Saturday, April 27, 2024
ArticlesESGNEWS

ผลักดันการลงมือทำ เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่อนาคตที่ยั่งยืน ด้วยแนวคิด RETHINK SUSTAINABILITY

การปรับตัวเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่การดำเนินธุรกิจที่มุ่งไปสู่ความยั่งยืน เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีควบคู่ไปกับสร้างโลกที่ยั่งยืนนั้น ต้องอาศัยเม็ดเงินมหาศาล อีกทั้งยังต้องอาศัยองค์ความรู้ เทคโนโลยี และโมเดลธุรกิจแห่งอนาคตควบคู่กัน

ากการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติครั้งที่ 28 หรือ COP28 ตลอดจนการประชุม World Economic Forum 2024 หรือ WEF ที่เพิ่งเกิดขึ้น ตอกย้ำให้เห็นว่าทั่วโลกให้ความสำคัญกับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และหารือแนวทางในการจัดการปัญหานี้

จากรายงานความคืบหน้าในการทบทวนสถานการณ์และการดำเนินงานระดับโลก (Global Stocktake Synthesis Report) ของสหประชาติที่เผยแพร่ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นความจริงอันน่าตกใจว่า นโยบายการบริหารของภาครัฐทั่วโลกในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมยังไม่เป็นผลดีนัก ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นถึง 2.6 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าเมื่อเทียบกับก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม ตลอดจนการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงปารีสนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้

จิรวัฒน์  สุภรณ์ไพบูลย์ Executive Chairman, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย

ท่ามกลางสถานการณ์โลกเดือด แม้นโยบายภาครัฐต่างๆ จะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของการเปลี่ยนแปลง แต่แท้จริงแล้วการปรับตัวของภาคเอกชนไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ก็มีส่วนสำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งการปรับตัวเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่การดำเนินธุรกิจที่มุ่งไปสู่ความยั่งยืนเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีควบคู่ไปกับสร้างโลกที่ยั่งยืนนั้น ต้องอาศัยเม็ดเงินมหาศาล

อีกทั้งยังต้องอาศัยองค์ความรู้ เทคโนโลยี และโมเดลธุรกิจแห่งอนาคตควบคู่กันไป เช่น การลงทุนในทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานไฟฟ้า และสำหรับนักลงทุนเองนั้นก็จำเป็นต้องวางแผนรับมือกับยุคของการเปลี่ยนผ่านนี้เช่นกัน ด้วยการปรับกลยุทธ์การลงทุนใหม่ให้สอดคล้องและทันกับการเปลี่ยนแปลง เพราะธุรกิจที่เคยดีหรือทำกำไรในอดีต อาจจะไม่สามารถทำแบบเดิมได้อีกต่อไป และหากนักลงทุนไม่สามารถปรับตัวได้ทันก็จะพลาดโอกาสในการลงทุนเช่นกัน

ทำความรู้จักแนวคิด Rethink Sustainability

“Rethink Sustainability” คือแนวคิดจากลอมบาร์ด โอเดียร์ Lombard Odier ไพรเวทแบงก์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกจากสวิสเซอร์แลนด์ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2339 ผ่านวิกฤตทางการเงินกว่า 40 ครั้ง  ปัจจุบันมีทรัพย์สินภายใต้การจัดการ (Asset Under Management: AUM) มูลค่ารวมกว่า 345 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลอมบาร์ด โอเดียร์ เน้นกลยุทธ์ในการสร้างผลตอบที่ยั่งยืนแก่ลูกค้าผ่านโซลูชั่นการลงทุน โดยใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต  โดยผู้เชี่ยวชาญที่มีการประเมินความเสี่ยงจากสภาวะเศรษฐกิจ วิกฤตทางการเงิน  ตลอดจนภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น นับว่าเป็นกลยุทธ์ที่วิเคราะห์ถึงปัจจัยรอบด้านอย่างครบถ้วน เพื่อมุ่งออกแบบแผนการลงทุนที่สร้างผลตอบแทนอย่างยั่งยืนควบคู่กับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และโลกในอนาคต

ลอมบาร์ด โอเดียร์ เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเพื่อมุ่งไปสู่ความยั่งยืนเป็นแนวคิดที่จะส่งผลกระทบต่อทุกอุตสาหกรรมในอนาคต  โดยจะเปลี่ยนแปลงไปสู่การสร้างเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ คือ CLIC Economy ที่มีการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน (Circular) ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า (Lean)  ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ (Inclusive) และเป็นธุรกิจที่ช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมที่สะอาด (Clean) ซึ่งนักลงทุนควรที่จะได้เรียนรู้และเข้าใจแนวคิดนี้ เพื่อสร้างโอกาสในการวางแผนการลงทุน พร้อมลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในยุคที่มีการเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกที่ยั่งยืน

แนวคิดเพื่อความยั่งยืนวิถีใหม่ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันธุรกิจ

การเปลี่ยนผ่านไปสู่ Net Zero ถือเป็นความท้าทาย เพราะทรัพยากรธรรมชาติถูกใช้งานอย่างสิ้นเปลืองจนเกินขอบเขต ทำให้ทุกภาคส่วนทั้งภาคธุรกิจและประชาชนจะต้องปรับตัวอย่างจริงจัง เพื่อให้แต่ละประเทศสามารถบรรลุเป้าหมายข้อตกลงปารีสในการลดภาวะโลกร้อน เพื่อลดอุณหภูมิโลกให้ไม่เพิ่มเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส รวมถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ภายในปีพ.ศ. 2593 ด้วยความมุ่งมั่นตามข้อตกลงนี้ชี้ให้เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่รูปแบบเศรษฐกิจทั่วโลกควรจะเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจรูปแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน และ CLIC Economy จากการวิจัยที่ผ่านมาของลอมบาร์ด โอเดียร์ เชื่อว่าในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ที่ดิน ระบบพลังงาน และภาคการผลิต จะมีการสร้างแนวทางใหม่ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

นอกจากนี้การกำหนดราคาคาร์บอนจะเป็นปัจจัยหลักในการจัดสรรเงินทุนเพื่อปรับแผนการบริหารให้เหมาะสม รวมถึงการหาแนวทางในการจัดการคาร์บอนสุทธิให้เป็นศูนย์ (Net Zero Carbon Emissions) จะเป็นพันธกิจหลักที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญ

ปัจจุบันทั่วโลกต่างปรับตัวตามกฎเกณฑ์ใหม่เพื่อหาแนวทางลดอุณหภูมิโลก รวมทั้งรัฐบาลทั่วโลกต่างก็เพิ่มการสนับสนุนการรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้นผ่านหลากหลายโครงการ เช่น การออกนโยบาย EU Green Deal,  การออกกฎหมายลดเงินเฟ้อของประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงนโยบายการพัฒนาการใช้พลังงานทดแทนของประเทศจีนที่มุ่งพัฒนาให้เกิดขึ้นจริงใน 5 ปี ข้างหน้า ด้วยเป้าหมายในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส

ลอมบาร์ด โอเดียร์ คาดการณ์ว่าจะเกิดเม็ดเงินลงทุนมูลค่า 34 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (หรือกว่า 1.2 พันล้านล้านบาท) ภายในปีพ.ศ. 2573 ซึ่งอุตสาหกรรมที่ปรับตัวได้ทันสอดรับกับเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมนี้จะสามารถสร้างโอกาสการลงทุนมหาศาลและสร้างผลตอบแทนที่มีมูลค่าสูงในอนาคต ด้วยแนวคิดที่อ้างอิงได้ตามหลักการวิทยาศาสตร์ และวิสัยทัศน์ที่ก้าวหน้า  ลอมบาร์ด โอเดียร์ ได้มีการวางแผนการบริหารพอร์ตการลงทุนตามสภาวะเศรษฐกิจ และเน้นกลยุทธ์ใหม่ๆ ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสอดคล้องกับเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกเป็นสำคัญ เพื่อขานรับแนวคิดเศรษฐกิจใหม่แห่งอนาคต

ส่งผ่านแนวคิดเพื่อความยั่งยืน จากดูไบสู่ดาวอส  

ธรรมชาติ คือหัวใจสำคัญที่สามารถลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ  การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติมีส่วนช่วยในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส ภายในปีพ.ศ. 2573 ได้ถึงหนึ่งในสาม ลอมบาร์ด โอเดียร์ ในฐานะผู้นำในการขับเคลื่อนการสร้างความยั่งยืน ได้จัดบรรยายในหัวข้อ re-NATURE Hub  เพื่อเผยแพร่ทิศทางการลงทุนที่สำคัญ เพื่อตอกย้ำบทบาทของภาคการเงิน ภาคเอกชน และภาครัฐ ซึ่งแรงขับเคลื่อนหลักที่จะต้องวางแผนร่วมกันเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายข้อตกลงปารีสในอนาคต โดยสอดรับกับสาระสำคัญในการจัดประชุมสุดยอดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ ครั้งที่ 28 (COP28) ณ ดูไบ ซึ่งเป็นการประชุมที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนระบบการจัดการอาหาร การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำของภาคอุตสาหกรรม ไปจนถึงระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน

มร.ฮูแบร์ เคลเลอร์  Senior Managing Partner, Lombard Odier

มร.ฮูแบร์ เคลเลอร์  Senior Managing Partner, Lombard Odier  กล่าวว่า “ระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยใช้แนวทางการฟื้นฟูธรรมชาติจะสามารถช่วยให้เราก้าวข้ามระบบเศรษฐกิจในยุคปัจจุบันได้ ผ่านการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ไปสู่โลกของ Net Zero ซึ่งเป็นโอกาสการลงทุนที่สำคัญที่สุดของยุคนี้”

โดยยังตอกย้ำความสำคัญของแนวคิดด้านความยั่งยืนจากงานประชุม World Economic Forum 2024  ที่เมืองดาวอสเมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ผู้นำและผู้บริหารจากทั่วโลกต่างลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ทุกองค์กรต้องปรับการบริหารไปสู่การบริหารบนแนวทางแห่งความยั่งยืนว่า

“ธรรมชาติคือสินทรัพย์การลงทุนที่มีมูลค่ามหาศาล (Nature As A New Asset Class) เมื่อพูดถึงการจัดการความท้าทายด้านสภาพภูมิอากาศ โลกได้มุ่งความสนใจไปที่การจัดการคาร์บอนมานานกว่า 20 ปี ซึ่งตอนนี้เราทุกคนกำลังหันกลับไปให้ความสำคัญที่ธรรมชาติ จากในอดีตที่ทรัพยากรถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีราคาต่ำที่สุดแต่กลับมีมูลค่ามากที่สุดในยุคปัจจุบัน”

คิดใหม่และเริ่มลงมือทำ เพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืนในไทย

นอกจากเวทีระดับโลกแล้ว  การหารือแนวทางต่างๆ ภายในประเทศก็มีความสำคัญ เพื่อตอกย้ำความสำคัญของการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นกับโลกในอนาคต การสร้างการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทย เพื่อมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจไทยไปสู่การสร้างโลกที่ยั่งยืนให้เกิดขึ้นจริง KBank Private Banking ร่วมกับพันธมิตร

ลอมบาร์ด โอเดียร์ เชื่อมั่นในพลังของการลงทุน จึงตอกย้ำบทบาทของไพรเวทแบงก์ ซึ่งเป็นตัวแทนของนักลงทุนที่มีศักยภาพในการช่วยผลักดันเศรษฐกิจของไทยไปสู่ความยั่งยืนได้ อีกทั้งยังเป็นโอกาสให้นักลงทุนเองสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในอนาคตด้วยโอกาสการลงทุนใหม่ๆ

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Executive Chairman, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า “นักลงทุนถือเป็นหนึ่งในผู้นำในการขับเคลื่อนโลก และสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในสังคมผ่านการกำหนดกลยทุธ์การลงทุนที่เหมาะสม ฉะนั้นนักลงทุนจะต้องตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ อันเป็นสิ่งที่มีค่ามหาศาลในการลงทุนในอนาคต และจะเป็นทางรอดสำคัญที่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยให้มุ่งไปสู่ยั่งยืนได้” KBank Private Banking ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน มองว่าแนวคิดการลงทุนอย่างยั่งยืนเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องร่วมกันสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทยด้วยการลงมือทำ

จิรวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า “เราเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ประเทศไทยเพื่อเปลี่ยนไปสู่สังคมแห่งความยั่งยืน จึงเป็นที่มาของการจัดงาน “Rethink Sustainability: A Call to Action for Thailand” ขึ้นในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567

โดยร่วมมือกับพันธมิตรรวบรวมผู้เชี่ยวชาญแนวหน้าระดับโลกและประเทศไทยที่มีความเชี่ยวชาญในการขับเคลื่อนภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมและการวางแผนการลงทุนเพื่อมุ่งไปสู่ความยั่งยืน ซึ่งไม่เพียงตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของความยั่งยืนในเชิงความคิดเท่านั้น แต่เป็นงานสัมมนาที่ต้องการจุดประกายให้เกิดการลงมือทำเพื่อสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง”

ท่านที่สนใจสามารถติดตามข่าวสาร และประเด็นสำคัญในด้านความยั่งยืน (Sustainability) เพื่อเป็นแนวทางสำหรับปรับใช้กับการบริหารธุรกิจของท่านจากสัมมนาแห่งปี “Rethink Sustainability: A Call to Action for Thailand”

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของงานได้ที่ : https://www.kasikornbank.com/en/News/Pages/rethink-sustainability-forum.aspx