Thursday, December 5, 2024
CybersecurityNEWS

Stellar Cyber มอบโซลูชัน Open XDR แบบฟรีไลเซนส์ ให้วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มข.

Stellar Cyber

Stellar Cyber ร่วมมือกับ NCSA มอบโซลูชัน Open XDR ให้ KKU และสิทธิ์การใช้แบบฟรีไลเซนส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอน สร้างบุคลากรมืออาชีพด้านความปลอดภัยไซเบอร์

มื่ตุลาคมที่ผ่านมา Stellar Cyber ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ Open XDR ประกาศความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติหรือ สกมช. (NCSA) โดยจัดมอบลิขสิทธิ์เข้าใช้แพลตฟอร์ม Open XDR ให้กับวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

การมอบลิขสิทธิ์ดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Stellar_Cyber University Program ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้สถาบันการศึกษาและนักศึกษาเข้าถึงเทคโนโลยีการตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามไซเบอร์ระดับสูง Open XDR นี้ได้อย่างครอบคลุม ช่วยสร้างทักษะเชิงปฏิบัติในเชิงลึก ช่วยสร้างบุคลากรมืออาชีพป้อนอุตสาหกรรมความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในอนาคต

โดย Stellar Cyber ได้จัดตั้งโปรแกรมที่ชื่อว่า Stellar_Cyber University Program เป็นโครงการที่ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วโลก ที่เปิดโอกาสให้สถาบันการศึกษาสามารถจัดหลักสูตรสอนและนักศึกษาเข้าถึงเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยไซเบอร์ Open XDR 

ให้ความรู้ใหม่ล่าสุดในอุตสาหกรรมพร้อมฝึกหัดและลงมือปฏิบัติเพื่อให้ได้จริงในการตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามไซเบอร์ โดยคาดว่า จะเป็นการช่วยเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาให้เป็นบุคลากรคุณภาพสูงเป็นที่ต้องการในตลาดโลกต่อไป 

โดมินิก นีโอ รองประธานฝ่ายขายประจำภูมิภาค สเตลล่า ไซเบอร์ (ซ้าย) และนาวาเอกหญิง ศิริเนตร รักษ์วงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (ยืนกลาง) มอบแพลทฟอร์ม Stellar Cyber Open XDR ให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นเสริมใช้ในหลักสูตรด้านความปลอดภัยไซเบอร์ เร่งสร้างบุคลากรมืออาชีพ โดยมี รศ.ดร.สิรภัทร เชี่ยวชาญวัฒนา คณบดีวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ เป็นผู้รับมอบ

โดมินิก นีโอ รองประธานฝ่ายขายประจำภูมิภาค ASEAN และ ANZ ที่ สเตลล่า ไซเบอร์ กล่าวว่า “ภายใต้โครงการ Stellar_Cyber University Program นี้ Stellar_Cyber จะมอบไลเซ่นและการฝึกอบรมผู้สอนให้สามารถใช้งานและสอนโซลูชัน Open XDR” 

“ซึ่งรวมไปถึงอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยประเภท SIEM, NDR, UEBA, FIM, IDS, Malware Sandbox, SOAR และ TIP ส่งให้นักศึกษามีทักษะในการใช้งานอุปกรณ์ประเภทต่างๆ จริง อีกทั้งยังเป็นความรู้ในระดับมาตรฐานโลกเดียวกับมหาวิทยาลัยชั้นอื่นๆ ที่เข้าร่วมโปรแกรมนี้ อาทิ Glendale Community College ในประเทศอเมริกา”

“Stellar_Cyber เห็นว่าวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาบุคลากรด้านความปลอดภัยไซเบอร์ โดยได้เปิดสอนทั้งระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา รวมถึงหลักสูตรในระดับประกาศนียบัตรโดยมีเป้าหมายในการสร้างผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมเข้าสู่ตลาดไอทีในอนาคต” 

“เพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์นี้ ทาง Stellar_Cyber จึงได้มอบ Open XDR license ให้แก่มหาวิทยาลัย เพื่อร่วมสร้างสรรค์และเสริมสร้างศักยภาพในการเรียนการสอนด้านความปลอดภัยไซเบอร์ อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ บริษัท เนคท์เวฟ (ประเทศไทย) จำกัด ดิสทริบิวเตอร์หลักของ Stellar_Cyber จะเป็นผู้ให้คำแนะนำด้านเทคนิคและสนับสนุนการปฏิบัติงานแก่มหาวิทยาลัยขอนแก่นอย่างใกล้ชิด”

นาวาเอกหญิง ศิริเนตร รักษ์วงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กล่าวว่า “สกมช.รับผิดชอบเร่งรัดการพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์มาโดยตลอด โดยมี สถาบันวิชาการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติได้เริ่มดำเนินโครงการเร่งรัดการพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ระยะที่ 1 รวมไปถึงการจัดฝึกอบรมต่างๆ เพื่อพัฒนาทักษะด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ให้กับเด็ก เยาวชน คนทำงาน ผู้สูงอายุ และคนพิการไปเมื่อเร็วๆ นี้” 

“โดยมียอดผู้เข้าร่วมกิจกรรมผ่านทุกแพลตฟอร์มกว่า 1 ล้านคน ซึ่งทำให้คณะทำงานเห็นชัดเจนว่าการเติบโตแบบก้าวกระโดดในการเข้าถึงองค์ความรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์นั้นเริ่มจากภาคการศึกษา จึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งเมื่อ Stellar_Cyber เข้ามาช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในแก่องค์กรธุรกิจในประเทศไทย โดยจะมอบแพลตฟอร์ม Open XDR เพื่อช่วยผลิตบุคลากรคุณภาพสูงทันต่อภัยคุกคามใหม่ๆ ในครั้งนี้”

ในส่วนของ รศ.ดร.สิรภัทร เชี่ยวชาญวัฒนา คณบดี วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า “วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์เป็นส่วนงานระดับคณะที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เปิดสอนหลักสูตรที่สร้างนักศึกษาที่มีความรู้และคุณภาพตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม” 

“โดยในปีพ.ศ. 2566 วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ ได้เปิดหลักสูตรใหม่คือ หลักสูตรปัญญาประดิษฐ์ และหลักสูตรความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านแพลตฟอร์ม XDR นี้อยู่จำนวน 5 ท่าน ที่จะช่วยนำแพลตฟอร์ม Open XDR ใหม่นี้ไปเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้การศึกษาและการวิจัยด้านภัยคุกคาม”

“ร้อมแผนการพัฒนาบุคลากรในสาขานี้ไม่ต่ำกว่า 300 คนภายในระยะเวลา 2 ปีข้างหน้า เพื่อให้บัณฑิตของมหาวิทยาลัยมีความพร้อมในการทำงานในอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นการตอบรับนโยบายของภาครัฐในด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศอีกด้วย”