Wednesday, September 18, 2024
AIArticlesColumnistDigital TransformationGenerative AISansiri Sirisantakupt

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่จะเกิดขึ้นในปี 2024

Generative AI

ชวนผู้อ่านจับกระแส และต้องติดตามอย่างใกล้ชิดกับ ภาพรวมของแนวโน้มทางดิจิทัลที่จะเกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ.2024 พร้อมด้วยการคาดการณ์ในแต่ละแนวโน้มทางดิจิทัล ที่จะส่งผลกระทบต่อชีวิต, สังคม และโลกที่เราอยู่

ป็นอีกครั้งมาถึงช่วงเวลาที่เหลืออยู่ของปี เมื่อมองไปข้างหน้าว่ามีเทคโนโลยีดิจิทัลใดบ้างที่พร้อมสำหรับในปี ค.ศ.2024 แน่นอนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital transformation) ยังไม่สิ้นสุดและถือเป็นกระบวนการที่ยังดำเนินอยู่ ในส่วนแนวโน้มทางดิจิทัลที่ก้าวล้ำอันทำให้ปีนี้ (ค.ศ.2023) เป็นหนึ่งในปีที่น่าตื่นเต้นมากที่สุดสำหรับนวัตกรรม

ซึ่งจะยังคงเปลี่ยนแปลงโลกที่เราอยู่ในรูปแบบที่น่าตื่นเต้นได้อีก ด้วยความชาญฉลาดของปัญญาประดิษฐ์เชิงกำเนิด (Generative AI) อย่าง ChatGPT, ความยืดหยุ่นต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber resilience) อีกทั้งวิวัฒนาการ การประมวลผลจำนวนมหาศาล (Quantum computing) ล้วนส่งผลอย่างมากต่อชีวิต

ที่สำคัญก็คือ การค้นหาวิธีที่จะเติบโตและเจริญรุ่งเรืองต่อไป โดยลดความเสียหายที่ได้ทำไว้ต่อสิ่งแวดล้อม ให้เหลือน้อยที่สุด สิ่งต่อไปนี้เป็นภาพรวมของแนวโน้มทางดิจิทัลที่จะเกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ.2024 พร้อมด้วยการคาดการณ์ในแต่ละแนวโน้มทางดิจิทัล ที่จะส่งผลกระทบต่อชีวิต, สังคม และโลกที่เราอยู่ โดยบทความในฉบับมีมุมมองและรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้

 Generative AI – ปัญญาประดิษฐ์เชิงกำเนิด

ปี ค.ศ.2023 เป็นปีที่ปัญญาประดิษฐ์เชิงกำเนิด (Generative AI) ได้เปิดตัวเข้าสู่กระแสหลักและในปี ค.ศ.2024 จะเป็นปีที่โลกจะได้รู้ว่าสิ่งนี้ทรงพลังและมีประโยชน์เพียงใด ทุกวันนี้หากคุณไม่ใช่คนที่ชอบเทคโนโลยี แค่วลีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ก็อาจทำให้เกิดความกลัวได้ที่ AI จะเข้ามาแย่งงานที่คุณทำ, ทำลายเผ่าพันธุ์มนุษย์ หรือเข้ามายึดครองโลก

บทความโดย: น.อ.สรรสิริ สิริสันตคุปต์ นักวิชาการกองทัพอากาศ เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการรักษาความมั่นคงปลอยภัย ด้านอวกาศและไซเบอร์

จนเมื่อ Generative AI สามารถถูกใช้บนแอปพลิเคชันต่างๆ ที่ทุกคนนั้นใช้กันทุกวัน ตั้งแต่ Search engines ไปจนถึงซอฟต์แวร์สำนักงาน, แพ็คเกจการออกแบบ และเครื่องมือสื่อสาร หลายคนที่ได้ใช้จะเข้าใจถึงศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์เชิงกำเนิด (Generative AI)

และถ้าใช้อย่างถูกต้องก็เหมือนกับการมีผู้ช่วยส่วนตัวสุดอัจฉริยะ (Super-smart personal assistant) เป็นระบบอัตโนมัติที่คอยให้บริการกันทุกวัน (24/7) ทำให้ผู้ใช้มีประสิทธิภาพมากขึ้น, เร็วขึ้น และมีผลผลิตมากขึ้น

สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตก็คือ การมอบงานประจำที่ทำซ้ำๆ และไม่ต้องใช้ทักษะมากให้กับ AI ไปทำ ไม่ว่าจะเป็นงานในการรับข้อมูล (Obtaining information), การจัดตารางเวลา (Scheduling), การจัดการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Managing compliance), หรือการวางโครงสร้างของโครงการต่างๆ (Structuring projects)

นอกจากจะแบ่งเบาการทำงานของสมองแล้ว ก็ยังพบว่า คุณมีเวลาที่มากขึ้นในการใช้ทักษะที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ต่องานที่ต้องการความคิดริเริ่มและการสร้างสรรค์อย่างแท้จริง ถึงแม้จะมีความท้าทายที่ปฏิเสธไม่ได้เกี่ยวกับจริยธรรม (Ethics) และกฎระเบียบ (Regulation) ที่ยังคงต้องได้รับการแก้ไข

แต่ก็เชื่อว่าในปี ค.ศ.2024 จะเป็นปีที่ทุกคนเริ่มเข้าใจว่าปัญญาประดิษฐ์เชิงกำเนิด (Generative AI) นั้น ได้ทำให้ชีวิตประจำวันของคุณเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

Cyber Resilience – ความยืดหยุ่นต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์

การวิจัยนั้นชี้ให้เห็นว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา หนึ่งในสองธุรกิจได้ตกเป็นเหยื่อที่ประสบความสำเร็จของการโจมตีทางไซเบอร์ (Cyberattack) และคาดไว้ว่า ต้นทุนของการโจมตีทางไซเบอร์ต่ออุตสาหกรรมเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 10 ล้านล้านดอลลาร์ในปลายปี ค.ศ.2024

เมื่อต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้น โซลูชันทางเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ ก็ได้ ถูกออกแบบมาเพื่อเสริมในการป้องกันทางไซเบอร์ (Cyber defense) อันทำให้มีโอกาสในการต่อสู้ได้นั้น ถือเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรจะต้องบรรจุไว้ในรายการความต้องการ (Organization’s must-have list)

ความยืดหยุ่นต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber resilience) นั้นมีความโดดเด่นและจะเป็นได้มากกว่าการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) เนื่องจากมีมาตรการที่สามารถนำมาใช้เพื่อฟื้นฟูและรับรองความต่อเนื่อง เมื่อมีการละเมิดการป้องกันทางไซเบอร์หรือเนื่องมาจากสถานการณ์ขณะนั้นอยู่นอกเหนือการควบคุม

อาจหมายถึงการมีขั้นตอนในการทำงานมาจากระยะไกล เพื่อให้แน่ใจได้ว่าธุรกิจยังคงสามารถดำเนินงานต่อได้ เมื่อพนักงานไม่สามารถไปทำงานที่ออฟฟิศส่วนกลางได้ (Central location) เป็นโซลูชันทางเทคโนโลยีที่เดิม อาจไม่ถือเป็นองค์ประกอบการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์

ที่สำคัญระบบอัตโนมัติในการป้องกันทางไซเบอร์ (Automation of cyber defense) ที่ใช้ความสามารถ AI และ ML ตรวจสอบกันแบบเรียลไทม์นั้น เป็นกรอบงานบูรณาการที่ผสานมาตรการการรักษาความปลอดภัยเข้ากับโปรโตคอลความต่อเนื่อง รวมทั้งการตระหนักถึงปัจจัยต่างๆ ทางสังคม ล้วนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกลยุทธ์ความยืดหยุ่นต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber resilience strategy)

จะเห็นว่าภัยคุกคามทางไซเบอร์มีความซับซ้อนมากขึ้น อีกทั้งการแข่งขันเพื่อนำเสนอโซลูชันใหม่ๆ ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำอย่าง AI ได้ถูกนำออกสู่ตลาดในจำนวนที่มากขึ้น สิ่งนี้คงทำให้มั่นใจได้ว่าความยืดหยุ่นต่อภัยคุกคามทาง ไซเบอร์ (Cyber resilience) จะกลายเป็นเทรนด์ทางธุรกิจที่มีความโดดเด่นมากขึ้นตลอด ปี ค.ศ.2024

Quantum Computing – การประมวลผลจำนวนมหาศาล

มีกระแสพูดถึงการประมวลผลจำนวนมหาศาล (Quantum computing) ที่เพิ่มมากขึ้นมาได้ระยะหนึ่งแล้วและเชื่อว่าในปี ค.ศ.2024 จะเป็นปีที่มีการเปลี่ยนผ่านไปสู่ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการประมวลผลจำนวนมหาศาลที่สามารถจับต้องได้ ผู้เชี่ยวชาญไอทีหลายคนเชื่อว่าคอมพิวเตอร์ควอนตัม (Quantum computers) มีความสามารถในการคำนวณจำนวนมหาศาลไปพร้อมๆ กันโดยการควบคุมองค์ประกอบที่มหัศจรรย์ของฟิสิกส์ควอนตัม

อาทิ การเชื่อมโยงของควอนตัม (Quantum entanglement) และการทับซ้อนตำแหน่งของควอนตัม (Quantum superposition) ซึ่งช่วยให้สามารถทำงานได้โดยใช้ควอนตัมบิต (qubits) ที่มีได้ในหลายสถานะพร้อมกันแทนที่จะเป็นแบบสถานะ 1 หรือ 0 เช่นเดียวกับบิตคอมพิวเตอร์ (Computer bits) ในแบบเดิม

นักลงทุนกลุ่มแรกๆ ในเทคโนโลยีควอนตัม ได้แก่ ธนาคารและองค์กรบริการทางการเงิน ที่หวังว่าจะใช้ความสามารถของระบบ AI ที่ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพื่อวัตถุประสงค์ในการตรวจจับการฉ้อโกง, การจัดการความเสี่ยง และการซื้อ-ขายที่มีจำนวนความถี่ที่สูง (High-frequency trading)

โดยคาดว่าในปี ค.ศ.2024 จะได้เริ่มเห็นประโยชน์ที่ได้รับจากการนำไปใช้ในสาขาต่างๆ ที่ต้องใช้ในการประมวลผลจำนวนมหาศาล อาทิ การค้นพบยา, การจัดลำดับจีโนม (Genome sequencing), การเข้ารหัส (Cryptography), อุตุนิยมวิทยา, วัสดุศาสตร์ และที่สำคัญนั้นใช้เพิ่มประสิทธิภาพของระบบที่ซับซ้อน เช่น การจราจรที่ไหลผ่านในเมืองใหญ่ หรือแม้กระทั่งการค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก (Extraterrestrial life)

สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาขาที่มีศักยภาพมหาศาลในการแก้ปัญหาของความท้าทายที่ทุกคนและโลกของเรานั้นเผชิญอยู่ ในอนาคตอันใกล้นี้ส่วนตัวรู้สึกตื่นเต้นที่ได้พบว่าความก้าวหน้าครั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้นนั้น เกิดมาจากความช่วยเหลือของคอมพิวเตอร์ควอนตัมและการประมวลผลจำนวนมหาศาล (Quantum computing)

ข้อคิดที่ฝากไว้ – Sustainable Technology

เทคโนโลยีที่ยั่งยืน (Sustainable technology) จะได้รับความสนใจต่อเนื่องในปี ค.ศ.2024 ขณะที่ประเทศและบริษัทต่างๆ ยังคงทำงานต่อไป เพื่อปฏิบัติตามข้อผูกพันการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero commitments) และในเวลาเดียวกันบุคคลก็จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มากขึ้น เพื่อลดผลกระทบในส่วนบุคคลที่กระทำไว้ต่อสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด

เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) จะกลายเป็นแนวคิดที่สำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากความทนทาน, การรีไซเคิล และการนำกลับมาใช้ใหม่ ถูกสร้างขึ้นโดยตรงลงในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ช่วงขั้นตอนของการออกแบบ (Design stage) ความท้าทายที่นักพัฒนาและผู้ใช้เทคโนโลยีที่ยั่งยืนจะต้องเผชิญในช่วงปี ค.ศ.2024 จะรวมถึงความจำเป็นการพัฒนาวิธีการที่มีจริยธรรมและยั่งยืนในการจัดหาวัสดุที่จำเป็นต่อการผลิตอุปกรณ์ต่างๆ

ที่สำคัญคงจะต้องระวังมากขึ้นต่อการมีอยู่ของการฟอกเขียว (Greenwashing) อันเป็นกลไกทางการตลาดที่หลอกลวง บริษัทต่างๆ ใช้เพื่อ โอ้อวดการกระทำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่เกินความเป็นจริง มีจุดมุ่งหมาย…เพื่อทำให้ผู้บริโภค นั้นเข้าใจผิด

อ่านบทความทั้งหมดของ ..สรรสิริ สิริสันตคุปต์

Featured Image: Image by rawpixel.com on Freepik