Tuesday, October 8, 2024
FinTechNEWS

จีเอเบิล รุกตลาด FinTech ชูจุดแข็ง End-to-End Digital Lending

จีเอเบิล รุกตลาด FinTech เมกะเทรนด์โลกการเงิน ชูจุดแข็ง “End-to-End Digital Lending” การให้บริการสินเชื่อ ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มอย่างครบวงจรในทุกมิติ

ดร.ชัยยุทธ ชุณหะชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทจีเอเบิล

กลุ่มบริษัทจีเอเบิล (G-Able) ผู้นำด้าน “Tech Enabler” ที่ช่วยยกระดับธุรกิจสู่ยุคดิจิทัลในทุกมิติ เตรียมรุกตลาด FinTech (Financial Technology) รับเมกะเทรนด์โลกการเงิน ชูจุดแข็งโดดเด่นไม่เหมือนใคร ด้วย “End-to-End Digital Lending” การให้บริการด้านสินเชื่อผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม อย่างครบวงจรในทุกมิติ อำนวยความสะดวกธุรกิจผู้ให้บริการสินเชื่อให้มีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยยิ่งกว่าเดิม

ดร.ชัยยุทธ ชุณหะชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทจีเอเบิล กล่าวว่า “ทุกวันนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่า FinTech หรือเทคโนโลยีด้านการเงินเข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันของทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่เป็นตัวเร่งในการขับเคลื่อนให้ทุกคนเข้าไปอยู่ในโลกดิจิทัลมากขึ้น

จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่าจำนวนบัญชีผู้ที่ใช้บริการ Mobile Banking มีประมาณ 84 ล้านบัญชีในสิ้นปีที่ผ่านมา ตลอดจนเรื่องของ Digital Lending การให้บริการด้านสินเชื่อผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม รวมถึง Cryptocurrency ที่เข้ามาเป็นเทรนด์ทำให้ตลาด FinTech เติบโตอย่างก้าวกระโดดมากขึ้น

และจากข้อมูลการระดมทุนเกี่ยวกับ Fintech ในประเทศไทยพบว่าอัตราการเติบโตในปีที่ผ่านมาของ Fintech อยู่ที่ 60% เมื่อเทียบกับปี 2020 และคาดการณ์ว่าจะโตต่อเนื่องถึง 90 % ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ฉะนั้นธุรกิจที่เป็นผู้ให้บริการทั้ง Bank และ Non-Bank จำเป็นต้องลงทุนทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ทั้งความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ในการให้บริการแก่ลูกค้า และเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันอย่างไร้ขีดจำกัดในยุคปัจจุบัน”

ปวรุตม์ เลียวรักษ์โอฬาร FinTech Commercial Director กลุ่มบริษัทจีเอเบิล

ปวรุตม์ เลียวรักษ์โอฬาร FinTech Commercial Director กลุ่มบริษัทจีเอเบิล กล่าวว่า “ด้วยความเป็นผู้นำทางด้าน Tech Enabler ของจีเอเบิลที่มองเห็นโอกาสในตลาด FinTech จึงทำให้จีเอเบิลนำศักยภาพและความเชี่ยวชาญที่มีอยู่ มาพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินใหม่ๆ ในรูปแบบดิจิทัลอย่าง End-to-End Digital Lending” การให้บริการด้านสินเชื่อผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม ที่ตอบโจทย์ลูกค้าในยุคปัจจุบันได้อย่างครบวงจรในทุกมิติ”

ซึ่งพื้นที่หลักพื้นฐานที่ครอบคลุมธุรกิจ Digital Lending มีอยู่ 2 ส่วนสำคัญ คือ

  1. Customer Engagement Platform

ช่องทาง Engagement ที่ลูกค้าสามารถติดต่อกับผู้ให้บริการได้ไม่ว่าจะเป็น Website, Mobile Application หรือระบบตัวแทน โดยผู้ให้บริการสามารถใช้ช่องทางเหล่านี้นำเสนอจุดเด่นทางธุรกิจ เช่น กู้ง่าย อนุมัติไว สะดวก รวดเร็วทันใจ โดยใช้เทคโนโลยี RPA (Robotic Process Automation) เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้จะอยู่ภายใต้ PDPA  หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่ทำให้ลูกค้ามั่นใจในความปลอดภัยของข้อมูล นอกจากนี้จีเอเบิลยังมีบริการทำการตลาดออนไลน์ ที่ช่วยส่งเสริมให้พื้นที่ธุรกิจในส่วนนี้มีศักยภาพ และเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น

  1. Enterprise Lending System

 ระบบที่รองรับการทำธุรกรรมทุกรูปแบบ เช่น ออกสัญญา ติดตามสัญญา คำนวณดอกเบี้ย เก็บข้อมูลTransaction จัดรูปแบบของลูกค้า และสามารถแจ้งเตือนผู้ให้บริการได้ว่าต้องเรียกเก็บหนี้จากลูกค้ารายไหนบ้าง ซึ่งระบบนี้ถือเป็น Core Business Application สำหรับการทำธุรกิจ Digital Lending

ทั้ง 2 ส่วนนี้เป็นพื้นที่หลักพื้นฐานต่อการประกอบธุรกิจ Digital Lending โดยจีเอเบิลพร้อมให้บริการที่ครอบคลุมในส่วนพื้นฐานนี้ และยังพร้อมนำเสนอเทคโนโลยีและระบบอีกมากมาย ที่ช่วยอัปเกรดระบบหลังบ้านให้สามารถรองรับลูกค้า และจัดการเอกสารสำคัญที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งระบบทั้งหมดจะดำเนินการอยู่บน Cloud ที่มีเทคโนโลยี Cybersecurity คอยดูแลความปลอดภัยควบคู่กันไป เพื่อเตรียมพร้อมต่อการแข่งขันอย่างดุเดือดของอุตสาหกรรมนี้ โดยเทคโนโลยีและระบบที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพดังกล่าวได้แก่

  • ระบบ ECM (Enterprise Content Management) : ระบบในการช่วยจัดเก็บและคัดแยกหมวดหมู่ข้อมูล หรือเอกสารสำคัญ ให้เป็นระเบียบและจัดการง่าย ด้วยระบบ Cloud และ Strong Room
  • ระบบ OCR (Optical Character Recognition) : ระบบที่ช่วยในการแปลงเอกสารต่างๆ ให้อยู่ในรูปของไฟล์ดิจิทัล
  • ระบบ E-tax/ E-signature : ระบบจัดการภาษีและจัดส่งภาษี รวมถึงการลงนามในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ส่งให้กับสรรพากรแบบรายเดือน
  • ระบบ Appraisal Management : ระบบกระจายให้เจ้าหน้าที่ไปประเมินสินทรัพย์ลูกค้าเพื่อขอสินเชื่อผ่านแผนที่ และส่งกลับมาให้ระบบประเมินได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
  • ระบบ Alternative Credit Scoring : ระบบที่จะใช้ Digital Footprint ของลูกค้า เช่น ประวัติ Online Shopping ประวัติการสั่งอาหาร และTransaction ใน Mobile Banking ซึ่งจะช่วยในการประเมินศักยภาพการจ่ายหนี้ของลูกค้า
  • ระบบ Collection Loss : ระบบที่นำ Machine Learning มาช่วยวิเคราะห์รูปแบบการทวงหนี้ให้ตรงความพึงพอใจลูกค้า เพื่อให้เกิดการชำระหนี้ที่ตรงเวลา และสร้างหนี้เสียให้น้อยที่สุด
  • ระบบ Data Platform และ Growth Hacking : ระบบที่ช่วยติดตามความเคลื่อนไหวของลูกค้าที่เข้ามาใช้แพลตฟอร์ม เพื่อวิเคราะห์และออกแบบกลยุทธ์ให้ตรงใจลูกค้า

สำหรับองค์กรที่จะเข้าสู่ธุรกิจ Digital Lending ที่กล่าวมานั้น จีเอเบิลพร้อมให้บริการด้วย Business Model 2 รูปแบบดังนี้

  1. Project Base การให้บริการติดตั้งระบบ พร้อมให้บริการที่ตอบโจทย์ทุกมิติสำหรับธุรกิจที่ต้องการมีดิจิทัลแพลตฟอร์มเป็นของตนเอง
  2. Software as a Service การให้บริการรายเดือนสำหรับธุรกิจที่ต้องการความรวดเร็วในการเข้าสู่ตลาด

“การใช้ Digital Lending ของจีเอเบิลจะทำให้ลูกค้า (End User) สามารถขอสินเชื่อได้ง่ายขึ้น สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ส่วนองค์กรธุรกิจจะได้รับการบริการที่ตอบโจทย์อย่างครบวงจร หรือสามารถเลือกรับบริการเฉพาะบางส่วน ด้วยรูปแบบการให้บริการที่ยืดหยุ่นนี้

องค์กรธุรกิจไม่เพียงแต่สามารถเพิ่มขีดจำกัดทางการแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังสามารถขยายฐานลูกค้าได้มากขึ้น พร้อมต่อยอดธุรกิจที่จะสร้าง New S-Curve ได้ต่อไปในอนาคต” ปวรุตม์ กล่าวเสริม