ยังคงต้องตัดสินใจว่าในจุดไหนที่ต้องการไปให้ถึงในอนาคตอันใกล้นี้

“ทั้งนี้ องค์กรธุรกิจสามารถดำเนินการในรูปแบบนี้ได้ด้วยการปรับเป้าหมายต่างๆ ที่บริษัทมีอยู่ให้สอดคล้องกัน พร้อมทั้งบ่มเพาะวัฒนธรรมของการความอยากรู้และอยากลองด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ผู้คน และกระบวนการรูปแบบต่างๆ”

นวัตกรรมคือสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจ

ด้วยการประเมินองค์กร ผู้ตอบแบบสอบถามจะถูกประเมินหรือตรวจสอบโดยการเปรียบเทียบกับมาตรฐาน (Benchmark) เพื่อดูเกณฑ์มาตรฐานความพร้อมด้านนวัตกรรม ตั้งแต่ผู้นำด้านนวัตกรรมไปจนถึงผู้ที่ยังคงล้าหลังด้านนวัตกรรม จากการวิเคราะห์ องค์กรต่างๆ เพียง 31% ในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 17% และทั่วโลก 18%) เท่านั้นที่สามารถกำหนดให้เป็นผู้นำทางนวัตกรรม (Innovation Leaders) และผู้ที่นำนวัตกรรมเข้ามาใช้งาน (Innovation Adopters)

องค์กรในกลุ่มนี้มีกลยุทธ์ด้านนวัตกรรมแบบครบวงจร (End-to-End) และวางตัวเองอยู่ในตำแหน่งที่ดีในการฟันฝ่าอุปสรรคและปัญหาที่มาจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ปัญหาซัพพลายเชน ไปจนถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ อีกมากมาย ขณะที่ยังคงเติบโตต่อไป

ในความเป็นจริง 52% ของผู้นำทางนวัตกรรม (Innovation Leaders) และผู้นำนวัตกรรมเข้ามาใช้งาน (Innovation Adopters) ของประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 51% และทั่วโลก 50%) มั่นใจว่าตัวเองสามารถเร่งสร้างนวัตกรรมได้ในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอย

ซึ่ง ความยืดหยุ่นของนวัตกรรม หรือที่เรียกว่า innovation_resilience นี้ (เช่น ความมุ่งมั่นและความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก) ส่งผลดีให้กับผู้นำทางนวัตกรรม โดย 32% ของผู้นำทางนวัตกรรม และผู้นำนวัตกรรมเข้ามาใช้งานของประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 33% และทั่วโลก 32%) ได้รับประสบการณ์ที่ระดับของรายได้เติบโตเพิ่มขึ้นถึง 15% ในปี 2022

นอกจากนี้ ยังพบความท้าทายที่ลดลงในการรักษาบุคลากรที่มีทักษะด้านไอทีที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนนวัตกรรม ปัจจัยสนับสนุนอีกประการหนึ่งอาจเป็นเพราะ 65% ของผู้นำทางนวัตกรรม และผู้นำนวัตกรรมเข้ามาใช้งานของไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 73% และทั่วโลก 75%) ได้ตอบรับการใช้งานระบบอัตโนมัติอย่างเต็มที่เพื่อสู้กับกระบวนการไอทีทั้งแบบแมนนวลและทั้งใช้เวลายาวนาน เพื่อเร่งการพัฒนานวัตกรรมให้เร็วยิ่งขึ้น

ที่มา: เดลล์ เทคโนโลยีส์

ตามที่เส้นกราฟการเติบโตอย่างเต็มที่ของนวัตกรรมแสดงให้เห็น องค์กรธุรกิจในส่วนที่เป็นผู้ล้าหลังด้านนวัตกรรม (Innovation_Laggards) และผู้ตามทางนวัตกรรม (Innovation_Followers) ยังขาดการกำหนดกลยุทธ์ด้านนวัตกรรมหรือกำลังพยายามดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งผลกำไรสำหรับกลุ่มที่เป็นผู้ที่กำลังประเมินเพื่อการใช้งานนวัตกรรม (Innovation_Evaluators)

ทั้งนี้ ดัชนีชี้วัดทางนวัตกรรม (Innovation_Index) คือการจับภาพหรือการสรุปภาพรวมของสถานการณ์ได้ทันเวลา องค์กรธุรกิจสามารถพัฒนาปรับปรุงได้ด้วยการพิจารณาถึงบุคลากร กระบวนการทำงาน และการใช้เทคโนโลยีในแบบองค์รวม และสร้างกลยุทธ์นวัตกรรมที่แข็งแกร่งแต่คล่องตัว

นวัตกรรมที่ให้ความสำคัญบุคลากร

องค์กรธุรกิจต่างต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาวัฒนธรรมนวัตกรรมที่ให้ความสำคัญกับแนวความคิดทุกรูปแบบเพื่อที่จะสามารถสร้างความต่าง อีกทั้งสามารถเรียนรู้ผ่านความผิดพลาด โดยผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่า

  • 64% ของผู้ตอบแบบสอบถามคนไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 59% และทั่วโลก 59%) เชื่อว่าการที่มีคนลาออกจากบริษัทเกิดจากการที่ไม่สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้มากเท่าที่คาดว่าจะทำได้
  • 61% ในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 63% และทั่วโลก 64%) ระบุว่าวัฒนธรรมของบริษัทในด้านต่างๆ คือสิ่งที่สกัดกั้นทำให้ไม่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้มากเท่าที่ต้องการหรือสามารถทำได้

วัฒนธรรมในบริษัทได้ถูกกำหนดและสร้างขึ้นเป็นแบบอย่างโดยผู้นำ แต่ 71% ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 73% และทั่วโลก 71%) ระบุว่าผู้นำของตัวเองมีแนวโน้มที่จะชอบความคิดของตัวเองมากกว่า นอกจากนี้ ยังมีการระบุถึงอุปสรรคส่วนบุคคลในอันดับต้นๆ ที่มีต่อการสร้างนวัตกรรมที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด คือความกลัวที่จะความล้มเหลว ไปจนถึงการขาดความมั่นใจในการแบ่งปันความคิดกับผู้นำของตัวเอง

นวัตกรรมที่ให้ความสำคัญต่อกระบวนการ

ในทำนองเดียวกัน รายงานดัชนีชี้วัดทางนวัตกรรมยังเผยให้เห็นว่าธุรกิจต่างกำลังดิ้นรนที่จะนำเอากระบวนการนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยดาต้าและมีสตรัคเจอร์เข้ามาฝัง (Embed) ไว้ภายในองค์กร เพื่อให้สามารถประสบความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนขององค์กร โดยผลการสำรวจสำคัญชี้ให้เห็นว่า

  • ผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีมากถึง 56% ในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 28% และทั่วโลก 26%) กล่าวว่าความพยายามด้านนวัตกรรมทั้งหมดของพวกเขาขึ้นอยู่กับข้อมูล
  • มีเพียง 37% ขององค์กรในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 46% และทั่วโลก 52%) กำลังจัดโครงการนวัตกรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัท เป็นไปได้ว่า การขาดกระบวนการและกลยุทธ์นี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุที่องค์กรต่างๆ พยายามดิ้นรนเพื่อจัดลำดับความสำคัญของนวัตกรรม: อุปสรรคสำคัญต่อนวัตกรรมที่ส่งผลกระทบต่อทีมคือการไม่มีเวลาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เนื่องจากมีภาระงานล้นหลาม (ประเทศไทย: 36% เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 40% และทั่วโลก 38%)
นวัตกรรมที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี

ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงพลังของเทคโนโลยีในการก่อให้เกิดนวัตกรรมและผลที่ตามมาของการถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

โดยส่วนใหญ่ หรือ 99% ขององค์กรที่ตอบแบบสอบถามในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 84% และทั่วโลก 86%) ต่างกำลังแสวงหาเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้พวกเขาสามารถบรรลุเป้าหมายด้านนวัตกรรม และในทางกลับกัน 49% ขององค์กรในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 58% และทั่วโลก 57%) เชื่อว่าเทคโนโลยีของตัวเองยังไม่ใช่เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและหวั่นเกรงว่าจะถูกทิ้งให้ตามหลังคู่แข่ง

การศึกษามุ่งที่จะสำรวจในรายละเอียดเพื่อดูว่าองค์กรธุรกิจสามารถได้รับผลประโยชน์ และเผชิญกับอุปสรรคใดบ้างจาก 5 เทคโนโลยีหลักที่ถือเป็นตัวกระตุ้น (Catalysts) สำหรับนวัตกรรม อันได้แก่ เทคโนโลยีมัลติ-คลาวด์ เอดจ์ โครงสร้างพื้นฐานโมเดิร์น ดาต้า การทำงานจากทุกที่ที่ต้องการ (Anywhere-work) และการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ และในเกือบทุกภาคส่วน

สิ่งที่เป็นอุปสรรคที่ใหญ่ยิ่งที่สุดในการปลดล็อคศักยภาพทางนวัตกรรมนั่นคือความซับซ้อน (Complexity) หากให้ยกตัวอย่าง จะเห็นได้ว่ามีองค์กรธุรกิจในจำนวนที่มากจนเกินไปที่เข้ามาสู่สภาพแวดล้อมแบบมัลติ-คลาวด์โดยบังเอิญ ทำให้เกิดการควบรวมกันของแพลตฟอร์มต่างๆ ด้านคลาวด์ ตลอดจนแอปพลิเคชัน ทูลส์ และอื่นๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งความซับซ้อนเหล่านี้ก่อให้เกิดต้นทุนทั้งในด้านเวลา เงินลงทุน ไปจนถึงโอกาสอันมีค่าในการสร้างนวัตกรรม

และนี่คือสิ่งที่เป็นหลักฐานที่เด่นชัดของอุปสรรคทางเทคโนโลยีของประเทศไทยที่ส่งผลต่อการพัฒนานวัตกรรมที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด:

  1. การต่อสู้กับความซับซ้อนของระบบเอดจ์ที่ปลายทาง
  2. การทุ่มเทความพยายามไปกับการเปลี่ยนดาต้าให้กลายเป็นข้อมูลเชิงลึกแบบเรียล-ไทม์
  3. การขาดกลยุทธ์ด้านการรักษาความปลอดภัยแบบครบวงจรในแบบองค์รวม
  4. ต้นทุนทางด้านคลาวด์ที่เพิ่มสูงขึ้น
  5. การที่ผู้คนไม่สามารถทำงานอย่างปลอดภัยได้จากทุกที่ที่ต้องการ

Featured Image: Image by Freepik