“เรียนรู้วิธีการดึงดูดและรักษาบุคลากร Gen Z ที่มีความสามารถให้มาทำงานกันมากขึ้นในด้านความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ สำหรับ CISO ที่ต้องเรียนรู้ในสิ่งที่คนรุ่น Gen Z นั้นให้ความสำคัญ และต้องเปิดใจรับความแตกต่างอย่างมากระหว่างการทำงานของคนในรุ่นต่างๆ
ปีนี้ ค.ศ.2023 คนในรุ่น Gen Z คือผู้ที่เกิดช่วงปี ค.ศ.1994 ถึงปี ค.ศ.2010 ทำให้คนรุ่นนี้ มีอายุอยู่ระหว่าง 13 ถึง 29 ปี สามารถกล่าวได้ว่า Gen Z เติบโตมาพร้อมกับอัตราการวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีที่เร็วมาก เช่น iPhone เครื่องแรกเปิดตัวในเดือนมกราคม ค.ศ.2007 โดยมีรุ่นต่อมาในเดือนมิถุนายน ค.ศ.2008 ทำให้เกิดการอัพเดตเกือบทุกปี อีกทั้งอินเทอร์เน็ตเปลี่ยนจาก สิ่งใหม่ๆ ไปสู่สิ่งที่คนใช้กันทุกวันและเพิ่มขึ้นอีกจากการเข้าถึงด้วยสมาร์ทโฟน
เมื่อเร็วๆ นี้ ISACA (Information Systems Audit and Control Association) ซึ่งเป็นสมาคมวิชาชีพและองค์กรแห่งการเรียนรู้ระดับโลกมีสมาชิก 170,000 คน ที่ทำงานด้านความน่าเชื่อถือทางดิจิทัล ได้สำรวจผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์มากกว่า 1,900 คน พบว่า ในจำนวนนี้มีผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นคนรุ่น Gen Z จำนวนน้อยกว่าที่คาดไว้
ดังนั้นเพื่อดึงดูดและรักษาบุคลากร Gen Z ที่มีความสามารถให้มาทำงานกันมากขึ้นในด้านความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ (Cybersecurity) ผู้บริหารความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (CISO: Chief Information Security Officer) คงต้องเรียนรู้ในสิ่งที่คนรุ่น Gen Z นั้นให้ความสำคัญ และต้องเปิดใจรับความแตกต่างอย่างมากระหว่างคนในรุ่น Gen Z กับคนในรุ่นก่อนๆ
โดยบทความในฉบับมีมุมมองและรายละเอียดที่น่าสนดังนี้
สิ่งที่บุคลากร Gen Z คาดหวังจาก CISO
เหล่านักวิจัยและผู้ที่ได้ทำงานกับ Gen Z นั้นดูเหมือนจะเห็นพ้องต้องกันในหลายประเด็น คนในรุ่นนี้เห็นพ่อแม่และปู่ย่าตายายต้องดิ้นรนผ่านภาวะเศรษฐกิจถดถอย คนรุ่น Gen Z เติบโตมาในโลกที่เชื่อมต่อถึงกัน และคนรุ่นนี้ได้ใช้ชีวิตท่ามกลางการเกิดโรคระบาดทั่วโลก (Covid-19)
การเติบโตที่มาพร้อมกับการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีที่ง่ายขึ้น ทำให้คนรุ่น Gen Z มีแนวโน้มที่จะเข้าใจเทคโนโลยีและแอปพลิเคชันได้ง่ายขึ้น เมื่อพูดถึงการหางานนั้น Gen Z รู้ว่าตัวเองกำลังมองหาอะไร
ซามีรา แบนดารา หัวหน้าฝ่ายไอทีบริษัทเหมืองทอง St Barbara และมีอาชีพในการทำงานด้านความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ ได้กล่าว “ฉันพบว่า Gen Z มองหาโอกาสการจ้างงานที่สอดคล้องกับหลักจริยธรรม (Ethos) ของพวกเขา และพวกเขาก็อาจประนีประนอม กับผลประโยชน์ที่ได้ทางการเงิน
ในการทำเช่นนั้นคนรุ่น Gen Z ให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่น และการทำงานที่เหมาะสมกับชีวิตมากกว่าสิ่งอื่น”
ถ้ามองการเชื่อมโยงเข้ากับจริยธรรมนี้ยังหมายความถึง Gen Z มีแนวโน้มที่จะสร้างสิ่งใหม่มากกว่ายอมรับสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม คนในรุ่นนี้ให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่นดังที่ ซามีราชี้ให้เห็น
และมีโอกาสน้อยที่จะตกเป็นทาสในการทำงานเหมือนคนในรุ่นก่อนๆ ซึ่งอยู่ต่อหน้าจะไม่ตั้งคำถาม อันเป็นที่ชื่นชอบของ นายจ้างบางคน ในขณะเดียวกัน Gen Z ก็ต้องการอิสระ และเชื่อกันว่านั่นควรเป็นรางวัลที่ได้มาจากผลงาน
ซามีรา กล่าวเพิ่มว่า “ฉันยังพบมีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงระหว่าง วิธีที่คนรุ่น Gen X และ Gen Z ต้องเข้าไปนั่งอยู่ในชั่วโมงของการทำงาน (Office hours) ในทีมที่ฉันจ้างคนทั้งสองรุ่น ฉันพบว่าบุคลากร Gen X ให้ความสำคัญการนั่งอยู่ในชั่วโมงของการทำงานมากกว่าขณะที่บุคลากร Gen Z ให้ความสำคัญกับผลงานและประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่านั่งอยู่ในชั่วโมงของการทำงาน”
ลักษณะอื่นที่ ซามีรา สังเกตเห็นในขณะที่ทำงานกับคนในรุ่น Gen Z ก็คือ Gen Z มุ่งเน้นอย่างชัดเจนในการทำงานให้แก่บริษัทที่สอดคล้องกับค่านิยมของพวกเขา และสิ่งสำคัญจากมุมมองของ CISO ที่ทำงานกับ Gen Z ซึ่งคนใน รุ่นนี้ชอบความสัมพันธ์แบบเป็นการส่วนตัวกับผู้จัดการมากกว่าแบบเป็นลำดับชั้น
CISO ควรมองบุคลากร Gen Z อย่างไร
อีกประเด็นที่ผู้คนที่ ซามีราได้พูดคุยด้วย เห็นพ้องต้องกันก็คือ คนในรุ่น Gen Z จำเป็นต้องรู้ว่า “ทำไม” ก่อนที่จะตัดสินใจทำงานชิ้นนั้น เกือบเหมือนกันหมดพวกเขาจำเป็นต้องได้รับการโน้มน้าวจิตใจก่อน เมื่อเทียบกับคนรุ่นก่อนๆ ที่เริ่มงานชิ้นนั้นได้ทันที แม้จะมีความท้าทายเกิดขึ้น
แต่ยังมีข้อดีที่ต้องนำออกมาจากสิ่งเหล่านี้เช่นกัน ซามีรากล่าวว่า “หนึ่งในความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของฉันคือแนวโน้มที่คนในรุ่น Gen Z นั้น ชอบการสื่อสารผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ แม้ว่าพวกเขาจะนั่งอยู่ในตำแหน่งที่ตรงกันข้ามกับทีมงานก็ตาม เนื่องมาจากการสื่อสารในจำนวนมากนั้นสามารถตีความผิดได้”
“โดยไม่มีเงื่อนไข สิ่งนี้เป็นความท้าทายในการสร้างทีมที่แน่นแฟ้น ในทางกลับกันการนำการสื่อสารผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้นั้นแสดงให้เห็นข้อดีที่ได้รับ ซึ่งสามารถสร้างความสัมพันธ์กับใครบางคนที่ Gen Z ไม่เคยพบเจอ มาก่อน”
หนึ่งในบทเรียนที่ใหญ่ที่สุดซึ่ง ซามีรา ได้รับจากการทำงานกับคนในรุ่น Gen Z ก็คือ การใช้การสื่อสารผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถที่จะช่วยสร้างทีมที่แน่นแฟ้นและช่วยให้ทีมมีการบริหารจัดการได้อย่างถูกต้อง โดยทั่วไปนายจ้างคนอื่นๆ ของ Gen Z สังเกตเห็น ว่าพวกเขากระหายความรู้ ในบางครั้งสิ่งนี้อาจถูกมองว่าเกินไปหรือเปล่า
ซึ่งคนในรุ่น Gen Z เชื่อ ว่าถ้าพวกเขาทำงานสำเร็จและได้เรียนรู้จากงานชิ้นนั้นแล้ว รางวัลที่พวกเขาควรได้รับก็คือความรู้ใหม่เพื่อใช้ก้าวไปสู่ความท้าทายต่อไป
ในมุมมองของ บิลยานา เซริน CEO ของบริษัทให้คำปรึกษา Ostendo กล่าวว่า “คนรุ่น Gen Z ยังสามารถสื่อสารความคาดหวังของพวกเขาได้อย่างชัดเจน และขอข้อเสนอแนะได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ถ้าพูดถึงปฏิบัติตามนโยบายและขั้นตอนก็จะได้รับความร่วมมือที่ง่ายขึ้น เมื่อคนในรุ่นนี้ (Gen Z) เข้าใจถึงความสำคัญและเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังของสิ่งเหล่านี้”
ข้อคิดที่ฝากไว้
ตอนนี้คุณในฐานะของผู้บริหารความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (CISO) คงได้เรียนรู้วิธีบริหารจัดการคนในรุ่น Gen Z โดยทั่วไปคุณนั้นสามารถทำงานกับผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ ในองค์กร ได้อย่างฝ่ายทรัพยากรบุคคล เพื่อช่วยในการกำหนดตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญให้แก่คนรุ่น Gen Z ที่เหมาะสมในทีมงานความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์รวมทั้งวิธีทำงานกับคนในรุ่นนี้ โดยไม่ทำให้คนอื่นๆ ต้องออกไป
ดังนั้น จึงควรมุ่งเน้นไปที่ค่านิยมร่วมกัน ซึ่งคนรุ่น Gen Z มักมองหางานในองค์กรที่มีค่านิยมเดียวกัน ที่สำคัญคนในรุ่น Gen Z มีแนวโน้มที่จะย้ำเตือน CISO ถึงค่านิยมดังกล่าวหากพบว่าตนเองถูกขอให้ทำในสิ่งที่ขัดกับค่านิยม ดังนั้นจงเตรียมความพร้อมสำหรับสถานการณ์ดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้น
อ่านบทความทั้งหมดของ น.อ.สรรสิริ สิริสันตคุปต์
Featured Image: Image by Freepik