Saturday, April 20, 2024
EduTechNEWS

METAEDU 2023 เปิดเวทีแบ่งปันองค์ความรู้ ผลักดันการศึกษาสู่โลกเทคโนโลยีดิจิทัลแห่งอนาคต

METAEDU 2023 เปิดเวทีแบ่งปันองค์ความรู้ และลงนามภาคีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านการศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สู่การสร้างระบบนิเวศของเอ็ดดูเทคในเอเชียฯ

ปิดเวที METAEDU 2023 โดยสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัล ของไต้หวัน ซึ่งได้มีการพูดคุยแบ่งปันความรู้และเทรนด์ทางด้าน เทคโนโลยีการศึกษา นวัตกรรม การบ่มเพาะผู้มีความสามารถ ในระบบนิเวศยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์ม  นอกจากนี้ยังเป็นส่วนสำคัญและส่วนหนึ่งของการผลักดัน Smart City เพื่อเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมของไต้หวันกับทั่วโลก

โดยจัดขึ้นภายในงาน Smart City Summit & Expo – SCSE 2023 ที่จัดขึ้นในประเทศไต้หวัน  ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมฯ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของเอ็ดดูเทค การจัดงานครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐของประเทศต่างๆ

รวมทั้งสถาบันวิจัยระหว่างประเทศ นักการศึกษา บริษัทร่วมทุนระดับโลก และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการเรียนรู้จากทั่วโลก  ภายใต้แนวคิดของงาน Into the New World เป็นการผลักดันให้การศึกษาสู่โลกของเทคโนโลยีดิจิทัลแห่งอนาคต ซึ่งมีหัวข้อที่น่าสนใจอยู่ 3 ประการ อาทิ Future Education, Learning Equality และ Quality Certificate โดยมีวิทยากรมาแบ่งปันความรู้จากหน่วยงานต่างๆ ให้ฟังมากมาย  ทั้งนี้เพื่อสร้างระบบนิเวศของเอ็ดดูเทคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เข้มแข็งที่ร่วมผลักดันอุตสาหกรรมฯ

พร้อมกันนี้ทาง Administration for Digital Industries เป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงดิจิทัล หรือ MODA ของไต้หวัน เป็นโครงการที่พัฒนาขึ้นเพื่อสร้างอุตสาหกรรมการศึกษาด้าน EdTech ของไต้หวัน โดยมองว่าเป็นโครงการที่จะผลักดันให้โลกของการศึกษาเติบโตขึ้นด้วยการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้งานและจะทำให้ไต้หวันเป็นผู้นำด้านการศึกษาในอนาคต

โดยมีองค์กรกระทรวงศึกษาธิการแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO) ได้จัดพิธีลงนามภาคีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านการศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ  ประเทศไต้หวัน อินโดนีเซีย  สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย และไทย โดยมีหน่วยงานการศึกษาและหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทยเข้าร่วมลงนามในครั้งนี้

ดร.กฤษฎ์ชัย สมสมาน ผู้อำนวยการ องค์กรกระทรวงศึกษาธิการแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEOSTEM-ED) ของประเทศไทย (คนที่ 3 จากขวา)

ประกอบด้วย รศ.ประดนเดช นีละคุปต์ รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ดร.กฤษฎ์ชัย สมสมาน ผู้อำนวยการ องค์กรกระทรวงศึกษาธิการแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEOSTEM-ED) ของประเทศไทย เข้าร่วมลงนามครั้งนี้ด้วย พร้อมกันนี้ยังได้รับเกียรติจากทาง จือน์ สอหลิน (Jiunn-Shiow Lin) รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัล (Deputy Director-general of Administration for Digital industries) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล และจัดการอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิทัล ของกระทรวงดิจิทัล(MODA) ประเทศไต้หวัน ได้กล่าวเปิดงานพร้อมเป็นประธานในการลงนามความร่วมครั้งนี้

ือน์  สอหลิน (Jiunn-Shiow Lin) รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัล (Deputy Director-general of Administration for Digital industries) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล และจัดการอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิทัล ของกระทรวงดิจิทัล(MODA) ประเทศไต้หวัน เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ไต้หวันได้บูรณาการเทคโนโลยีเข้ากับการศึกษาอย่างจริงจัง ซึ่งนำไปสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีการศึกษา (Education Technology – EdTech) ที่มีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์ ซึ่งเราได้นำเครื่องมือ EdTech ไปใช้ในโรงเรียน มหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาอื่น ๆ พร้อมการลงทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ สู่การยกระดับอุตสาหกรรมการศึกษา

โดยในปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรม EdTech ในไต้หวันสามารถสร้างมูลค่าทางผลผลิตได้ถึง 18.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนจากความต้องการเพิ่มขึ้นของ Chromebook และการขยายตัวของคอนเทนต์ดิจิทัลในช่วงการแพร่ระบาดโควิด เช่น แล็ปท็อป และแท็บเล็ต รวมทั้งระบบการจัดการการเรียนรู้ แพลตฟอร์มออนไลน์ ซอฟต์แวร์ และแอปพลิเคชัน ทำให้เชื่อมโยงได้ทุกที่และเป็นเครื่องมือสนับสนุนการศึกษาที่ครอบคลุมมากขึ้น

พร้อมยังรองรับรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ในไต้หวัน อุตสาหกรรม EdTech มีความเฟื่องฟู และมีโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรมใหม่ อาทิเช่น Aver, View sonic และ BENQ ที่ให้บริการโซลูชั่นด้านภาพและกล้องสำหรับครู ทำให้ครูสามารถแบ่งปันและนำเสนอข้อมูลแก่นักเรียนได้มากขึ้น

นอกจากนี้ เราให้ความสำคัญในการฝึกอบรมและพัฒนาครูเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาสามารถรวมเทคโนโลยีเข้ากับการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการพัฒนาวิชาชีพเพื่อให้ครูเข้าถึงและมีความรู้ทันสมัยด้วยเทคโนโลยีการศึกษา โดยการจัดลำดับความสำคัญของการฝึกอบรมและการพัฒนาครู เราสามารถมั่นใจได้ว่านักเรียนจะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพสูงโดยใช้เครื่องมือดิจิทัลอย่างเต็มประสิทธิภาพ