Friday, October 11, 2024
CloudNEWS

เร้ดแฮท ประกาศความก้าวหน้าใหม่ในพอร์ทโฟลิโอของ Red Hat Cloud Services

เร้ดแฮทขยายพอร์ตโฟลิโอบริการคลาวด์ สร้างประสบการณ์ที่สอดคล้องและปรับขนาดได้ Red Hat Cloud Services เพื่อการพัฒนาแอปพลิเคชันสมัยใหม่ ลดความซับซ้อนในสภาพแวดล้อมแบบไฮบริด ขับเคลื่อนมูลค่าและความเร็วทางธุรกิจสำหรับนวัตกรรมไอที

ร้ดแฮท อิงค์ ผู้ให้บริการโซลูชันโอเพ่นซอร์ส ประกาศความก้าวหน้าใหม่ในพอร์ทโฟลิโอของ Red Hat Cloud_Services โดยมอบประสบการณ์ผู้ใช้งานที่มีการจัดการพร้อมประสิทธิภาพเต็มรูปแบบ ทำให้องค์กรสามารถสร้างปรับใช้จัดการและปรับขนาด คลาวด์เนทีฟแอปพลิเคชัน ในสภาพแวดล้อมแบบไฮบริด

สภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริดยังคงเป็นสาระสำคัญในการดำเนินงานขององค์กรส่วนใหญ่ จากรายงาน IDC FutureScape: Worldwide Cloud 2022 Predictions ระบุว่า “ภายในปี 2567, องค์กร 50% จะใช้ แอปพลิเคชันที่สร้างขึ้นจากแนวคิดการให้บริการคลาวด์ รวมทั้งเทคโนโลยีคลาวด์เนทีฟ ช่วยให้เกิด ความสอดคล้องในการทำงานจากทุกสถานที่ไม่ว่าจะเป็นที่ใดก็ตาม”

จากการที่องค์กรต่างๆ ต้องพยายามอย่างหนักในการสร้างประสบการณ์เชิงนวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ส่งผลให้องค์กรจำเป็นต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานแบบไฮบริด เพื่อช่วยบรรเทาความซับซ้อนที่มาพร้อม
กับ ความต้องการปรับขยายได้

ออกแบบมาเพื่อจัดการกับความซับซ้อนของไฮบริดคลาวด์

Red Hat Cloud Services ออกแบบมาเพื่อจัดการกับความซับซ้อนของ ไฮบริดคลาวด์ ขณะนี้องค์กรต่างๆ กำลังเผชิญกับความท้าทาย เช่น การแพร่กระจายของแอปพลิเคชัน (application sprawl) และการรองรับแอปพลิเคชันที่อินเทอร์เฟซผู้ใช้และรหัสการเข้าถึงข้อมูลถูกรวมเอาไว้ในสภาพแวดล้อมและใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน (monolitic application support)

หากต้องการจะประสบความสำเร็จ องค์กรจำเป็นต้องมีเครื่องมือในการปรับปรุงแอปพลิเคชันให้ทันสมัย ในขณะเดียวกันก็ลดเวล าการส่งมอบและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ด้วย

ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนความพยายามขององค์กรในการพัฒนาแอปพลิเคชันบนระบบคลาวด์ เร้ดแฮทจึงได้ประกาศถึงบริการด้านคลาวด์ใหม่ๆ ดังต่อไปนี้

Red Hat OpenShift Service Registry ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ทีมพัฒนาเผยแพร่ ค้นหา ตลอดจนนำ application programming interfaces (APIs) และแบบแผนจำลองมาใช้ซ้ำ

Red Hat OpenShift Connectors ที่ให้การเชื่อมต่อที่สร้างไว้ล่วงหน้า ไปยังระบบต่างๆ ของบุคคลที่สาม และเปิดใช้การผสานการทำงานแบบไม่มีโค้ดกับ Red Hat OpenShift Streams สำหรับ Apache Kafka

Red Hat OpenShift Database Access ที่มอบประสบการณ์การใช้ Database as a Service (DBaaS) ที่สอดคล้องกันในทุกสภาพแวดล้อม ไฮบริดคลาวด์ ช่วยให้ผู้ดูแลระบบ OpenShiftสามารถจัดเตรียมและจัดการการ
เข้าถึงบริการฐานข้อมูลบุคคลที่สามได้อย่างง่ายดายและทำให้นักพัฒนาสามารถจัดเตรียมและเข้าถึงฐานข้อมูลบนคลาวด์ได้ง่ายขึ้น

พอร์ตโฟลิโอ Red Hat Cloud Services ได้รับการผสานรวมอย่างแนบแน่นกับ Red Hat OpenShift ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม Kubernetes ระดับองค์กรชั้นนำของอุตสาหกรรม เป็นพื้นฐานสำหรับการปรับปรุง แอปพลิเคชัน ที่มีอยู่ให้ทันสมัย, สร้างคลาวด์เนทีฟแอปพลิเคชัน,ให้การพัฒนาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นตลอดจนการเพิ่มความชาญฉลาดให้กับแอปพลิเคชัน และการผสานรวมกับบริการต่างๆ ของบริษัทอื่นๆ

นอกจากนี้ เร้ดแฮทยังได้ประกาศการปรับปรุงบริการ Cloud Services ที่มีอยู่ ดังต่อไปนี้

Red Hat OpenShift Data Science เป็นบริการระบบคลาวด์ที่มีการ บริหารจัดการสำหรับ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลและนักพัฒนา ซึ่งมีแซนด์บ็อกซ์ที่ได้รับการรองรับอย่างเต็มรูปแบบในการพัฒนา ฝึกฝนและทดสอบโมเดล แมชชีนเลิร์นนิง (ML) ได้อย่างรวดเร็วขณะนี้พร้อมให้บริการเป็นส่วนเสริมสำหรับ OpenShift Dedicated และ Red Hat OpenShift Service สำหรับลูกค้า AWS แล้ว

นอกจากนี้ ยังได้เพิ่ม การอัปเดตเพื่อปรับปรุงการรองรับการปฏิบัติตามข้อกำหนด ซึ่งรวมถึง PCI ที่เชื่อม ต่ออุปกรณ์ ต่อพ่วงภายในเครื่องกับระบบประมวลผลกลางของ คอมพิวเตอร์ด้วย ทั้งนี้ ลูกค้าจะสามารถ ใช้ประโยชน์จากโซลูชัน ISV ที่มีการ บริหารจัดการจาก Starburst ซึ่งเป็นพันธมิตรด้านข้อมูล ชั้นนำได้ภายในปีนี้

Red Hat OpenShift Streams for Apache Kafka เป็นบริการ Kafka ที่มีการบริหาร จัดการและโฮสต์อย่างเต็มรูปแบบ รองรับการจัดการข้อมูล ประจำตัว และการเข้าถึงอย่างละเอียด ตลอดจนการเข้าถึงตัวชี้วัดและการตรวจสอบ แดชบอร์ด นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มการรับรองต่างๆ ด้าน PCI เพื่อให้ปฏิบัติตาม ข้อกำหนดได้ดียิ่งขึ้น

Red Hat OpenShift API Management ทำให้สามารถพัฒนาและปรับใช้ แอปพลิเคชัน ที่เน้น API ได้อย่างรวดเร็วผ่านบริการที่โฮสต์และจัดการ OpenShift API Management ที่อยู่ใน Developer Sandbox for Red Hat OpenShift สำหรับการทดลองใช้งาน นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มการอัปเดตเพื่อปรับปรุงการรองรับ ความปลอดภัย และการปฏิบัติตามข้อกำหนด รวมถึง การรับรอง PCI, ISO และ SOC2 ตลอดจนการพรีวิวของผู้ออกแบบ API อีกด้วย