Sunday, April 28, 2024
NEWS

สภาอุตฯ ร่วม 3 สมาคม ผนึก เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย โชว์ความพร้อมการจัดงาน Pack Print International 2023 และ Corrutec Asia 2023

Pack Print

สภาอุตฯ ร่วม 3 สมาคม “การพิมพ์-บรรจุภัณฑ์-กระดาษลูกฟูก” ผนึกเมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย ยกทัพเครือข่ายกว่า 300 ราย โชว์ศักยภาพในงาน Pack Print International 2023 และ Corrutec Asia 2023 พร้อมชูฮับไทยโดดเด่นครองตลาดอาเซียน ตั้งเป้าปี 67 โตแกร่ง 10%

ภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย สมาคมการพิมพ์ไทย สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย สมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย ผนึก บริษัท เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย โชว์ความพร้อมการจัดงาน Pack Print International 2023 และ Corrutec Asia 2023 หรือ งานมหกรรมแสดงสินค้านานาชาติด้านอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์การพิมพ์ครั้งที่ 9 และกระดาษลูกฟูกแห่งภูมิภาคเอเชีย ครั้งที่ 2

เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 – 23 กันยายน 2566 ตอกย้ำความแข็งแกร่งและฉายศักยภาพการเป็นผู้นำด้านการผลิตที่โดดเด่นที่สุดในอาเซียน เพื่อเปิดโลกอนาคตแห่งนวัตกรรมสุดล้ำ อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Economy) บรรจุภัณฑ์พรีเมียม (Premium Design) เทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัย (Safety & Security) และบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน (Sustainability) เป็นต้น พร้อมชูกลยุทธ์ส่งเสริมความยั่งยืนของทั้ง 3 ภาคอุตสาหกรรม

ได้แก่อุตสาหกรรมการพิมพ์กับแนวคิดเชื่อมโยงระหว่างสื่อสิ่งพิมพ์กับโลกดิจิทัล อุตสาหกรรมการบรรจุภัณฑ์ที่พร้อมผลักดันด้านเทคโนโลยีเพื่อออกแบบบรรจุภัณฑ์ฟังชันก์สุดล้ำ และบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกที่ชูโซลูชั่นต่อยอดความยั่งยืนระยะยาวด้วยแนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน เชื่อมั่นอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ปี 67 เติบโตขึ้น 10%

เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า แนวโน้มภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในปีที่ผ่านมาจนถึงปี 2566 มีการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นสัญญาณที่ดีต่อภาคอุตสาหกรรมไทยทั้งในปีนี้และปีถัดไปเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมในภาคการพิมพ์ และการบรรจุภัณฑ์ ที่ทางสภาอุตสากรรมฯ ให้ความสำคัญและผลักดันมาโดยตลอด

เนื่องจากเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญและมีโซลูชั่นในการซัพพอร์ตกระบวนการผลิตของหลากหลายภาคธุรกิจบริการที่มีมูลค่าสูงในปัจจุบัน และนับว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

โดยปัจจุบันมูลค่าของอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์มีการเติบโตขึ้นราว 5 % มูลค่าตลาดโดยรวมอยู่ประมาณ 350,000 ล้านบาท แบ่งเป็นอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ 60% อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ 40%และคาดการณ์ปี 2567 จะเติบโตขึ้นอีกกว่า 10%

เกรียงไกร กล่าวต่อว่า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในฐานะตัวแทนผู้ประกอบการอุตสาหกรรม จึงมีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนผู้ประกอบการการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ในภาวะการณ์การเติบโตของกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และการบรรจุภัณฑ์

จึงมีการเน้นย้ำและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อรองรับการผลิตเพื่อให้เกิดความยั่งยืน เพิ่มโอกาสการแข่งขัน ศักยภาพ และสร้างโอกาสในการเติบโตในการขยับขยายธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการ พร้อมตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่ผันเปลี่ยนไปตามรูปแบบการใช้ชีวิตทั้งในปัจจุบันและอนาคต

เกอร์นอท ริงลิ่ง กรรมการผู้จัดการบริษัท เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย

“ประเทศไทยมีความโดดเด่นด้วยตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นฐานผลิตใหญ่ที่มีเสถียรภาพอันแข็งแกร่ง ทั้งนี้สภาอุตสาหกรรมฯ เตรียมเดินหน้าเร่งพัฒนาศักยภาพของผู้ผลิตรายใหญ่ และรายย่อย

รวมถึงกลุ่มสตาร์ทอัพในประเทศไทย ด้วยการเสริมสร้างโอกาสความร่วมมือในการลงทุนและการส่งออกไปในทั่วทุกภูมิภาคทั่วโลก เพื่อผลักดันและขยายฐานของภาคอุตสาหกรรมฯ ก้าวสู่เวทีการแข่งขันและชิงส่วนแบ่งการตลาดในระดับโลกต่อไป” เกรียงไกร กล่าวสรุป

ด้าน เกอร์นอท ริงลิ่ง กรรมการผู้จัดการบริษัท เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย กล่าวว่า ปัจจุบันเมกะเทรนด์ที่ผู้บริโภค ทั่วโลกหันมาตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องความยั่งยืน ผ่านการสนับสนุนสินค้ารักษ์โลกกันมากขึ้น เช่นเดียวกับกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ที่มุ่งดำเนินธุรกิจโดยให้ความสำคัญสิ่งแวดล้อม

อาทิ การใช้วัสดุที่ปลอดภัย การพัฒนาบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก และแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นับเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้อนาคตอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์เติบโตมากยิ่งขึ้น

และเพื่อตอกย้ำถึงศักยภาพของประเทศไทยที่เป็นผู้นำและฐานผลิตที่โดดเด่นที่สุดในภูมิภาคอาเซียนของทั้ง 3 อุตสาหกรรม จึงได้มีการเดินหน้าจัดงานมหกรรมแสดงสินค้านานาชาติด้านอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์การพิมพ์ และกระดาษลูกฟูกแห่งภูมิภาคเอเชีย หรือ “Pack Print International 2023 and Corrutec Asia 2023”

เพื่อเปิดพื้นที่ให้ผู้ประกอบการและผู้ที่เกี่ยวข้องจัดแสดงนวัตกรรมด้านการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ที่ล้ำสมัย แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยีใหม่ เพื่อนำไปต่อยอดทางธุรกิจ ก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันระดับสากลในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวในปัจจุบันต่อไป

เกอร์นอท กล่าวต่อว่า Pack Print International 2023 and Corrutec Asia 2023 มหกรรมแสดงสินค้านานาชาติด้านอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์การพิมพ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมเป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูก ผ่านเวทีจัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์

ทั้งนี้ยังได้ผนึกกำลังจัดร่วมกับพันธมิตรด้านอุตสาหกรรมชั้นนำเช่น T-PLAS, wire and Tube Southeast Asia, GIFA และ METEC Southeast Asia โดยความสำเร็จในปี 2022 ที่ผ่านมา มีสถิติผู้เข้าชมกว่า 10,000 คนจากทั่วโลก เชื่อมั่นว่าในปีนี้จะได้รับการตอบรับที่ดีจากทั้ง Exhibitor มากขึ้น 20% และคาดการณ์ผู้เข้าชมเข้าร่วมงานกว่า 15,000 คน

“ผู้ร่วมงานจะได้พบกับนวัตกรรมจากผู้ผลิตเทคโนโลยีรวมกว่า 300 บริษัทชั้นนำ จาก 20 ประเทศทั่วโลก อาทิ จีน อิตาลี ญี่ปุ่น เยอรมนี สหรัฐอเมริกา และไทย เป็นต้น ที่จะมาจัดแสดงนวัตกรรมล้ำสมัย พร้อมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างกัน ภายใต้คอนเซ็ปต์ Defining packaging & printing in Asia โดยในมีไฮไลต์นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับเทรนด์โลก

พงศ์ธีระ พัฒนพีระเดช นายกสมาคมการพิมพ์ไทย

ตลอดจนการจัดหาวัตถุดิบที่ตอบโจทย์ด้านความยั่งยืน ครอบคลุมเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Economy) บรรจุภัณฑ์พรีเมียม (Premium Design) เทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัย (Safety & Security) และบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน (Sustainability) โดยเฉพาะอย่างยิ่งโซลูชั่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โซลูชั่นบรรจุภัณฑ์จากพืชและไฟเบอร์ และอื่นๆอีกมากมาย” เกอร์นอท กล่าวสรุป

พงศ์ธีระ พัฒนพีระเดช นายกสมาคมการพิมพ์ไทย กล่าวว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทยในปัจจุบันพบว่ายังคงมีทิศทางการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีบทบาทเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

โดยเติบโตไปตาม GDP ของประเทศ คิดเป็น 1.8% หรือมีมูลค่าอยู่ประมาณ 350,000 ล้านบาท แบ่งเป็นอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ 60% อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ 40% ด้วยศักยภาพที่โดดเด่นด้านการเป็นศูนย์กลางการผลิตขนาดใหญ่ของ AEC ที่มีเสถียรภาพและมีเทคโนโลยีการพิมพ์ขั้นสูงเทียบเท่าระดับสากล

นอกจากนี้อุตสาหกรรมการพิมพ์ในไทยยังถือเป็นอุตสาหกรรมสนับสนุน (Supporting Industry) ให้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ ตลอดจนปัจจัยหนุนจากการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซซึ่งเชื่อมโยงกับพฤติกรรมของผู้บริโภค ทั้งนี้เพื่อให้อุตสาหกรรมการพิมพ์ในประเทศไทยเติบโตได้มั่นคง ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเรียนรู้และปรับกระบวนทัศน์ให้เท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

โดยเฉพาะการเชื่อมโยงระหว่างสื่อสิ่งพิมพ์เข้ากับโลกดิจิทัล รวมถึงให้ความสำคัญต่อแนวทางความยั่งยืนและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการ เพื่อให้ธุรกิจการพิมพ์ยังคงดำเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพท่ามกลางความท้าทายของโลก

ประเสริฐ หล่อยืนยง นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย

“แนวทางเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ท่ามกลางดิจิทัลดิสรัปชันในด้านเทคโนโลยี จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนา เรียนรู้ และปรับกระบวนทัศน์ให้เท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการเชื่อมโยงระหว่างสื่อสิ่งพิมพ์เข้ากับโลกดิจิทัล เพื่อรองรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีความต้องการผลิตภัณฑ์ด้านสิ่งพิมพ์ที่สร้างสรรค์ในรูปแบบใหม่ๆและทันสมัย

จึงส่งเสริมให้มีการนำนวัตกรรมเข้ามาพัฒนาชิ้นงานให้ตอบโจทย์ความต้องการที่มากขึ้น อาทิ การพิมพ์ QR code การพิมพ์ฉลากบรรจุภัณฑ์ในรูปแบบ Smart label ที่เชื่อมโยงกับ Digital Data ช่วยให้ผู้บริโภครับรู้ข้อมูลสินค้าได้ผ่านการสแกนคิวอาร์โค้ด เป็นต้น” พงศ์ธีระ กล่าวสรุป

ขณะที่ ประเสริฐ หล่อยืนยง นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย กล่าวว่า ในช่วงครึ่งปีหลังอุตสาหกรมบรรจุภัณฑ์ยังคงมีการปรับตัวได้ดีอย่างต่อเนื่องท่ามกลางเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว มีกำลังการผลิตที่สามารถรองรับกลไกของตลาด และพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อสอดรับกับเทรนด์โลกในเนื่องจากบรรจุภัณฑ์ต่างๆ มีบทบาทสำคัญในการรองรับกระบวนการผลิตทั้งในธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม การท่องเที่ยว และการส่งออก

ทั้งนี้ทางสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทยยังมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่ง เพื่อร่วมกันผลักดันที่จะขยายตลาดทั้งไทยและต่างประเทศ ที่จะคว้าโอกาสในการเป็นผู้นำและเป็นฐานการผลิตให้ยิ่งใหญ่ สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครัวของโลก โดยในปีที่ผ่านมามีการขยายตัว 4.0% มีมูลค่าราว 6.69 แสนล้านบาทและคาดว่าแนวโน้มตลาดบรรจุภัณฑ์ในปีต่อไปจะยังขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องราว 10% ส่งผลให้มีมูลค่าตลาดสูงถึง 7.35 แสนล้านบาท

Pack Print
ชูศักดิ์ ดีตระกูลวัฒนผล นายกสมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย

“ปีนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญของผู้ผลิตทั้งรายใหญ่และรายย่อย ในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตเพื่อออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ตอบรับกับความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ ท่ามกลางการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และต้องปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินชีวิตประจำวัน ไลฟ์สไตล์

รวมถึงเทรนด์ผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน โดยส่วนใหญ่มองหาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณค่า มีความสะดวกในการใช้งาน ความปลอดภัย และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ผู้ผลิตจึงต้องมีการพัฒนาศักยภาพการผลิตเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดบรรจุภัณฑ์ ด้วยการสร้างบรรจุภัณฑ์ที่มีความทันสมัย มีความความแตกต่าง สร้างสรรค์ เพื่อดึงดูดให้เกิดความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น” ประเสริฐ กล่าว

พร้อมกันนี้ ชูศักดิ์ ดีตระกูลวัฒนผล นายกสมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย เปิดเผยว่า ภาคอุตสาหกรรมลูกฟูกไทยในปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมีการเติบโตจากการปรับตัวตามแรงหนุนของดีมานด์จากหลากหลายภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจอีคอมเมิร์ซและธุรกิจที่รองรับการขนส่งสินค้า ซึ่งจากการเติบโตส่งผลให้ความต้องการบรรจุภัณฑ์ประเภทกล่องพัสดุเพื่อบรรจุสินค้าเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วยทั้งจากผู้ประกอบการ และผู้บริโภค

ดังนั้นเพื่อสอดรับกับการเติบโตและตอบโจทย์ความต้องการ ผู้ผลิตในภาคอุตสาหกรรมลูกฟูกไทยทั้งรายใหญ่และรายย่อยจึงต้องเร่งพัฒนาและนำเข้าเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อยกระดับศักยภาพการผลิตที่ได้มาตรฐาน

ทั้งด้านกระบวนการผลิตที่ทรงประสิทธิภาพ มีความรวดเร็ว และใช้นวัตกรรมสำหรับการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คาดการณ์ว่าในอีก 2 ปีข้างหน้า อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทยจะมีการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 2-3% ต่อปี  ตามสภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

“สำหรับแนวทางเพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืนของอุตสาหกรรมกระดาษลูกฟูกในปีนี้ ทางสมาคมฯได้มีการวางโซลูชั่นและแนวทางที่เหมาะสมเพื่อนำมาต่อยอดให้เกิดความยั่งยืนระยาว ด้วยการสนับสนุนและผลักดันให้ผู้ผลิตหันมาให้ความสำคัญกับแนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน หรือ ESG (Environment Social Governance) การลดใช้ทรัพยากรจากธรรมชาติ และการลงทุนติดตั้งเครื่องจักรเพื่อลดการใช้พลังงาน

Pack Print

โดยเปลี่ยนจากการใช้มอเตอร์ธรรมดาเป็นเซอร์โวมอเตอร์ รวมถึงพัฒนาการใช้ระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพ และแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด ด้วยการผลิตบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกที่สามารถ รีไซเคิลนำมากลับมาใช้ใหม่ได้ รวมถึงมีการนำร่องวางระบบการหมุนเวียนเศษกระดาษที่เหลือใช้จากกระบวนการผลิต นำมาประกอบเป็นเศษอัดก้อน และนำส่งคืนสู่โรงงานผู้ผลิตกระดาษต่อไป” ชูศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย

Pack Print International 2023 และ Corrutec Asia 2023” งานมหกรรมแสดงสินค้านานาชาติด้านอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์การพิมพ์ครั้งที่ 9 และกระดาษลูกฟูกแห่งภูมิภาคเอเชีย ครั้งที่ 2 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 – 23 กันยายน 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา

ภายในงานพบกับสุดยอดนวัตกรรมล้ำยุคจากผู้ประกอบการชั้นนำระดับโลกกว่า 300 บริษัทชั้นนำ จาก  20 ประเทศทั่วโลกอาทิ Canon, Heidelberg, Ricoh, KURZ, Sansin, BPS, Bangkok Paper และ HPS Promachtech Co., Ltd. เป็นต้น