Friday, October 4, 2024
MarTechNEWS

ซีพี ออลล์ ร่วมส่งเสริมการศึกษาเพื่อชีวิตที่ดีกว่า Education for better life

ซีพี ออลล์ ร่วมส่งเสริมการศึกษาเพื่อชีวิตที่ดีกว่า Education for better life หนุนนวัตกรรมการเรียนการสอนสู่ผู้บริหาร ผอ. และคณะครูกลุ่มโรงเรียนร่วมพัฒนา

ณะทำงานโครงการสานอนาคตการศึกษา (CONNEXT ED) บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ นำกลุ่มโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School) ภายใต้การดูแลของบมจ. ซีพี อออล์ จำนวน 9 โรงเรียน

เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “Main Course การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL PLC”  ณ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา หรือ “โรงเรียนนอกกะลา”อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นไปตามนโยบายส่งเสริมการศึกษาเพื่อชีวิตที่ดีกว่า Education for better life ของบมจ.ซีพี ออลล์

ยุทธศักดิ์  ภูมิสุรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (รษก) บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)

โดยโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการสามารถสร้างแบบอย่างในการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน และนวัตกรรมพัฒนาองค์กร ที่ส่งผลในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ถึงพร้อมทั้งปัญญาภายใน ผ่านกระบวนการนวัตกรรมจิตศึกษา และปัญญาภายนอกผ่านการเรียนรู้หน่วยบูรณาการ PBL (Problem – Based Learning) ฐานสมรรถนะ การเรียนภาษาไทย

โดยใช้วรรณกรรมเพื่อการคิดขั้นสูง การเรียนคณิตศาสตร์ Pro-active และการเรียนภาษาต่างประเทศโดยใช้ Applications ซึ่งผู้เรียนจะได้รับการฝึกฝนแก้ปัญหาจากการจำลองสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับชีวิตจริง เพื่อให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะและสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงได้

ยุทธศักดิ์  ภูมิสุรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (รษก) บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น  อีเลฟเว่นและเซเว่น เดลิเวอรี่ กล่าวว่า ในการสนับสนุนโรงเรียนร่วมพัฒนาทั้ง 9 โรงเรียนได้เข้าอบรมในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายส่งเสริมการศึกษาเพื่อชีวิตที่ดีกว่า Education for better life ของบมจ.ซีพี ออลล์  และภายใต้กรอบแนวคิดความยั่งยืนในการบริหารจัดการโรงเรียน 1 ใน 3 มิติ

นั่นคือการบูรณาการหลักสูตร นอกเหนือจากการพึ่งพาตนเองได้ และการเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนในชุมชน ทุกโครงการพัฒนาโรงเรียนต่างก็มีความโดดเด่นและที่มาแตกต่างกันตามบริบทปัญหาของแต่ละที่ เมื่อได้รับงบประมาณดำเนินการจากซีพี ออลล์ไปแล้ว ทำอย่างไรให้โครงการเหล่านั้นเป็นเสมือนสื่อการเรียนรู้ที่จับต้องได้ มีชีวิต มีแนวคิด แนวปฏบัติที่สอดคล้องเชื่อมโยงกับหลักสูตรแกนกลางทั้ง 8 กลุ่มสาระ และหลักสูตรฐานสมรรถนะที่ทางศธ.กำลังผลักดัน

ตรีเทพ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ประธานคณะทำงานโครงการสานอนาคตการศึกษา บมจ.ซีพี ออลล์

ด้านตรีเทพ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ประธานคณะทำงานโครงการสานอนาคตการศึกษา บมจ.ซีพี ออลล์  กล่าวเสริมว่า การสนับสนุนให้โรงเรียนมาร่วมอบรมสัมมนาในครั้งนี้จึงเป็นเสมือนการฝึกฝนทบทวนทักษะ (Re-Skill) และการเพิ่มทักษะ (Up-Skill) ให้กับผู้บริหารสถานศึกษาและคุณครูไปในตัว

เพื่อกลับไปออกแบบหน่วยการเรียนเฉพาะของตนก่อนพัฒนาเป็นหลักสูตรท้องถิ่นที่มุ่งเน้นดึงศักยภาพในตัวเด็กออกมาได้อย่างเต็มที่ก่อนส่งต่อให้เขาได้ไปเรียนในระดับที่สูงขึ้น หรือบางคนอาจต้องออกไปใช้ชีวิตตามเหตุจำเป็นได้อย่างสมบูรณ์พร้อมที่สุด

ทั้งนี้ตัวแทนกลุ่มโรงเรียนร่วมพัฒนาที่เข้าร่วมการอบรมกล่าวทิ้งท้าย ขอบคุณซีพี ออลล์ ที่มอบโอกาสในการอบรมเชิงปฏิบัติการ และร่วมสังเกตการณ์ถึงวิถีชีวิตประจำวัน รวมถึงพฤติกรรมของนักเรียนในสถานที่จริงครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และมีคุณค่าอย่างยิ่ง ทำให้ครูมีความรู้และประสบการณ์เพิ่มขึ้น จึงขอน้อมนำไปปฏิบัติ และปรับใช้เป็นหลักสูตรเพื่อพัฒนานักเรียนของตนต่อไป

อนึ่งโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา Partnership School เป็นโครงการที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการพัฒนาขึ้นโดยนำแนวคิดการดึงภาคเอกชน ชุมชน สังคม และสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนขั้นพื้นฐานในแต่ละท้องที่ ผ่านรูปแบบการให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนและบริหารโรงเรียนในฐานะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และบมจ.ซีพี ออลล์ ก็นับเป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัทที่ร่วมก่อตั้งโครงการ

โดยร่วมโครงการตั้งแต่รุ่นที่ 1 ดูแล 2 โรงเรียน และถึงปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 3 มีโรงเรียนที่ร่วมบริหารรวมทั้งสิ้น 9 โรงเรียน จากกว่า 150 โรงเรียนในโครงการทั่วประเทศ ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว จะกลายเป็นโมเดลพัฒนาโรงเรียนที่สามารถแบ่งปันศักยภาพ ทรัพยากรของทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชนท้องถิ่นมาช่วยกันพัฒนาโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพบรรลุผลในการสร้างทรัพยากรบุคคลที่ตอบโจทย์ตลาดแรงงานรองรับการแข่งขันในตลาดการค้าเสรีต่างๆในอนาคตต่อไป