Friday, April 19, 2024
metaverseNEWS

ประกาศผล 5 ทีมเยาวชน ชนะเลิศ dtac Young Safe Internet Leaders’ Cyber Camp ปี 4

ดีแทคประกาศผล 5 ทีมเยาวชน ประชันสุดยอดไอเดีย ใช้เทคโนโลยีจัดการกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ จากเวทีงาน dtac Young Safe Internet Leaders’ Cyber Camp ปี 4

มื่อต้นเมษายนที่ผ่านมา ดีแทค ได้ร่วมมือกับ ซิสโก้ และ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA เปิดพื้นที่เรียนออนไลน์การสร้างความเข้าใจปัญหาอาชญากรรมไซเบอร์ ภายใต้กิจกรรม Young Safe Internet Leaders Cyber Camp ปีที่ 4 ซึ่งเป็นการเข้าค่ายอบรมเสมือนจริงแบบ Metaverse โดยชวนเยาวชนที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมปลายทั่วประเทศเข้าร่วมนั้น

ล่าสุด วันที่ 13 พฤษภาคม ดีแทคได้มีการจัดกิจกรรม Mini Demo Day ซึ่งเป็นกิจกรรมรอบสุดท้ายที่ต้องมีการนำเสนอโครงการที่ได้รับการพัฒนาให้แก่คณะกรรมการ และทำการคัดเลือกและตัดสิน สุดยอด 5 โครงการรับมือและลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์

สำหรับ แคมป์ Young Safe Internet Leader Cyber Camp ในปีที่ 4 นี้ มีเยาวชนทั้งสิ้น 200 คนจากผู้สมัครทั้งหมด 1,178 คน ได้เข้านร่วมการกบรมใน Metaverse มานานถึง 3 สัปดาห์ ผ่านการเรียนใน bootcamp และเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาไอเดียสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม ใน Cyber-security sandbox โดย 5 ทีมที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับทุนการศึกษาทีมละ 8 หมื่นบาท พร้อมโอกาสในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์บนของดีแทคและหน่วยงานพันธมิตร

สำหรับผลการตัดสินทีมที่มีโครงงานดีที่สุด และสามารถลงมือปฏิบัติให้เกิดผลได้จริง 5 ทีม ได้รับเลือกให้เป็นทีมผู้ชนะ ได้แก่

1. ทีม Ailurus ผลงาน เว็ปไซต์ป้องกัน Negative Digital Footprint ใช้ศิลปะเข้ามาเยียวยาจิตใจผู้ใช้งาน

เป็นเว็บแอปพลิเคชัน ที่ให้ผู้ใช้เข้ามาระบายอารมณ์และความรู้สึกผ่านการพิมพ์ข้อความ โดยจะมีเพียงผู้ที่ระบายความรู้สึกเห็นข้อความเหล่านั้นเพียงคนเดียว เพื่อความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและป้องกันปัญหาเรื่อง Negative Digital Footprint

แต่เว็บไซต์ไม่ได้เพียงแค่ให้ผู้ใช้ระบายความรู้สึกเพียงอย่างเดียว ระบบของแอปฯ จะเปลี่ยนข้อความเชิงลบนั้นให้เป็นรูปภาพ เป็นแนวคิดในการนำเรื่องของศิลปะเข้ามาดึงดูดและเบี่ยงเบนความสนใจให้ความรู้สึกด้านลบหายไป

นอกจากนี้ยังมีตัวเลือกต่างๆ เช่น คำคม กีฬา หนังสือ เพื่อเป็นการสร้างเสียงหัวเราะและเป็นการแนะนำและให้ความรู้กับผู้ที่เข้ามาใช้เว็บไซต์ด้วย

 

2. ทีม Don’t leave the door open ผลงาน นวัตกรรมที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าใจถึงข้อกำหนดและเงื่อนไขของการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัล

ที่มาของแนวคิดคือ จากข้อมูลพบว่าพฤติกรรมการใช้งานบนแพลตฟอร์มออนไลน์ คนมากถึง 92% ไม่อ่านข้อกำหนดเงื่อนไขการใช้งาน รวมถึงวิธีการใช้งาน ก่อนการใช้งาน เพราะข้อมูลจำนวนมากและต้องใช้เวลามากกว่า 1 ชั่วโมง

ทีมนี้จึงเสนอการแก้ปัญหา โดยการจัดระบบข้อมูลเอาไปวางในหน้าเว็บไซต์ก่อนที่จะเข้าไปอ่านข้อกำหนดต่างๆ บนแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า PS TaC จะเป็นนวัตกรรมที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถอ่านทำความเข้าใจข้อกำหนดและเงื่อนไขได้ดียิ่งขึ้น

3. ทีม Dr.pla ผลงาน ศูนย์กลางความช่วยเหลือที่ไม่มีที่ว่างให้มิจฉาชีพ

ที่ผ่านมาหนึ่งในปัญหาการแอบอ้างรับเงินบริจาค คือ อาศัยพฤติกรรมที่ผู้บริจาคส่วนใหญ่จะบริจาคด้วยเงินจำนวนไม่มาก โดยไม่ได้คิดถึงมูลค่าเงิน รวมทั้งตรวจสอบความโปร่งใสของผู้รับบริจาค

ผลงานดังกล่าว คือ เว็บไซต์ เติมเต็ม เป็นเว็บไซต์ที่ช่วยเติมเต็มความช่วยเหลือ โดยฝั่งหนึ่งคือ การรวบรวมข้อมูลที่ถูกต้อง และตรวจสอบรวบรวมข้อมูลผู้รับบริจาค ตัดมิจฉาชีพออกจากวงจรการบริจาค

ในขณะที่ข้อมูลอีกด้านคือ การรวบรวมผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ เน้นเป็นที่รายบุคคล (ไม่ใช่องค์กร/กิจกรรม) โดยข้อมูลผู้ต้องการรับบริจาค จะมีการตรวจสอบจากตัวผู้ต้องการรับบริจาค ชุมชน หรือผู้ที่มีข้อมูล เพื่อรับรองว่าต้องการความช่วยเหลือจริงๆ โดยเมื่อผ่านจะมีการนำชื่อ/บัญชี/ยอด/รายละเอียด ลงในเว็บไซต์ ป้องกันช่องโหว่สำหรับมิจฉาชีพ

4. ทีม ดีแทคดีใจ ผลงาน Metaverse Game เมืองจำลองของอาชีพที่ต้องต่อสู้กับการโจมตีทางไซเบอร์

ผลสำรวจจาก ETDA ในปี 2564 พบว่า Gen Z คือกลุ่มคนที่เล่นโซเชียลมีเดียมากที่สุด ซึ่งทำให้มีโอกาสถูกโจตีทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นเช่นกัน

ทีม ดีแทคดีใจ ได้นำเสนอผลงาน เกมเสมือนจริงในรูปแบบ Metaverse ที่ให้ผู้เล่นสามารถจำลองการใช้ชีวิตและสถานการณ์การถูกโจมตีทางไซเบอร์ผ่านสาขาอาชีพต่างๆ อาทิ YouTuber, Graphic Designer และ Online seller เพื่อให้ผู้เล่นสามารถเรียนรู้วิธีการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์

ด้วยเหตุผล 3 ข้อ ที่เลือกพัฒนาเกมบนโลก Metaverse เพราะเป็นแพลตฟอร์มโลกเสมือนจริงที่ผู้ใช้งานสามารถจำลองสถานการณ์ได้ดีที่สุด เป็นสื่อสมัยใหม่ที่มีความน่าสนใจ และมีแนวโน้มที่จะมีการเติบโตในอนาคต

5. ทีม กลัวเสียฟอร์ม เลยยอมเสียเธอ ผลงาน Bot น้องเตือนใจ ตรวจจับเว็บปลอมได้อย่างทันใจและแม่นยำ

น้องเตือนใจ Bot จะทำหน้าที่ตรวจจับเว็ปปลอมได้อย่างทันใจ โดยอาศัยเทคโนโลยี Chatbot ที่จะฝังตัวอยู่ในแอปพลิเคชัน แชต ที่จะคอยแจ้งเตือนทุกครั้งเมื่อลิงก์ URL ปลอมถูกแฝงตัวเข้ามาอยู่ในบทสนทนา

ที่มาของแนวคิดมาจาก จากข้อมูลของ dtac Safe Internet ที่พบว่า 86.6% ของชาวเน็ตจำนวน 580 คน มีพฤติกรรมไม่ตรวจสอบก่อนคลิกหรือเข้า URL ต่างๆ

รางวัลคนเก่งทีมละ 8 หมื่นบาท

ทั้ง 5 ทีม จะได้รับเงินรางวัลไปต่อยอดพัฒนาไอเดียทีมละ 80,000 บาท รวมรางวัลมูลค่า 400,000 บาท และดีแทค จะยังทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ให้ทุกทีมสามารถพัฒนาต่อยอดไอเดีย สู่การปฏิบัติได้จริงต่อไป

โดยคณะกรรมการที่ร่วมตัดสินในงาน 4 ท่าน ประกอบด้วย ทวีวัฒน์ จันทรเสโน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด กัลยา โกวิทย์วิสิทธิ์ Co-Founder FabCafe Bangkok, Creative Digital Hub

ชิตพงษ์ กิตตินราดร Social InnovationSpecialist จาก Change Fusion และ รัชญา กุลณพงษ์  ผู้อำนวยการ ฝ่ายความยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค

โดยการตัดสินครั้งนี้ พิจารณาคัดเลือกทีมผู้ชนะ 5 ทีมที่มีความน่าสนใจของนวัตกรรมสร้างสรรค์ ทักษะหรือเทคนิคที่ใช้ มีความเป็นไปได้ในการดำเนินการ ประโยชน์ที่ได้รับ และมีศักยภาพในการเติบโต การต่อยอดหรือมีโอกาสขยายผลได้ในระยะยาว

นอกจากนี้ ยังมีทีมเยาวชนที่ร่วมนำเสนอไอเดียที่น่าสนใจอีก 5 ทีม ที่นำเสนอในงาน ได้แก่

1. 8 สหาย 84000 เซลล์ ผลงาน เชื่อมต่อเทคโนโลยี Biometric กับอุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุข

การยืนยันตัวตนผ่านลายนิ้วมือ เพื่อแสดงตัวตนสำหรับผู้ได้รับบาดเจ็บกรณีที่หมดสติหรือเสียชีวิต อาศัยการเชื่อมโยงข้อมูลที่มีการป้องกันการบันทึกภาพหน้าจอ จากโรงพยาบาล ประกันสังคม บริษัทประกันชีวิต และสถานีตำรวจ โดยข้อมูลผู้บาดเจ็บ จะส่งตรงไปยังเจ้าหน้าทางการแทพย์และเจ้าหน้าที่กู้ภัย

2. CyberGOAT ผลงาน แอปพลิเคชันท่องโลกความปลอดภัยทางไซเบอร์ในรูปแบบเกม 3 มิติ

Go! Go! Cyber Boy หนุ่มน้อยพิทักษ์ไซเบอร์ เป็นแอปพลิเคชันส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบของเกม 3 มิติ ที่จะให้ผู้เล่นควบคุมตัวละครไปศึกษาความรู้เกี่ยวกับภัยร้ายจากโลกไซเบอร์

โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นสถานีย่อย เรียนรู้เรื่องไซเบอร์กับ 5 ฐาน คือ สถานีเว็บจริง เว็บปลอม ให้ผู้เล่นตัดสินสินใจเลือก สถานีรหัสผ่านปลอดภัย สถานีข่าวปลอม ดึงดูดให้การเรียนรู้น่าสนใจมากขึ้น พร้อมทั้งเล่นเกมเพื่อทดสอบความเข้าใจหลังจากการเรียนรู้

3. Secure Security Society (SSS) ผลงาน คอมมิวนิตี้ของคนรักกิจกรรมที่มอบ Reward ในรูปแบบ NFT certificate

Youthkub แพลตฟอร์มคอมมิวนิตี้ ที่รวมกิจกรรมหลากหลายรูปแบบสำหรับคนรุ่นใหม่ และสามารถตรวจสอบข้อมูลของผู้จัดกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างละเอียด ข้อมูลครบถ้วน ที่เพิ่มระดับความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งาน

ช่วยทำให้ผู้ใช้งานประหยัดเวลาโดยไม่ต้องติดตามข้อมูลข่าวสารของกิจกรรมหลายช่องทาง ที่สำคัญนำเทคโนโลยี Blockchain ออกเกียรติบัตรในรูปแบบ NFT ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อป้องกันการปลอมแปลงเกียรติบัตรอีกด้วย

4. Kab kab ผลงาน ควิซ Cyberpath วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ด้าน Cybersecurity

CyberPath เว็ปแอปพลิเคชันที่นำเสนอในรูปแบบ quiz game ที่จะวิเคราะห์จุดแข็ง จุดออ่อน และทักษะด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของผู้ใช้งาน พร้อมทั้งแนะนำความรู้จุดที่ผู้ใช้งานยังมีช่องโหว่ เผื่อให้ผู้ใช้งานสามารถอยู่บนโลกออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย

5. น้ำไหลไฟดูด ผลงาน ซอฟต์แวร์ที่จะปกป้องทุกคนให้ปลอดภัยจาก Phishing

PhishFiona เป็นซอฟต์แวร์ ที่จะปกป้องทุกคนให้ปลอดภัยจาก phishing ที่สามารถตรวจสอบลิงก์ URL บนเว็บบราวเซอร์ ได้ทันที และสามารถรายงานลิงก์ปลอมเหล่านั้นอีกด้วย

สั่งสมองค์ความรู้ตลอด 504 ชั่วโมงบน Metaverse, The Cybersecurity Sandbox

เยาวชนได้ใช้เวลาร่วมกันกว่า 504 ชั่วโมง ใจกลางแพลตฟอร์ม Metaverse ที่ชื่อว่า The Cybersecurity Sandbox ที่เปิดโอกาสให้เยาวชนได้ระดมไอเดียและพัฒนาโครงการร่วมกับเพื่อนในค่าย ทดลองกระบวนงานทำงานแบบ Startup ตั้งแต่กระบวนการสร้างทีม (Team matching) กระบวนคิดเชิงออกแบบ (Design thinking)

ด้วยการใช้ Business Model Canvas และการเสนอความคิดแบบ pitching เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการในวัน Demo Day  พร้อมได้รับการโค้ชชิ่งใน cyber-security sandbox ที่ช่วยให้ทั้งโค้ชและเยาวชนสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ