Wednesday, April 30, 2025
5GAIArticlesColumnistSansiri Sirisantakupt

กรณีศึกษา การต่อสู้ของสหรัฐอเมริกาเพื่อครอบครองเทคโนโลยี 5G

เทคโนโลยี 5G

เทคโนโลยี 5G คือความพ่ายแพ้ทางเทคโนโลยีครั้งใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ที่สามารถให้บทเรียนกับท่านผู้อ่านได้อย่างไร กรณีศึกษา การต่อสู้ของสหรัฐอเมริกาเพื่อครอบครองเทคโนโลยี 5G จะเป็นตำราอีกบทที่ให้บทเรียนกับผู้บริหารในหลายองค์กรได้

.

ารต่อสู้เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี 5G ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ.2019 หนึ่งบริษัทได้นำเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนามาจัดแสดงให้คนทั่วโลกได้เห็นว่า พร้อมแล้วที่นำเทคโนโลยี 5G มาใช้งานก็คือ หัวเว่ย (Huawei) บริษัทจากประเทศจีน ผู้ให้บริการทางโทรคมนาคมและการสื่อสาร ณ เวลานั้นถือเป็นบริษัทผู้นำทางด้านอุปกรณ์เครือข่ายมีผลิตภัณฑ์ครอบคลุมทุกระดับของการสื่อสารไร้สายในยุคที่ 5 เรียกว่า เทคโนโลยี 5G 

ด้วยเทคโนโลยี 5G สามารถเชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์, หุ่นยนต์ และยานยนต์อิสระ ผ่าน AI (ปัญญาประดิษฐ์) ช่วยให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานได้โดยอัตโนมัติ (Autonomous Thing) ที่สำคัญเครือข่าย 5G ได้ปรับปรุงการสื่อสารในสนามรบ ด้วยการรับ-ส่งข้อมูลที่รวดเร็ว ทำให้มีเสถียรภาพที่มากขึ้น เนื่องจากการนำศักยภาพอินเทอร์เน็ตของสิ่งต่างๆ (IoT) และปัญญาประดิษฐ์มาใช้ 

ในปัจจุบันนั้นการสื่อสารมีบทบาทที่สำคัญต่อการปฏิบัติ งานทางทหารในสนามรบ และ 5G ได้กลายเป็นรากฐานสำคัญของเทคโนโลยีทางทหาร ด้วยในปี ค.ศ.2019 ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เห็นร่วมกันในการต่อสู้และทำการพัฒนา เทคโนโลยี 5G ทั้งนี้เพื่อให้ได้เครือข่าย 5G ของสหรัฐอเมริกาที่มีประสิทธิภาพรวมทั้งมีความปลอดภัยมาครอบครอง อันถือเป็นกรณีที่น่าศึกษา โดยบทความในฉบับมีมุมมองและรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้ 

5G จากจีนเป็นปัญหาด้านความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา

โลกปัจจุบันมีการสมัครเป็นสมาชิกอุปกรณ์ไฮเทคพกพา (สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต) มากกว่า 6 พันล้านราย อุปกรณ์สมาร์ทโฟนกลายเป็นแพลตฟอร์มหลักทางเทคโนโลยีของผู้บริโภคสำหรับการสื่อสารและการใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก 

ณ ปัจจุบันจีนอยู่ในระดับแนวหน้าของนวัตกรรมระดับโลกอย่างเทคโนโลยี 5G ซึ่งในปี ค.ศ.2019 จีนถูกจัดเป็นตลาดแรกที่ได้เปิดให้บริการ 5G ในเชิงพาณิชย์ ด้วยขนาดของประเทศจีนที่มีความสามารถในการลดต้นทุนและยังช่วยให้เทคโนโลยี 5G นั้นสามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว 

อาทิ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ได้เลือกบริษัท หัวเว่ย จากประเทศจีน สำหรับการสร้างเครือข่าย 5G เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.2019 อันถือเป็น ความพ่ายแพ้ทางเทคโนโลยีครั้งใหญ่ของสหรัฐอเมริกา 

สหรัฐฯ เองไม่เห็นด้วยกับบางประเทศในยุโรป ที่มีการพูดคุยกันมากมายเกี่ยวกับภัยคุกคามที่สหรัฐฯ ได้พบเห็นจากจีน อาทิ การขโมยทรัพย์สินทางปัญญาและการเข้ามาบนเครือข่าย ความกังวลที่มาจากสหรัฐฯ คือ จีนจะเป็นผู้นำโลกทางเทคโนโลยี 5G 

โดยบริษัทจีน Huawei ที่สามารถลดต้นทุนและส่งออก ความรู้นี้ไปยังต่างประเทศ ถือเป็นปัญหาด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ อันมาจากแผน Made in China 2025 ที่จะนำโลกไปสู่เทคโนโลยีขั้นสูงจำนวนมาก ซึ่งเทคโนโลยี 5G นั้นเป็นเพียงแค่เรื่องเดียว ประกอบกับสมาร์ทโฟนและสถานีฐานนั้น ถือเป็นจุดเริ่มต้น ของการสื่อสารระดับโลก 

และรัฐบาลสหรัฐฯ ไม่ต้องการให้บริษัทของจีนมีโอกาสเบี่ยงเบนหรือติดตามปริมาณข้อมูลที่ไหลผ่านบนเครือข่ายไร้สาย 5G ที่สำคัญเทคโนโลยี 5G ถือเป็นกลยุทธ์ที่นำไปสู่การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) 

บทความโดย: น.อ.สรรสิริ สิริสันตคุปต์ นักวิชาการกองทัพอากาศ เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการรักษาความมั่นคงปลอยภัย ด้านอวกาศและไซเบอร์

ซึ่งการเชื่อมต่อบนเครือข่าย 5G นั้น จะช่วยให้การถ่ายโอนข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปสู่อีก เครื่องหนึ่งเพิ่มขึ้นและเร็วขึ้น ทำให้กระบวนการต่างๆ สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติ (Autonomous Thing) จึงมีความเป็นไปได้ที่มากขึ้น ทั้งในเชิงพาณิชย์และในทางทหาร

มีความต้องการของสหรัฐอเมริกาบนเครือข่าย 5G

เอลเลน เอ็ม.ลอร์ด อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ในด้านการจัดหา และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้กล่าว ณ Atlantic Council เมื่อ 26 มีนาคม ค.ศ. 2019 เพื่อหารือในความพยายามของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (DoD) อันเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยี 5G ของสหรัฐอเมริกา 

ซึ่งทำให้เกิดในความมั่นใจได้ว่าเมื่อ 5G ถูกนำมาใช้จะมีความปลอดภัยที่เพียงพอ สำหรับการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างบุคลากรทางทหารของสหรัฐฯ และบุคลากรทางทหารของชาติพันธมิตร โดยจะไม่ถูกขัดขวางจากฝ่ายตรงข้าม

นั่นหมายความว่าสหรัฐฯ และชาติพันธมิตร ต้องเป็นผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในยุคที่ 5 (5G) เมื่อพูดถึงเครือข่าย 5G ที่จะนำไปสู่การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอื่นๆ อาทิ อินเทอร์เน็ตของสิ่งต่าง (IoT) สิ่งที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ต้องทำคือตรวจสอบให้แน่ใจข้อมูลสามารถส่งผ่านในสนามรบได้ดีเท่าไหน 

และที่สำคัญเมื่อ นำ 5G มาใช้จะทำให้เกิดความปลอดภัยได้อย่างไร ถ้าให้เปรียบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยี 5G จะเหมือนกับการสร้างบ้านใหม่ เจ้าของบ้านใหม่อยากจะรู้ว่าใครก็ตามที่สร้างบ้านใหม่ให้ ได้ติดตั้งระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสาร หรือแม้กระทั่งติดตั้งประตูและหน้าต่างให้ คงจะไม่มีเจตนาที่สร้างขึ้นมา เพื่อให้พวกเขาได้แอบกลับเข้าไปในบ้านหลังนั้น เมื่อเจ้าของบ้านใหม่ได้ย้ายเข้ามาอยู่ 

และนั่นคือ ความปลอดภัยเป็นสิ่งที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ต้องการบนเครือข่าย 5G รวมถึงการสื่อสารซึ่งจะมีบทบาทสำคัญสำหรับสนามรบในอนาคต ข้อมูลจะต้องเชื่อมต่อระหว่างทหารในที่ตั้งและทหาร นอกที่ตั้ง จากเรือรบในทะเลและใต้ทะเล อีกทั้งระหว่างเครื่องบินได้เร็วกว่าฝ่ายตรงข้าม 

ถ้าสหรัฐฯ และชาติพันธมิตร ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในยุค 5G ได้ ก็จะมีช่องว่างหรือความล่าช้าในการสื่อสาร ที่อาจทำให้ทุกอย่างที่สหรัฐฯ และชาติพันธมิตรทำมานั้น คงไม่มีประสิทธิภาพ สหรัฐฯ เองก็คงไม่อยากให้สิ่งเหล่านั้นได้เกิดขึ้น

จึงเป็นเหตุที่ต้องต่อสู้เพื่อให้ได้เครือข่าย 5G มาครอบครอง มุมมองทางเทคโนโลยีนั้น 5G เป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ แต่ในอีกมุมก็เป็นภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ได้เช่นกัน

ข้อคิดที่ฝากไว้ 

ในปีนั้นจีนเปิดตัวสมาร์ทโฟน Huawei รุ่นใหม่ ซึ่งได้รับการออกแบบให้ทำงานบนเครือข่าย 5G แต่ในเวลาเดียวกันนั้น สหรัฐอเมริกา ได้เดินหน้าคัดค้านบริษัท Huawei ของจีนในการจำหน่ายอุปกรณ์บนเครือข่าย 5G ให้แก่ผู้ใช้งานทั่วโลก 

นำมาซึ่งการสั่งแบนไม่ให้นำอุปกรณ์ของหัวเว่ยเข้ามาใช้ในประเทศ รวมทั้งเรียกร้องให้พันธมิตรทั่วโลกร่วมกันแบนด้วย สิ่งสำคัญก็คือ สหรัฐอเมริกานั้นใช้เวลามากเกินไปกับการแก้ไขการขาดความสามารถในการแข่งขันทางเทคโนโลยี ซึ่งเป็นปัญหาของตัวเอง อันถือเป็นบทเรียนที่ทรงคุณค่ามอบให้แก่…ผู้บริหารที่รับผิดชอบ

อ่านบทความทั้งหมดของ ..สรรสิริ สิริสันตคุปต์

Featured Image: Created by leonardo.ai