Friday, March 29, 2024
ArticlesDigital Transformation

finbiz by ttb แนะ 11 เคล็ดลับบริหารธุรกิจยุคดิจิทัล

finbiz by ttb แนะ 11 เคล็ดลับบริหารธุรกิจยุคดิจิทัล ช่วยผู้ประกอบการลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

ท่ามกลางความผันผวนของสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน เงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลก ประกอบกับการเกิดดิจิทัล ดิสรัปชัน นับเป็นความท้าทายสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องเปลี่ยนตั้งแต่วิธีคิดจนกระทั่งกลยุทธ์ ที่ต้องมุ่งลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพให้ได้มากที่สุด ทั้งภายในองค์กรและตลอดทั้งซัพพลายเชน

finbiz by ttb  นำเสนอ 11 เคล็ดลับความรู้บริหารธุรกิจในยุคดิจิทัล ที่ได้จากหลักสูตรอบรม ttb digital LEAN supply chain รุ่นที่ 17 ตลอดทั้ง 6 วัน  ซึ่งจะสามารถช่วยผู้ประกอบการให้ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างการเติบโตให้แก่ธุรกิจอย่างยั่งยืน ได้แก่

  1. ท้าทาย ค่าตั้งต้น

 ก่อนจะเริ่มการเปลี่ยนแปลงอะไร คำถาม คือ เรากล้าที่จะ “ท้าทาย ค่าตั้งต้น”  หรือไม่  โดยมีงานวิจัยหนึ่งที่พบว่า กลุ่มพนักงานบริษัทที่มีผลการทำงานดีกว่าเพื่อน ๆ พนักงานเหล่านั้นมักจะมี web browser ที่ต่างออกไปจาก web browser ที่ติดมากับการติดตั้งเครื่องแบบปกติ

นั่นเป็นเพราะพนักงานกลุ่มดังกล่าวกล้าที่จะ “ท้าทาย ค่าตั้งต้น” ที่คอมพิวเตอร์บริษัทให้มา ถือว่าเป็นจุดเล็ก ๆ ที่แม้แต่เรื่องเล็กน้อยเหล่านี้  พนักงานเหล่านี้ก็มักจะคิดนอกกรอบ และไม่ได้เพียงแต่ใช้ไป แต่ตั้งคำถามว่า ทำไมถึงต้องใช้สิ่งนั้น

  1. ผู้นำต้องสร้างความเปลี่ยนแปลง

ผู้นำในองค์กรทุกระดับมีส่วนในการผลักดันนวัตกรรมในองค์กรและทรานสฟอร์มธุรกิจ โดยต้องเริ่มสร้างความเปลี่ยนแปลง เน้นสื่อสารให้เยอะ ตัดสินใจให้เร็ว ไม่ยึดติดกับความสำเร็จในอดีต เปิดหู เปิดตา เปิดใจ หมั่นเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ปรับตัวอยู่ตลอดเวลา เป็นผู้นำเรื่อง Digital & Data Transformation สร้างวิสัยทัศน์และวิธีใหม่ๆ เมื่อผู้นำทุกระดับมีวิสัยทัศน์ แนวคิด และเชื่อมั่นแล้ว จะสามารถพาองค์กรก้าวข้ามทุกความเปลี่ยนแปลง พัฒนาปรับปรุงองค์กรต่อไปได้

  1. โลกที่ผันผวนและสลับซับซ้อน (VUCA World) ที่ต้องรับมือ

เมื่อโลกปัจจุบันเต็มไปด้วย ความผันผวน (Volatility) ความไม่แน่นอน (Uncertain) ความซับซ้อน (Complex) สิ่งที่คลุมเครือ (Ambiguous) สิ่งเหล่านี้จัดการได้ด้วย วิสัยทัศน์ (Vision) ความเข้าใจ (Understanding) กลยุทธ์ที่เหมาะสม (Clarify) ความยืดหยุ่นคล่องตัว (Agility) และเมื่อการเปลี่ยนแปลงมาถึงต้องเรียนรู้ที่จะทรานสฟอร์มองค์กรให้เร็วพร้อมรับกับความไม่แน่นอน โดยเฉพาะการแข่งขันในยุคที่ “Data is the new Oil” การมีข้อมูลคือสินทรัพย์ที่มีมูลค่ามหาศาล

  1. อยากสร้างองค์กรนวัตกรรม ต้องเข้าใจ ‘ความกลัว’ เอาชนะความกลัว และทำองค์กรให้ชัดเจน

เราได้แบ่งความกลัวออกเป็น 7 ประการ ได้แก่ ความล้มเหลว ความรับผิดชอบ ถูกมองว่าเป็นคนไม่จริงใจ  คำวิจารณ์ การตัดสินใจที่ยิ่งใหญ่ การรับความเสี่ยง และการบอกกล่าวออกไป ซึ่งเมื่อมีความกลัว หน้าที่ที่ผู้นำองค์กรต้องพาทุกคนในองค์กรไปพิชิตความกลัวให้ได้ เมื่อใดเอาชนะความกลัวทั้งหมดนี้ได้แล้ว องค์กรจะเกิดความชัดเจน และทำให้ความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานทุกคนกลับคืนมา อันนำมาสู่การสร้างนวัตกรรม

  1. หลักสำคัญ 6 สิ่ง ที่นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมในองค์กร

จากการแบ่งปันประสบการณ์ของผู้สร้างนวัตกรรมตัวจริง พบว่า มี 6 หลักสำคัญที่องค์กรจะต้องคำนึงถึง เมื่อต้องการจะเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในองค์กร 1) นวัตกรรมเกิดขึ้นจากการแก้ปัญหาง่าย ๆ   2) ผู้ลงมือทำ หรือผู้สร้างนวัตกรรมต้องเป็นคนที่คิด เพื่อให้ “In” และมี “Passion”  3) การลงทุนกับนวัตกรรมจะต้องเห็นผลและจับต้องได้เป็นระยะ ๆ ไม่ทุ่มทุนทั้งหมดในครั้งเดียว  4) ก่อนทำนวัตกรรมเราต้องรู้ว่า เมื่อทำสำเร็จจะมีกลุ่มลูกค้ามากพอ  5) หนึ่งโปรเจคที่บรรลุ จะต้องคุ้มทุนสำหรับหลายโปรเจคที่ล้มเหลว และ 6) จังหวะเวลาที่เหมาะสม ต้องทำในวันที่รุ่ง ไม่ใช่วันที่ต้องเอาตัวรอด

  1. ควรมีสมดุลที่ดีในการลงทุน ทั้งในเรื่องของบุคลากรและเทคโนโลยี คือองค์กรที่ประสบความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรม

องค์กรที่ให้ความสำคัญกับนวัตกรรมมีอัตราการอยู่รอดสูงกว่า และมีผลการดำเนินงานที่ดีกว่าในระยะยาว นวัตกรรมจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งในการพัฒนานวัตกรรมมี 6 ปัจจัยที่ส่งผลอย่างมาก แบ่งเป็นปัจจัยด้านบุคลากร และปัจจัยด้านเทคโนโลยี โดยด้านบุคลากร ได้แก่ ความพร้อมของผู้นำ ศักยภาพทีมงาน กระบวนการภายในองค์กร และด้านเทคโนโลยี ได้แก่ เครื่องมือ ข้อมูล และระบบนิเวศ (Ecosystem) ซึ่งองค์กรที่ประสบความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรม ไม่ได้เป็นองค์กรที่มีเทคโนโลยีดีที่สุด แต่มักมีสมดุลที่ดีในการลงทุนทั้งในเรื่องของบุคลากรและเทคโนโลยี

  1. ก่อนจะไปลงทุนกับนวัตกรรม ต้อง Lean องค์กรให้ได้ก่อน

เพราะการลงทุนในนวัตกรรม อาจทำให้เกิดความสูญเปล่าเพิ่มได้อีก หากนวัตกรรมนั้นไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ จนสุดท้ายอาจกลายเป็นปัญหาใหม่  เช่น ถ้าจะนำระบบ Automatic มาลงในโรงงาน แต่ยังไม่ได้ Lean กระบวนการของเราให้ไม่มีความสูญเปล่า การนำระบบนั้นมาใช้อาจสร้างปัญหาในระยะยาวได้

  1. ต้นทุนต่ำ ตอบสนองรวดเร็ว คือกุญแจสำคัญของซัพพลายเชน

กุญแจสำคัญของซัพพลายเชน คือ ผู้ประกอบการต้องรักษาสมดุลของต้นทุนต่ำ (Efficiency) และการตอบสนองที่รวดเร็ว (Responsiveness) ให้ดี รวมทั้งปรับ 6 องค์ประกอบหลักให้ลงตัว ซึ่งจะช่วยให้ซัพพลายเชนมีประสิทธิภาพ หรือมีการตอบสนองที่ดีมากขึ้น ได้แก่ โรงงาน (Facilities) สต็อกสินค้า (Inventory) การขนส่ง (Transportation) ซึ่งเป็นหัวใจของบริหารซัพพลายเชน การไหลของข้อมูล (Information) และข้อมูลต้องเป็นดิจิทัล การหาแหล่งที่ได้ราคาที่ดี (Sourcing)  ต้นทุนและกำไรเป็นตัวตั้งในการกำหนดราคา (Pricing)

  1. กดสูตร E + R = O ตอบสนองอย่างไร ได้ผลอย่างนั้น

ความสำคัญต่อสิ่งที่องค์กรตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ อันนำมาสู่ผลลัพธ์ จึงยึดสูตร E + R = O มีความหมายว่า E (Event) : เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บวกกับ R (Response) : การตอบสนอง จะได้เท่ากับ O (Outcome) ผลลัพธ์ที่เราจะได้รับ R คือตัวแปรที่องค์กรควบคุมได้ การตอบสนองต่อเหตุการณ์ หรือรับมืออย่างไร เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ได้ Outcome ที่ต้องการ

  1. 4C ได้ใจลูกค้าหรือผู้บริโภคในยุคสมัยนี้

การทำธุรกิจในยุคนี้ต้องมี 4C ที่ประกอบด้วย Care จริงใจ ให้ของดี มีคุณภาพ  Convenience  ผู้บริโภคสมัยนี้ ใจร้อนขึ้นและต้องความสะดวกรอบด้าน เช่น หาของต้องง่าย จ่ายเงินต้องง่าย ซื้อซ้ำก็ต้องง่าย สะดวกทุกทาง Consistency การสื่อสารต้องทำอย่างต่อเนื่อง

เพราะลูกค้าไม่ได้มีผู้ขายเป็นเรารายเดียวอีกต่อไปแล้ว  Complain freak  รับฟังเสียงของลูกค้า ให้ความสนใจและแก้ไขอย่างจริงจัง ซึ่งปัจจุบันการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ก็สะดวกขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก จึงสามารถตอบสนองลูกค้าได้ดี ทั้งในด้านของความสะดวกก็มีเครื่องมือมารองรับมากมาย เช่น เครื่องมือการรับชำระจากธนาคาร เป็นต้น

  1. นำเข้า-ส่งออก ผู้ประกอบการต้องไวต่อเหตุการณ์

ผู้ประกอบการ นำเข้า-ส่งออก ยิ่งจะต้องจับเทรนด์กระแสโลกให้ดี ซึ่งเทรนด์ที่น่าจับตาในขณะนี้ ได้แก่ กระแส Future Food ตลาดใหญ่ที่สนใจการบริโภค Plant-based meat  และอย่าตกขบวนรถไฟลาว-จีน การเชื่อมโยงการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยไปยังตลาดที่ใหญ่ที่สุดคือ จีน เพราะการขนส่งสินค้าจะเร็วขึ้น ต้นทุนจะลดลง

จับตา RCEP ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership) หรือเขตการค้าเสรี (FTA) ที่ใหญ่ที่สุดของโลก ทำให้ภาษีนำเข้าสินค้าไทยเหลือศูนย์ทันทีเกือบ 30,000 รายการ ใน 14 ประเทศ เดินหน้า Mini-FTA โอกาสเจาะตลาดเมืองรองของผู้ประกอบการไทย เช่น ไห่หนาน-จีน โคฟุ-ญี่ปุ่น เตลังกานา-อินเดีย กานซู่-จีน และปูซาน- เกาหลีใต้

ที่มา : หลักสูตร ttb Digital LEAN Supply Chain รุ่นที่ 17

อัปเดตทุกดิจิทัลเทรนด์ และความรู้ดี ๆ ที่ SME ไม่ควรพลาด เพียงแอดไลน์ @ttbSME หรือคลิกเพิ่มเพื่อน https://lin.ee/Y1SpBMb

ttb Digital LEAN Supply Chain โครงการพัฒนาต่อยอดมาจาก ttb LEAN Supply Chain

ให้ความรู้ด้านการพัฒนาประสิทธิภาพให้ซัพพลายเชนอย่างแท้จริงมายาวนานกว่า 10 ปี ซึ่งช่วยผู้ประกอบการลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพหนึ่งในโครงการ finbiz by ttb โครงการเสริมความรู้ธุรกิจผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม พร้อมองค์ความรู้ที่ครบครัน จากพันธมิตรชั้นนำทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อให้ธุรกิจรับมือกับความเปลี่ยนแปลง พร้อมปรับตัวในยุคดิจิทัลและเติบโตอย่างยั่งยืน

Leave a Response