Saturday, May 4, 2024
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
ArticlesColumnistDr.Kriengsak Chareonwongsak

คนไทยยุคใหม่ ดี เก่ง กล้า!

ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่สนับสนุน ยุทธศาสตร์การสร้าง คนดี คนเก่ง คนกล้า ซึ่งมองว่าสิ่งนี้เป็นประเด็นสำคัญของประเทศ และก็เป็นฟันเฟืองหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนให้เกิดผลในภาคปฏิบัติ ผ่านทาง งานบรรยาย บทความ และหนังสือ

NEWSProducts

อาร์ทีบีฯ ส่งแท่นชาร์จไร้สายรุ่นใหม่ MAGTRIO จากแบรนด์ Energea

อาร์ทีบีฯ ลุยต่อ ส่งแท่นชาร์จไร้สายรุ่นใหม่ “MAGTRIO จากแบรนด์ Energea ขยายตลาดอุปกรณ์ชาร์จแบตเตอรี่ โดดเด่นด้วยดีไซน์เพรียวบาง พร้อมพลังชาร์จแบบมัลติฟังก์ชัน เอาใจสาวก Apple ให้ชาร์จอุปกรณ์ได้รวดเร็วและสะดวกสบายกว่าเดิม 

InfrastructureNEWS

คาดปี 66 มูลค่าใช้จ่ายไอทีทั่วโลก 4.4 ล้านล้านดอลลาร์

Gartner คาดการณ์มูลค่าใช้จ่ายไอทีทั่วโลกปี 2566 โตขึ้น 2.4% แม้เงินเฟ้อทำให้กำลังซื้อในฝั่งผู้บริโภคลดลง แต่การใช้จ่ายไอทีในองค์กรยังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ประเทศไทย คาดมูลค่าใช้จ่ายไอที 9.3 แสนล้านบาท

Movement

ITEL คว้า 2 รางวัล จาก The Global Economics Awards 2022

ณัฐนัย  อนันตรัมพร  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ เทเลคอม จำกัด (มหาชน) หรือ ITEL คว้า 2 รางวัลจากงาน The Global Economics Awards 2022 ซึ่งจัดโดย The Global Economics นิตยสารการเงินชั้นนำจากสหราชอาณาจักร โดยได้รับรางวัล 2 ประเภท ได้แก่ รางวัล Best Emerging CEO in Telecom ซึ่งมอบให้กับ ณัฐนัย อนันตรัมพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ในฐานะผู้นำองค์กรที่มีความโดดเด่นในการวางแผนเชิงกลยุทธ์

และการบริหารงานในธุรกิจโทรคมนาคม  และรางวัล Most Innovative Fiber Optic Network Service Provider ถือเป็นการตอกย้ำศักยภาพและความสำเร็จ ในฐานะผู้ให้บริการโครงข่ายไฟเบอร์ออพติก ที่มีความรวดเร็ว และเสถียรที่สุดในอุตสาหกรรม สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการที่คล่องตัวที่สุด เพื่อตอบสนองทุกธุรกิจ ให้ทุกการเชื่อมต่อนั้นเรียบง่ายไม่ซับซ้อน

รางวัล Global Economics Awards 2022 ที่ได้รับในครั้งนี้ บ่งบอกถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจของ ITEL ให้เติบโต ต่อเนื่อง และยั่งยืน อีกทั้งเป็นที่ยอมรับในระดับสากลอีกด้วย

NEWS

ธนาคารกสิกรไทย แจ้งผลประกอบการ ปี 2565 กำไร 35,770 ล้านบาท

ขัตติยา  อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย

ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า แม้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2565 จะสามารถประคองทิศทางการฟื้นตัวได้ดีกว่าปี 2564 แต่ภาคการส่งออกของไทยเริ่มได้รับผลกระทบจากสัญญาณชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2565

และมีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นภาวะเศรษฐกิจถดถอย ในปี 2566 เนื่องจากธนาคารกลางของประเทศแกนหลักของโลกยังคงต้องคุมเข้มนโยบายการเงินต่อเนื่องเพื่อสกัดแรงกดดันเงินเฟ้อ นอกจากนี้ แม้ว่าจีนจะเริ่มทยอยเปิดประเทศ

แต่การฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวจีนอาจหนุนตลาดต่างชาติเที่ยวไทยได้เพียงในระดับหนึ่ง ทำให้การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวของไทยในปี 2566 จะยังไม่สามารถกลับเข้าสู่ระดับก่อนโควิด-19 ได้ ดังนั้น เส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ยังคงมีความเปราะบาง และยังคงต้องติดตามแรงกดดันในส่วนของต้นทุนการผลิต ค่าจ้างแรงงาน อัตราเงินเฟ้อ ปัญหาค่าครองชีพ

และอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่ยังขยับขึ้นต่อเนื่องด้วยเช่นกัน ธนาคารและบริษัทย่อยจึงยังคงดำเนินธุรกิจตามหลักความระมัดระวังรอบคอบภายใต้ทิศทางภาวะเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอน ในการเดินหน้าเชิงกลยุทธ์ด้วยการใช้เทคโนโลยี และกระบวนการใหม่ ๆ

รวมทั้งการผนึกกำลังกับพันธมิตรทางธุรกิจ และการเป็นธนาคารยุคใหม่แห่งภูมิภาค AEC+3 อย่างต่อเนื่องในการขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบธนาคารพาณิชย์ให้กับประชาชนในวงกว้าง ให้ได้รับการสนับสนุนเงินทุนและสภาพคล่อง

และใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ และบริการต่าง ๆ ของธนาคาร ส่งเสริมให้ธุรกิจลูกค้าเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตอบรับโอกาสทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งธนาคารยังคงดำเนินการเชิงรุกในการดูแล และให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องแก่ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่มีการฟื้นตัวไม่เท่ากันผ่านช่องทางต่าง ๆ ของธนาคาร

สำหรับปี 2565 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 35,770 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนจำนวน 2,283 ล้านบาท หรือ 6.00% โดยกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและภาษีเงินได้มีจำนวน 98,504 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.72% เมื่อเทียบกับปีก่อน เป็นผลจากการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของธนาคารและทิศทางอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเติบโตอย่างแข็งแกร่ง

และมีอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin : NIM) ที่สูงขึ้นอยู่ในระดับ 3.33% ประกอบกับการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพทำให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) ดีขึ้นอยู่ที่ระดับ 43.15%

อย่างไรก็ตาม ธนาคารและบริษัทย่อยพิจารณาตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss : ECL)  เพิ่มขึ้นจากปีก่อนในระดับสูงเพื่อให้สอดคล้องกับหลักความระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง และเหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ

รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 13,608 ล้านบาท หรือ 11.40% ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อตามการเติบโตของเงินให้สินเชื่อใหม่ในกลุ่มลูกค้าบุคคล และกลุ่มลูกค้าธุรกิจเอสเอ็มอี โดยเน้นการนำเสนอผลิตภัณฑ์สินเชื่อผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้น ควบคู่กับการนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์ในการปล่อยสินเชื่อซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์ของธนาคาร

ในขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจำนวน 3,700 ล้านบาท หรือ 8.42% ส่วนใหญ่เกิดจากค่าธรรมเนียมรับจากการจัดการกองทุน ค่านายหน้าจากการซื้อขายหลักทรัพย์ และรายได้สุทธิจากการรับประกันภัยที่ลดลงซึ่งเป็นไปตามสภาวะตลาด

ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ เพิ่มขึ้นจำนวน 3,709 ล้านบาท หรือ 5.22 % หลัก ๆ จากค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับรายได้ที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณธุรกิจ และค่าใช้จ่ายทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้สามารถรองรับความต้องการของลูกค้า

ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss : ECL) ในปี 2565 มีจำนวน 51,919 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 28.73% เพื่อรองรับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอนาคต

รวมทั้งการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจในประเทศไทยที่ยังคงเปราะบาง นอกจากนี้ ยังเป็นการเสริมความแข็งแกร่งและเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์ให้มีความพร้อมในการดูแลช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มต่าง ๆ ตามยุทธศาสตร์ของธนาคาร เพื่อให้ลูกค้าสามารถดำเนินธุรกิจได้เต็มศักยภาพ ตอบรับกับโอกาสทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้น

โดยอัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 อยู่ที่ระดับ 154.26% ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 4,246,369 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2564 จำนวน 142,970 ล้านบาท หรือ 3.48% หลัก ๆ เป็นการเติบโตของเงินให้สินเชื่อสุทธิตามยุทธศาสตร์ของธนาคารและสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ และการเพิ่มขึ้นของรายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินสุทธิ

นอกจากนี้ ธนาคารเพิ่มความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยให้ลูกค้ามีสถานะทางการเงินที่ดีขึ้นสามารถประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง และจะเป็นกำลังขับเคลื่อนการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจโดยรวม

ทั้งนี้ เงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (%NPL gross) อยู่ที่ระดับ 3.19% สำหรับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทยตามหลักเกณฑ์ Basel III ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 ยังคงมีความแข็งแกร่งอยู่ที่ 18.81% โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 อยู่ที่ 16.84%

ทั้งนี้ งบการเงินรวมของธนาคารและบริษัทย่อยสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ได้รวมฐานะการเงินและ ผลการดำเนินงานของธนาคารแมสเปี้ยน จากการเข้าไปลงทุนเพิ่มในช่วงปลายปีทำให้มีสัดส่วนการถือหุ้นรวมร้อยละ 67.50 ของหุ้นที่ออกและชำระแล้ว ซึ่งไม่มีผลกระทบต่องบการเงินรวมอย่างมีสาระสำคัญ

CX
AIArticlesMarTech

สร้าง CX ด้วยเครื่องมือที่ถูกต้อง คือ กุญแจความสำเร็จของธุรกิจ

แบรนด์ต้องมองหาโซลูชันที่สามารถเข้ามาตอบโจทย์การทำ CX เป็นตัวช่วยของธุรกิจ เพื่อบริหารประสบการณ์ลูกค้าให้ทรงประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สามารถทำงานได้แบบเรียลไทม์ ด้วยเทคโนโลยี AI

NEWS

เคทีซีสร้างสถิติใหม่กำไร 7,140 ล้านบาท

เคทีซีสร้างสถิติใหม่กำไร 7,140 ล้านบาท พอร์ตลูกหนี้ทะลุกว่าแสนล้านบาท พร้อมขับเคลื่อนองค์กรสู่รากฐานที่แข็งแกร่ง ด้วยแนวคิด A Transition to the New Foundation

Digital Talent
Digital TransformationNEWS

AIS และพันธมิตรร่วมเปิด Digital Talent The Masters โครงการเฟ้นหาบุคลากรด้านเทคโนโลยี

AIS ร่วมพันธมิตร เสริมสร้างความแข็งแกร่งของ Digital Economy จับมือ Humanica Conicle THAICOM สร้าง Ecosystem เพื่อคนรุ่นใหม่ เปิดตัว Digital Talent The Masters โครงการเฟ้นหาบุคลากรตัวจริงด้านเทคโนโลยี

Movement

EXIM BANK ออกบูทงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้สัญจร ครั้งที่ 4 จ.ชลบุรี

าคม เติมพิทยาไพสิฐ (กลาง) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  ชื่นชอบ คงอุดม (ที่ 2 จากขวา) ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี (ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงการคลัง) และนิติ วิวัฒน์วานิช (ที่ 3 จากซ้าย) รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เยี่ยมชมบูทธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ในงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้สัญจร มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน ครั้งที่ 4 โดยมี ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร (ที่ 3 จากขวา) กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ให้การต้อนรับ ณ ศาลาประชาคม เทศบาลเมืองบ้านสวน จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2566

EXIM BANK ร่วมออกบูทให้บริการปลดล็อกหนี้เดิม ปรับโครงสร้างหนี้เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางให้สามารถชำระหนี้ต่อไปได้ตามความสามารถ พร้อมจัดแพ็กเกจเติมทุน เสริมสภาพคล่องและฟื้นฟูธุรกิจหลังสถานการณ์โควิด-19 ให้กับผู้ประกอบการ รวมถึงบุคคลธรรมดาที่เป็นคนตัวเล็กในโลกธุรกิจ ด้วยบริการใหม่สินเชื่อบุคคลทำธุรกิจ (EXIM Personal Biz) พร้อมให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้สนใจเริ่มต้นส่งออกภายในงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้สัญจร ครั้งที่ 4 ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-22 มกราคม 2566 ณ ศาลาประชาคม เทศบาลเมืองบ้านสวน จ.ชลบุรี

1 201 202 203 204 205 402
Page 203 of 402