Friday, March 29, 2024
ArticlesDigital TransformationeGovernment

กลยุทธ์บันได 4 ขั้นของกรมที่ดิน เพื่อก้าวสู่ Digital Transformation Governance

นิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีกรมที่ดิน เปิดเผยถึงบันได 4 ขั้นของ กรมที่ดิน ที่เป็นความสำเร็จจากการทำ Digital Transformation สะท้อนได้ถึงการพัฒนากระบวนการทำงานและบริการดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐที่ประสบความสำเร็จ

นงาน Digital Transformation Summit 2022 ที่จัดโดย สมาคมซีไอโอไทย (TCIOA) ภายในงานมีการเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนา Digital Transformation ของภาครัฐและเอกชน ทั้งแง่มุมของ People-Process-Technology Transformation พร้อมจุดประกายไอเดียเพื่อการพัฒนาต่อยอดธุรกิจ ด้วย Best Practices จากผู้บริหารองค์กรชั้นนำ

CIO World Business ขอนำเนื้อหาบางส่วนจากงาน ซึ่งเป็นตัวอย่าง แนวคิดและความสำเร็จจากการทำ Digital Transformation ของกรมที่ดิน ที่สะท้อนได้ถึงการพัฒนากระบวนการทำงานและบริการดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐ กล่าวได้ว่านี่เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการปฏิรูปดิจิทัล โดย นิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีกรมที่ดิน ได้เปิดเผยถึงบันได 4 ขั้นของกรมที่ดินกับ Digital Transformation Governance

นิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีกรมที่ดิน

อธิบดี กรมที่ดิน เล่าให้ฟังว่า เมื่อพูดถึงหน่วยงานราชการ Pain Point ที่เรามักได้ยินจากประชาชน คือ ความล่าช้า และซ้ำซ้อน ซึ่งมาพร้อมกฎระเบียบและขั้นตอนมากมาย

การแก้ไขจึงทำได้ยาก ด้วยข้อจำกัดของการทำงานและวัฒนธรรมทางความคิดที่เป็นอุปสรรคต่อการทำ Digital Transformation

ปัญหาเหล่านี้ทำให้ได้เรียนรู้ และนำมาปรับใช้ในการวางกลยุทธ์องค์กร เพื่อทำ Digital Transformation ให้มีความต่อเนื่อง ไม่ติดขัด ประกอบด้วย 4 Process คือ การปรับเปลี่ยนองค์กร, การต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่ม, ก้าวต่อไป และ งานในอนาคต

1. การปรับเปลี่ยนองค์กร

“การปรับเปลี่ยนองค์กรคืองานแรกของกรมที่ดิน เมื่อต้องก้าวไปสู่รัฐบาลดิจิทัล ขั้นตอนแรกคือ การกำหนดทิศทางองค์กรอย่างชัดเจน เมื่อลูกค้าของกรมที่ดิน คือ ประชาชน ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำ คือ การกำหนดทิศทางให้ชัดเจนว่าจะบริหารองค์กรให้เดินไปข้างหน้า พร้อมส่งมอบบริการที่ดีทีสุดให้แก่ประชาชนได้อย่างไร” อธิบดีกรมที่ดิน กล่าว

“ขั้นตอนต่อมาคือ การเชื่อมโยงเครือข่ายทั่วประเทศ  นิสิต เล่าว่า ทิศทางของกรมที่ดินคือ หลักการ ยิ่งเชื่อม ยิ่งมีค่า ดังนั้นจึงมีการปรับกระบวนการของกรมที่ดินทั้งหมด 461 สาขา ให้มีระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงกันได้ทั้งหมด เพื่อให้สอดรับพัฒนา E-Service เต็มรูปแบบ”

“รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน Data Center เพื่อให้ฐานข้อมูลมีระบบ Cyber Security ที่มั่นคง และมีเสถียรภาพสามารถรองรับการทำนิติกรรมที่ไม่ต่ำกว่าวันละ 100,000 คน”

“ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลที่ดินเป็นข้อมูลสาธารณะเข้าด้วยกันกับ 100 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประชาชนสามารถเข้าไปดูโฉนดทั้ง 34.6 ล้านแปลงผ่านระบบ Landsmap” นิสิต กล่าว

2. การต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added)

นิสิต อธิบายต่อว่า “ในขั้นที่สองของการปฏิรูปดิจิทัล กรมที่ดินมุ่งเน้นการสร้างสรรค์วัฒนธรรมและต่อยอดทางดิจิทัลให้เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาองค์กรและบุคลากรทุกภาคส่วน”

“ทั้งเจ้าหน้าที่ ประชาชน ผู้พิพากษา รวมถึงบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตอกย้ำแนวคิด เข้าถึงง่าย สะดวก สบาย ให้เกิดขึ้นในทุกมิติการให้บริการ อาทิ

SmartLands Application แอปพลิเคชันของกรมที่ดินที่มีบริการลูกถึง 18 หน่วยในแอปเดียว ซึ่งลูกค้าสามารถเข้าถึงและตรวจสอบได้ง่ายผ่านระบบมือถือทั้งหมด พร้อมรองรับระบบอื่นๆ ในอนาคต

e-QLands ระบบนัดหมายที่ฉับไว สามารถช่วยลดระยะเวลาการให้บริการจากเดิมได้ถึง 40- 50% พร้อมเจ้าหน้าที่บริการโทรเช็คเอกสารก่อนวันนัดหมาย

e-LandsAnnouncement ระบบประกาศที่ดินทั้ง 6 แสนฉบับ ที่พร้อมให้ประชาชนตรวจสอบสถานะได้ทันที

LandsMaps ระบบที่รวมเอาแปลงที่ดินทั้ง 34.6 ล้านแปลงเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้ประชาชนสามารถบริหารจัดการที่ดินตัวเองได้ได้หมด เช่น แปลงที่ดินอยู่ตรงไหน ราคาประเมินเท่าไหร่ ทำนิติกรรมเสียเงินเท่าไร ฯลฯ

RTK GNSS Network ระบบวัดที่ดินด้วยระบบดาวเทียม ที่ทันสมัยที่สุดในโลกและมีความคลาดเคลื่อนต่ำ จึงสร้างความมั่นใจและอำนวยความสะดวกให้ประชาชนได้มากขึ้น

ระบบคลิป VDO สารานุกรมที่ดิน รวมเอา 162 องค์ความรู้เรื่องที่ดินในรูปแบบคลิป VDO ความยาวไม่เกิน 5 นาที เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนเกี่ยวกับกรมที่ดิน ช่วยลดทั้งขั้นตอน ระยะเวลา ค่าใช้จ่าย และปัญหาต่างๆ

3. ก้าวต่อไป

“การทำ Digital Transformation จะต้องทำต่อเนื่องตลอด และไม่หยุดนิ่ง ในวันข้างหน้าลูกค้าจะเห็นการจดทะเบียนออนไลน์กับกรมที่ดินในพื้นที่ต่างสำนักงาน หลังจากนี้การทำนิติกรรมต่างๆ ก็จะอยู่บน E-Service ได้ทั้งหมด เช่น การตรวจสอบหลักทรัพย์ การขอหนังสือรับรองราคาประเมินทุนทรัพย์ การขอยื่นคำขอรังวัด และบริการอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต”

4. งานในอนาคต

“เราได้วางระบบไว้ว่า ต่อไปกรมที่ดินจะไปจดทะเบียนให้ประชาชนที่ซึ่งจะเป็นบริการที่รองรับสังคมสูงอายุ และในปี 2568 ก็จะมีการจดทะเบียนต่างสำนักในเขต EEC ที่รองรับการทำนิติกรรมของชาวต่างชาติ”

“สิ่งเหล่านี้ คือ ตัวอย่างการทำ Digital Transformation ของ กรมที่ดิน ซึ่งต้องอาศัยความต่อเนื่องทางความคิด และการลงมือปฏิบัติ เพื่อปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในองค์กรสู่ความเป็นดิจิทัล โดยผู้นำขององค์กร คือ ฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อน” นิสิต กล่าวสรุป

Leave a Response