Saturday, April 27, 2024
ArticlesManagement

แนวทางการรักษาพนักงานสายเทคฝีมือดี ให้อยู่คู่องค์กร

Low Code

การขาดแคลนบุคคลากรไอทีที่มีทักษะสูงเป็นวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก องค์กรควรจะปฏิบัติอย่างไรเพื่อรับมือกับปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นนี้ และมีวิธีจัดการปัญหาการขาดแคลน Tech Talent ที่นับวันจะทวีความรุนแรงนี้ได้อย่างไร

นขณะที่โลกดิจิทัลกำลังดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีได้กลายเป็นสิ่งสำคัญที่เข้ายึดทุกพื้นที่จาก ปัญญาประดิษฐ์ไปจนถึงกระบวนการทำงานอัตโนมัติ บริษัททุกหนแห่งต่างก็หันมาพึ่งพาวิทยาการล้ำยุค เพื่อช่วงชิงความเป็นผู้นำในตลาดที่เหนือกว่าคู่แข่ง

ประเทศไทยเป็นตลาดด้านเทคโนโลยีที่น่าจับตามอง เพราะมีการพัฒนาอย่างเข้มแข็ง เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและนักลงทุนจากทั่วทุกมุมโลก ไทยถือเป็น 1 ใน 6 อันดับดาวรุ่งทางเศรษฐกิจดิจิทัลหรือ Asean-6 ที่ประกอบด้วยประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม และถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ไทยเป็นหนึ่งในประเทศแถบ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และของโลกที่มีความโดดเด่นเป็นอย่างมากในด้านเทคโนโลยี

แต่เมื่อความก้าวหน้าล้ำไปไวมาก ความท้าทายทางธุรกิจในรูปแบบใหม่จึงเกิดตามมาด้วย หนึ่งในปัญหานั้นก็คือ การขาดแคลนแรงงานทางด้าน Tech Talent ที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง ในขณะที่ความต้องการแรงงานด้านนี้เพิ่มขึ้น สูงมาก แต่จำนวนบุคคลากรในสายงานกลับมีน้อยจนไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้

บริษัท ต่างๆ จึงต้องดิ้นรนอย่างหนักในการเฟ้นหาและดึงรั้งบุคคลากรที่มากความสามารถเหล่านี้ให้อยู่กับองค์กรต่อไป อาทิ วิศวกรซอฟต์แวร์และนักวิทยาศาสตร์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น

ทั้งนี้องค์กรต่างๆ จะมีวิธีจัดการปัญหาการขาดแคลน Tech Talent ที่นับวันจะทวีความรุนแรงนี้ได้อย่างไร?

สาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลน Tech Talent

การขาดแคลนบุคคลากรไอทีที่มีทักษะสูงเป็นวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก สืบเนื่องจากการเติบโตอย่างรวดเร็ว ของอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ที่ส่งผลให้เกิดความต้องการบุคลากรที่มีทักษะด้านไอทีสูงเพิ่มมากขึ้น

บทความโดย: เติมศักดิ์ วีรขจรพงษ์ รองประธานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอาท์ซิสเต็มส์

ตามรายงานของ IDC การขาดแคลนพนักงานประจำในตำแหน่งนักพัฒนาซอฟต์แวร์จะเพิ่มสูงถึง 20% ภายในปี 2025 โดยมีหลายปัจจัยที่นำไปสู่การขาดแคลนบุคลากรที่มากความสามารถ

จากรายงาน CREATING MARKETS IN THAILAND Rebooting Productivity for Resilient Growth ของธนาคารโลก สาเหตุที่ทำให้เกิดการขาดแคลน Tech Talent

ซึ่งส่งผลกระทบต่อการ เปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของประเทศไทยนั้น เกิดจากหลายปัจจัย อาทิ การมีทักษะไม่ตรงสายงาน การขาดการ ส่งเสริมระบบการศึกษาด้านเทคนิคอาชีวศึกษา และการฝึกอบรมที่ไร้ประสิทธิภาพ

ซึ่งปัจจัยทั้งหมดนี้เป็นความท้าทายครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อโอกาสการเติบโตของประเทศไทยในอนาคต รวมทั้งความสามารถในการ แข่งขันทางเศรษฐกิจอีกด้วย ระบบการศึกษาไทยต้องปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล เพราะขณะนี้หลักสูตรระดับ อุดมศึกษานั้น ไม่ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมหรือความต้องการของประเทศอีกต่อไปแล้ว

ปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นก่อให้เกิดผลเสียโดยตรงอย่างมากต่อภาคธุรกิจ

องค์กรต่างๆ ต้องยอมจ่ายเงินเดือนที่สูงขึ้นหรือยื่นเสนอข้อเสนอจูงใจอื่นๆ เพื่อดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มี ความสามารถไว้ ซึ่งการทำเช่นนี้นำไปสู่ต้นทุนการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การดำเนินโครงการต่างๆ รวมถึง แนวคิดริเริ่มที่สำคัญต้องชะงักลง เกิดความล่าช้าหรือแม้กระทั่งถูกยกเลิกเลยก็เป็นได้

นอกจากนี้ประเด็นปัญหาดังกล่าว ยังส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจใกล้ตัวที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีอีกด้วย อาทิ ด้านการแพทย์และบริการรักษาสุขภาพ ที่ประสบปัญหาในการหาผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีที่มีคุณสมบัติเพียงพอมารับตำแหน่งสำคัญ ซึ่งการขาดแคลนบุคคลากรดังกล่าวส่งผลให้ผู้ป่วยต้องรอพบแพทย์นานขึ้น และค่าใช้จ่ายที่ เพิ่มขึ้นสำหรับผู้ให้บริการด้านการแพทย์

องค์กรควรจะปฏิบัติอย่างไรเพื่อรับมือกับปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นนี้?

รักษาและดึงดูดใจพนักงานคือ กุญแจสำคัญในการแก้ปัญหาการขาดแคลน Tech Talent

ดูเหมือนเป็นเรื่องที่ใครๆ ก็รู้ แต่ถ้าหากคุณไม่ใช่คนกระเป๋าหนัก หรือไม่สามารถแข่งกันขึ้นเงินเดือน รวมไปถึง การจัดตั้งโครงการนวัตกรรมที่น่าตื่นใจแบบยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีเช่น Google และ Amazon ได้ การเอา ชนะใจเพื่อรักษาสัมพันธ์ที่ดีขององค์กรและบุคคลากรเอาไว้ดูจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน ในโลกหลังการระบาดของ COVID–19 ซึ่งการทำงานนอกออฟฟิศ (remote work) และชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่นได้กลายเป็นกระแสหลัก คุณไม่เพียงแค่ต้องแข่งขันกับบริษัทต่างๆ ในประเทศเท่านั้น แต่คุณกำลังต้องแข่งขันกับคนทั้งโลก เพื่อรักษา Tech Talent คุณต้องรู้ว่าอะไรที่ทำให้นักพัฒนาโปรแกรม สนใจและมีแรงบันดาลใจที่จะทำงานที่เดิมต่อไป

จากรายงานผลสำรวจเงินเดือนประจำปี 2566 ของโรเบิร์ต วอลเตอร์ส ประเทศไทย เผยว่า Tech Talent ยังคง เป็นที่ต้องการสูงและยังพอรับข้อเสนอที่แข่งขันได้ ในขณะที่นายจ้างจำต้องปรับค่าตอบแทนและสวัสดิการ เพื่อการจ้างงานบุคคลากรในกลุ่มนี้และเพื่อรักษาพนักงานเก่าไว้

บริษัทกว่า 84% ยังคงมีความกังวลกับปัญหาการขาดแคลน Tech Talent ในสายงานของตน โดยมากกว่า 77% ชี้ว่ามีการขาดแคลนในตำแหน่งระดับ อาวุโส/หัวหน้าทีม และระดับผู้จัดการ

ผลการสำรวจยังแสดงให้เห็นว่า 9 ใน 10 บริษัทมีการเพิ่มทักษะของพนักงานเดิมอย่างสม่ำเสมอ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการทำภายในองค์กร

และมากกว่า 79% มีความคิดริเริ่มที่จะรักษาพนักงานไว้ด้วยการเพิ่มองค์ความรู้และส่งเสริมการพัฒนาที่ดีขึ้น มีนโยบายการทำงานแบบผสมผสาน รวมถึงเพิ่มผลตอบแทน/ค่าจ้าง สวัสดิการ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแก่พนักงาน ตลอดจนมีการประเมินผลงาน และเลื่อนตำแหน่งนอกรอบ

ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเกือบ 40% ของ Tech Talent มักคอย มองหาโอกาสใหม่ๆ โดยกว่า 53% ทำเช่นนั้นเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพการงาน

การแข่งขันในกลุ่ม Tech Talent จะทวีความรุนแรงมากขึ้นในปี 2566 เนื่องจาก Tech Talent รุ่นใหม่จำนวนมากอาจต้องการสร้างธุรกิจ ของตนเอง และมักจะลาออกก่อนที่จะเลื่อนขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหารระดับกลาง

ขณะที่แรงแรงจูงใจในการเปลี่ยนงาน 3 ลำดับแรกของ Tech Talent ได้แก่

1. การมองหาตำแหน่งงานใหม่ที่น่าสนใจ กว่าหรือมีตำแหน่งงานที่ซีเนียร์ขึ้น (55%)

2. การขาดโอกาสสร้างความก้าวหน้าในสายงาน โดยไม่สามารถปรับ ตำแหน่งให้สูงขึ้นกว่าเดิมได้ (31%)

และ 3. เงินเดือนและสวัสดิการที่ไม่น่าพึงพอใจในที่ทำงานปัจจุบัน (26%)

ผลชี้ว่า Tech Talent ต้องการงานที่มั่นคงและให้ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน ซึ่ง 68% ของพวกเขามองว่า เป็นสิ่งที่จะใช้ตัดสินว่านี่คือเส้นทางอาชีพในอุดมคติของพวกเขาหรือไม่ เพราะพวกเขาสามารถให้เวลากับ ครอบครัว เพื่อน และงานอดิเรกได้ มี Tech Talent เพียง 18% เท่านั้นที่เต็มใจกลับไปทำงานประจำที่ออฟฟิศ ในขณะที่ 64% ชอบแบบไฮบริด

จากงานวิจัยเกี่ยวกับทัศนคติของ นักพัฒนาโปรแกรมในองค์กรมีความสุขในการทำงานหรือไม่ หรือพวกเขาพร้อมที่จะไปทุกเมื่อ? (Developer Engagement: Are Your Developers Happy or Halfway Out the Door?) ที่ OutSystems และ Evans Data Corp ร่วมกันศึกษาจากนักพัฒนากว่า 800 คน ทั่วโลก ได้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้พวกเขามีแรงจูงใจและมีส่วนร่วมกับบริษัท ผลการสำรวจที่สำคัญพบว่า

1.นักพัฒนาโปรแกรมน้อยกว่าครึ่งมีแผนที่จะทำงานอยู่ที่บริษัทเดิม ถึงแม้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ (64%) จะรักงานของพวกเขา แต่มีจำนวนเพียง 48% เท่านั้นที่ มีแผนอย่างแน่นอน ที่จะทำงานอยู่กับนายจ้างปัจจุบันภายในหนึ่งปี และจำนวนเปอร์เซ็นต์นั้นก็ยังลดลงเหลือ เพียง 29% เมื่อเวลาขยับขึ้นเป็น 2 ปี

Souece: Developer Engagement: Are Your Developers Happy or Halfway Out the Door? OutSystems และ Evans Data Corp

2. ความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิตที่ดีขึ้นคือเหตุผลอันดับหนึ่งที่จะทำให้พวกเขาอยู่ต่อ เนื่องจากพนักงานจำนวนมากเลือกที่จะทำงานจากระยะไกลมากขึ้น การรักษาจำนวนพนักงานที่มีความสามารถ จึงกลายเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากขึ้น แรงจูงใจด้านการเงินและความ “สนุก” ที่ได้จากการทำงานในออฟฟิศ ไม่เพียงพอที่จะดึงดูดนักพัฒนาซอฟต์แวร์อีกต่อไปแล้ว

จากการสำรวจพบว่า 42% ของผู้ตอบแบบสอบถามมั่นใจว่า พวกเขาสามารถหางานใหม่ที่ดีกว่าได้โดยไม่ยากเมื่อพิจารณาจากตำแหน่งงานที่มีอยู่มากมายให้เลือก นักพัฒนาโปรแกรมต้องการเหตุผลที่ดีกว่าที่จะอยู่ทำงานที่เดิมต่อ และเมื่อถูกถามว่าอะไรเป็นแรงจูงใจสำคัญสำหรับพวกเขา คำตอบก็คือ

  • สมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงานดีขึ้น (50%)
  • เงินเดือนหรือค่าตอบแทนที่ดีขึ้น (28%)
  • ทีมงานที่ดีขึ้น (29%)

3. นักพัฒนาโปรแกรมบนแพลตฟอร์ม low code มีแนวโน้มที่จะทำงานต่อที่บริษัทเดิมมากกว่า องค์กรต่างๆ ได้นำแพลตฟอร์ม Low_code มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของนักพัฒนาโปรแกรม จากข้อมูลการสำรวจไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นว่า นักพัฒนาได้รับประโยชน์จากการใช้ Low Code แต่ยังแสดงให้ เห็นว่ามันมีความสำคัญในการสร้างแรงจูงใจด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • นักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เขียนโปรแกรม Low code มีแนวโน้มที่จะมีความพึงพอใจต่อเครื่องมือ ของตนสูงมากกว่านักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เขียนโปรแกรมแบบดั้งเดิม (57% เทียบกับ 36%)
  • 49% ของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า การเขียนโปรแกรม Low code ช่วยเพิ่มความคิด สร้างสรรค์
  • 50% ของนักพัฒนาที่ทำแบบสำรวจกล่าวว่า การเขียนโปรแกรม Low code ช่วยปรับปรุงคุณภาพของ แอปพลิเคชัน
  • แม้จะมีทีมนักพัฒนาที่เล็กกว่ามาก แต่นักพัฒนาที่เขียนโปรแกรม Low code กลับมีความพอใจกับขนาด ทีมของตนเป็นอย่างมาก
  • นักพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยโปรแกรม Low code ได้รับการเลื่อนตำแหน่งโดยเฉลี่ย 5 ครั้ง ในขณะที่เพื่อน ร่วมงานซึ่งเป็นนักพัฒนาโปรแกรมแบบดั้งเดิมได้เลื่อนตำแหน่งเฉลี่ยอยู่ที่ 2 ครั้ง
แก้ปัญหาการขาดแคลน Tech Talent ของคุณด้วยการใช้ Low Code platform

การเพิ่มทรัพยากร Tech Talent ให้กลับเข้ามาอยู่ในตลาดแรงงานถือเป็นเรื่องสำคัญ ในการตอบสนองความต้องการด้านความคล่องตัวและความสามารถในการปรับตัวในยุคสมัยแห่ง “ความเร่งด่วนด้านดิจิทัล” นี้ แม้ว่าปัญหาการขาดแคลน Tech Talent ทั่วโลกคงจะไม่หายไปในเร็วๆ นี้ แต่ Low Code จะเข้ามามีบทบาทสำคัญ ในการสร้างความมั่นใจให้กับนักพัฒนาโปรแกรมของคุณ และจะทำให้พวกเขาอยากมีส่วนร่วม และทำงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

Featued Image: Image by Freepik